รูปแบบของประโยค มีการจำแนกได้หลากหลายรูปแบบ ในบทความนี้ – ประโยคความเดียว ประโยคความรวม ประโยคความซ้อน คือการจำแนกรูปแบบประโยคตามโครงสร้าง
ประโยคความเดียว ประโยคความรวม ประโยคความซ้อน
รูปแบบของประโยคตามโครงสร้าง
ประโยคความเดียว
ตัวอย่างประโยค : พ่อหิวข้าว – พ่อ ( ประธาน ) + หิว ( กริยา )
ประโยคความรวม
ประโยคความรวมมี 4 ประเภท ตามประเภทของคำเชื่อม
- ประโยคความรวมที่มีความคล้อยตามกัน
คำเชื่อม : และ แล้ว ครั้น…จึง แล้ว…ก็
ตัวอย่างประโยค : ฉันชอบทานส้ม และแอปเปิ้ล
- ประโยคความรวมที่มีความขัดแย้งกัน
คำเชื่อม : แต่ แต่ว่า แต่ทว่า ถึง…ก็ กว่า…ก็
ตัวอย่างประโยค : ฉันอยากทานชาบู แต่พี่อยากทานเนื้อย่าง
- ประโยคความรวมที่มีความให้เลือก
คำเชื่อม : หรือ มิฉะนั้น ไม่เช่นนั้น หรือไม่ก็ หรือ…ไม่
ตัวอย่างประโยค : เธอจะทานเสต็กหรือชาบู
- ประโยคความรวมที่มีความเป็นเหตุเป็นผล
คำเชื่อม : จึงเพราะ เพราะเหตุว่า ดังนั้น…จึง เพราะ…จึง
ตัวอย่างประโยค : เพราะฝนตกจึงรถติด
ประโยคความซ้อน
ประโยคย่อยมี 3 ประเภท แบ่งตามหน้าที่
- ประโยคย่อยทำหน้าที่แทนนาม
คำเชื่อม : ให้ ว่า
ตัวอย่างประโยค : แม่บอกว่า จะพาไปเที่ยว ( บทกรรม )
- ประโยคย่อยทําหน้าที่ขยายประธาน กรรม และ ส่วนเติมเต็มของประโยคหลัก
คำเชื่อม : ผู้ ที่ ซึ่ง อัน
ตัวอย่างประโยค : แมวที่อยู่บนโต๊ะกำลังนอน ( ขยายประธาน )
- ประโยคย่อยทําหน้าที่ขยายคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ในประโยคหลัก
คำเชื่อม : เมื่อ จน
ตัวอย่างประโยค : คุณครูสอนจนฉันเข้าใจบทเรียน ( ขยายคำกริยา )
ขอบคุณข้อมูลจาก : ประโยค ความเดียว ความรวม ความซ้อน