จากกรณีดราม่าเรื่อง น้ำใส BNK48 ใส่เสื้อที่มีสัญลักษณ์นาซี หรือ สัญลักษณ์สวัสติกะ ของพรรคนาซีเยอรมนี ในการซ้อมคอนเสิร์ตใหญ่เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการวิพากย์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม ซึ่งน้ำใสก็ได้ขอโทษโดยบอกเหตุผลว่าเป็นเพราะความไม่รู้ของตนเอง วันนี้ Campus-star ขอนำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ สัญลักษณ์ต้องห้าม สวัสติกะ (swastika) มาให้ทุกคนได้อ่านกันนะคะ ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะบางเรื่องก็เซนซิทีฟสำหรับกลุ่มคนบางกลุ่มนะคะ
เกร็ดความรู้ สวัสติกะ สัญลักษณ์ต้องห้าม
สัญลักษณ์สวัสติกะของฝ่ายนาซี จะมีลักษณะทิศทางทางด้านขวา (卐) หากสังเกตดูจะพบว่าเป็นรูปอักษรโรมันตัว S 2 ตัวซ้อนกัน ซึ่งย่อมาจากคำในภาษาเยอรมัน โดย S ตัวหนึ่งมาจากคำว่า “Stadt” แปลว่า บ้านเมือง และอีกตัวหนึ่งมาจากคำว่า “Sicherheit” แปลว่า ปลอดภัย
สาเหตุที่เป็นสัญลักษณ์ต้องห้าม
เพราะว่าเคยเกิดเหตุการณ์นาซีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยชาวยิวมากกว่า 5 ล้านคน ต้องถูกสังหารจากความโหดร้ายของพรรคนาซี ด้วยวิธีการโหดเหี้ยม อาทิ จับขังในห้องรมแก๊ส ถูกทรมานและการถูกนำไปใช้ในการทดลองทางการแพทย์ การบังคับใช้แรงงาน ไม่เว้นแม้แต่เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้หญิง ในครั้งนั้นได้สร้างบาดแผลในจิตใจอย่างรุนแรงต่อผู้รอดชีวิต และญาติๆ ของผู้เสียชีวิตเป็นอย่างมาก
และในทุกวันที่ 27 ม.ค. ของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สากล (International Holocaust Remembrance Day) ตามการรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
สวัสติกะในธงประจำพรรคนาซี
ต่อมาใช้เป็นธงชาตินาซีเยอรมนี
สวัสติกะรูปแบบต่าง ๆ
สวัสติกะ (Swastika) เป็นเครื่องหมายกากบาทที่ตรงส่วนปลายทำมุมฉาก โดยมีทั้งลักษณะที่ทิศทางด้านซ้าย (卍) หรือด้านขวา (卐) สำหรับในประเทศตะวันตกจะรู้จักกันมากในสัญลักษณ์ของฝ่ายนาซี โดยสวัสติกะของนาซีจะเอียงทำมุม 45 องศากับแนวระนาบ อันที่จริงแล้วเครื่องหมายสวัสติกะ ยังมีการใช้เป็นสัญลักษณ์ในศาสนาฮินดู และ พุทธศาสนาด้วย ลองไปชมภาพตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. สวัสติกะแสดงถึงวัดในพุทธศาสนา
สวัสติกะแสดงถึงวัดในพุทธศาสนา ขณะที่กางเขนแสดงถึงโบสถ์คริสต์ (ภาพจากแผนที่รถไฟใต้ดินในกรุงไทเป ไต้หวัน)
เครื่องหมายสวัสติกะ บนพระพุทธรูป
2. สวัสติกะของศาสนาฮินดู
สวัสติกะของฮินดูจะมีจุดประดับที่มุมต่าง ๆ ของสัญลักษณ์
3. สวัสติกะของศาสนาเชน
4. สวัสติกะในสัญลักษณ์ของฝ่าหลุนกง
5. สวัสติกะประดับสร้อยคอ
ภาพนี้เป็นสร้อยคอศิลปะอิหร่านโบราณสมัย 1,000 ปีก่อนคริสตกาล
6. สวัสติกะในภาพโมเสก
สวัสติกะในภาพนี้เป็นศิลปะโรมันแบบโมเสก
7. ตราอาร์มบอรีย์โก (Boreyko coat of arms)
ใช้ในตราประจำตระกูลต่างๆ ของโปแลนด์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 – 18
8. เครื่องหมายอากาศยาน
เป็นของกองทัพอากาศฟินแลนด์ พ.ศ. 2461 – 2488
9. ตราสวัสติกะของสหภาพสตรีลอตตาสวาลด์
ตราสวัสติกะของสหภาพสตรีลอตตาสวาลด์ (Lotta Svärd) ของประเทศฟินแลนด์
ข้อมูลจาก: wikipedia