ช่วงนี้ บีทีเอส มีการสร้างเพิ่มขึ้นหลายเส้นทาง โดยแบ่งชื่อเรียกออกเป็นสีๆ อาทิ รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีม่วง, สายสีชมพู, สายสีเขียว ล่าสุด! ก็มีสีทองเพิ่มขึ้นมาด้วย บทความนี้จะสรุปข้อมูลกันว่า ตอนนี้ในประเทศไทยมี รถไฟฟ้า มีกี่สี มีกี่สาย แล้วแต่ละสีเดินทางไปที่ไหนกันบ้าง
รถไฟฟ้า มีกี่สี มีกี่สาย
ในที่นี้แบ่งออกเป็น บีทีเอสสายที่ให้บริการในปัจจุบัน และ สายที่ผ่านการอนุมัติ (ซึ่งหมายความว่ากำลังพัฒนาและจะเปิดใช้ในอนาคต)
BTS ที่ให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่
1. สายสีเขียว หมอชิต-สำโรง หรือ สายสุขุมวิท
- เปิดให้บริการ ธันวาคม 2542
- เจ้าของโครงการ กรุงเทพมหานคร และได้มอบสัมปทานให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นผู้ดูแลทั้งหมด
- ระยะทางรวมประมาณ 23.7 กิโลเมตร สถานีเป็นแบบยกระดับทั้งหมด
จำนวนสถานี (ปัจจุบัน 23 สถานี) ได้แก่ 1.หมอชิต, 2.สะพานควาย, 3.อารีย์, 4.สนามเป้า, 5.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, 6.พญาไท, 7.ราชเทวี, 8.สยาม, 9.ชิดลม 10.เพลินจิต, 11.นานา, 12.อโศก, 13.พร้อมพงษ์, 14.ทองหล่อ, 15.เอกมัย, 16.พระโขนง, 17.อ่อนนุช, 18.บางจาก, 19.ปุณณวิถี, 20.อุดมสุข, 21.บางนา, 22.แบริ่ง, 23.สำโรง
2. สายสีเขียวเข้ม สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า
- เปิดให้บริการ ธันวาคม 2542
- เจ้าของโครงการ กรุงเทพมหานคร และมอบสัมปทานให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นผู้ดูแลทั้งหมด
- ระยะทางรวมประมาณ 14.2 กิโลเมตร
จำนวนสถานี (ปัจจุบัน 13 สถานี) ได้แก่ 1. สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ซึ่งเป็นสถานีต้นทาง 2. สถานีสยาม 3. สถานีราชดำริ 4. สถานีศาลาแดง 5. สถานีช่องนนทรี 6. สถานีสุรศักดิ์ 7.สถานีสะพานตากสิน 8. สถานีกรุงธนบุรี 9. สถานีวงเวียนใหญ่ 10. สถานีโพธิ์นิมิตร 11. สถานีตลาดพลู 12. สถานีวุฒากาศ และ 13. สถานีบางหว้า
3. สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-หัวลำโพง/รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT
- เปิดให้บริการ ปี 2547 (โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย)
- เจ้าของโครงการ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของ และมอบสัมปทานการเดินรถให้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้ดูแล
- ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร
จำนวนสถานี (ปัจจุบัน 19 สถานี) แบ่งเป็น สถานีใต้ดิน 18 สถานี และยกระดับอีก 1 สถานี 1. หัวลำโพง 2.สามย่าน 3.สีลม 4.ลุมพินี 5.คลองเตย 6.ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 7.สุขุมวิท 8.เพชรบุรี 9.พระราม 9 10.ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 11.ห้วยขวาง 12.สุทธิสาร 13.รัชดาภิเษก 14.ลาดพร้าว 15.พหลโยธิน 16.สวนจตุจักร 17.กำแพงเพชร 18.บางซื่อ
4. สาย Airport Rail Link พญาไท-สุวรรณภูมิ
- เปิดให้บริการ ครั้งแรกในปี 2552
- ดำเนินการก่อสร้างและให้บริการเดินรถ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อเชื่อมต่อจากภายในเขตท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เข้าสู่เขตเมือง ซึ่ง
- ระยะทางรวมประมาณ 28 กิโลเมตร
จำนวนสถานี (ปัจจุบัน 8 สถานี) 1.พญาไท, 2.ราชปรารภ,3. มักกะสัน, 4.รามคำแหง,5. หัวหมาก, 6.บ้านทับช้าง, 7.ลาดกระบัง, 8. สุวรรณภูมิ
5. สายสีม่วง เตาปูน-คลองบางไผ่
- เปิดให้บริการ ในปี 2559
- เจ้าของโครงการ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของ และมอบสัมปทานการเดินรถให้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
- มีระยะทางรวม 23 กิโลเมตร
จำนวนสถานี (ปัจจุบัน 16 สถานี ) ได้แก่ 1. เตาปูน 2.บางซ่อน 3.วงศ์สว่าง 4.แยกติวานนท์ 5.กระทรวงสาธารณสุข 6.ศูนย์ราชการนนทบุรี 7.บางกระสอ 8.แยกนนทบุรี 1 9.สะพานพระนั่งเกล้า 10.ไทรม้า 11.บางรักน้อยท่าอิฐ 12.บางรักใหญ่ 13.บางพลู 14.สามแยกบางใหญ่ 15. ตลาดบางใหญ่ 16.คลองบางไผ่
**สายสีม่วงเป็นสายที่เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) โดยมีสถานีเตาปูนเป็นจุดเชื่อมต่อ
BTS สายที่กำลังก่อสร้าง และเปิดให้บริการในปี 2563-2565
1. สายสีเขียวเข้ม แบริ่ง-สมุทรปราการ
- เปิดให้บริการ ในปัจจุบันแล้วเพียง 1 สถานี คือ แบริ่ง-สำโรง (มีกำหนดเปิดให้บริการเต็มระบบในปี 2561) เป็นรูปแบบยกระดับทั้งหมด
- เจ้าของโครงการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ให้บริการเดินรถ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC
- ระยะทางรวม 13 กิโลเมตร
จำนวนสถานี (รวมทั้งหมด 9 สถานี ) ได้แก่ 1. สำโรง (เปิดให้บริการแล้ว) และที่เหลือกำลังจะเปิด 2. ปู่เจ้า, ช้างเอราวัณ, โรงเรียนนายเรือ, ปากน้ำ, ศรีนครินทร์, แพรกษา, สายลวด, เคหะฯ
2. สายสีเขียวเข้ม หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
- เปิดให้บริการ กำหนดไว้ในปี 2563
- เจ้าของโครงการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ให้บริการเดินรถ : บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC
ระยะทางรวม 19 กิโลเมตร เป็นรูปแบบยกระดับทั้งหมด
จำนวนสถานี (รวมทั้งหมด 16 สถานี ) 1. สถานีห้าแยกลาดพร้าว 2. สถานีพหลโยธิน 24 3. สถานีรัชโยธิน 4. สถานีเสนานิคม 5. สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6. สถานีกรมป่าไม้ 7. สถานีบางบัว 8. สถานีกรมทหารราบที่ 11 9. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ 10. สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ 11. สถานีสายหยุด 12. สถานีสะพานใหม่ 13. สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 14. สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ 15. สถานี กม.25 16. สถานีคูคต
3. สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ
เส้นหัวลำโพง-บางแค
- กำหนดเปิดให้บริการ ในปี 2562
- เจ้าของโครงการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ให้บริการเดินรถ : บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
- ระยะทางรวม 14 กิโลเมตร
สถานีรวม 11 สถานี แบ่งเป็น สถานีใต้ดิน 4 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี ได้แก่ 1.สถานีวัดมังกรกมลาวาส 2. วังบูรพา 3.สนามไชย 4.อิสรภาพ 5. ท่าพระ 6.บางไผ่ 7.บางหว้า 8.เพชรเกษม 48 9.ภาษีเจริญ 10. บางแค 11.หลักสอง
เส้นบางซื่อ-ท่าพระ
- กำหนดเปิดให้บริการ ช่วงบางซื่อ-เตาปูน 1 สถานี เปิดแล้วเมื่อ 11 สิงหาคม 2560 และมีกำหนดเปิดบริการเต็มระบบในปี 2563
- เจ้าของโครงการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ให้บริการเดินรถ : บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
- ระยะทางรวม 13 กิโลเมตร
สถานีรวมทั้งหมด 10 สถานี เป็นรูปแบบยกระดับทั้งหม ได้แก่ 1. สถานีเตาปูน 2.บางโพ 3.บางอ้อ 4.บางพลัด 5.สิรินธร 6.บางยี่ขัน 7.บางขุนนนท์ 8.แยก ไฟฉาย 9.จรัญสนิทวงศ์ 13 10.ท่าพระ
บางแค-พุทธมณฑลสาย 4 (อาจจะเปลี่ยนแปลงแนวเส้นทางในอนาคต)
มี สถานีรถไฟฟ้า 4 สถานี ได้แก่ 1.สถานีพุทธมณฑลสาย 2, 2.ทวีวัฒนา, 3.พุทธมณฑลสาย 3, 4.พุทธมณฑลสาย 4
4. สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
- กำหนดเปิด ให้บริการในปี 2563
- เจ้าของโครงการและผู้ให้บริการเดินรถ การรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟท.)
- ระยะทางรวม 15 กิโลเมตร เป็นระบบรถไฟชานเมือง
สถานีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่ 1.สถานีบางซื่อ 2.สถานีบางซ่อน 3.สถานีพระราม 6 4.สถานีบางกรวย – กฟผ. 5.สถานีบางบำหรุ 6 . สถานีชุมทางตลิ่งชัน
5. สายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต
- กำหนดเปิด ให้บริการในปี 2563
- เจ้าของโครงการและผู้ให้บริการเดินรถ การรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟท.)
- ระยะทางรวม 26.3 กิโลเมตร เป็นระบบรถไฟชานเมือง
รวมทั้งหมด 11 สถานี รวมบางซื่อด้วย ได้แก่ 1.บางซื่อ 2.จตุจักร 3. วัดเสมียนนารี 4.บางเขน 5. ทุ่งสองห้อง 6. หลักสี่ 7. หลักสี่ 8. การเคหะ 9.ดอนเมือง 10.หลักหก 11. รังสิต
6. สายสีส้มตะวันออก ตลิ่งชัน-มีนบุรี
- กำหนดเปิด ในปี 2566
- เจ้าของโครงการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ให้บริการเดินรถ : อยู่ระหว่างรอเปิดประมูล
- ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร
รายชื่อสถานี ได้แก่ 1. สถานีตลิ่งชัน 2.บางขุนนนท์ 3. ศิริราช 4.สนามหลวง 5.อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 6.หลานหลวง 7.นิยมราช 8.ราชเทวี 9.ประตูน้ำ10. ราชปรารภ 11.รางน้ำ 12.ดินแดง 13.ประชาสงเคราะห์ 14. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 15. รฟม. 16. ประดิษฐ์มนูธรรม 17. รามคำแหง12 18.รามคำแหง 19.ราชมังคลา 20. หัวหมาก 21.ลำสาลี 22.ศรีบูรพา 23.คลองบ้านม้า 24.สัมมากร 25.น้อมเกล้า 26.ราษฎร์พัฒนา 27.มีนพัฒน 28. เคหะรามคำแหง 29.มีนบุรี 30.สุวินทวงศ์
7. สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)
- กำหนดเปิด ในปี 2563
- ระยะทางรวม 34.5 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail)
จำนวนสถานีรวม 30 สถานี ได้แก่ 1.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี2.สถานีแคราย ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ 3.สถานีสนามบินน้ำ 4.สถานีสามัคคี 5.สถานีกรมชลประทาน 6.สถานีปากเกร็ด 7.สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด 8.สถานีแจ้งวัฒนะปากเกร็ด 28 9.สถานีเมืองทองธานี 10.สถานีศรีรัช 11.สถานีแจ้งวัฒนะ 14 12.สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 13.สถานีทีโอที 14.สถานีหลักสี่ 15.สถานีราชภัฎพระนคร 16.สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ 17.สถานีรามอินทรา 3 18.สถานีลาดปลาเค้า 19.สถานีรามอินทรา 31 20.สถานีมัยลาภ 21.สถานีวัชรพล 22.สถานีรามอินทรา 40 23.สถานีคู้บอน 24.สถานีรามอินทรา 83 25.สถานีวงแหวนตะวันออก 26.สถานีนพรัตนราชธานี 27.สถานีบางชัน 28.สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ 29.สถานีตลาดมีนบุรี 30.สถานีมีนบุรี
8. สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
- กำหนดการ จะเสร็จประมาณปี 2564
- ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นรูปแบบโมโนเรล
รายชื่อสถานี ได้แก่
ช่วง ลาดพร้าว – พัฒนาการ
1.รัชดา 2. ภาวนา ปากซอยภาวนา ลาดพร้าว 41 3.โชคชัย 4 ลาดพร้าว 53 4.ลาดพร้าว 65 5.ฉลองรัชหน้าห้างอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว 81 6.วังทองหลาง หน้าโรงเรียนบางกอกศึกษา ลาดพร้าว 112 7.ลาดพร้าว 101 8.บางกะปิ ใกล้เดอะมอลล์
9. แยกลำสาลี ด้านทิศใต้แยกลำสาลี 10.ศรีกรีฑา ด้านทิศใต้แยกศรีกรีฑา 11. พัฒนาการ ช่วงจุดตัดรถไฟและ ถ.พัฒนาการ
12. คลองกลันตัน หน้าธัญญาช็อปปิ้ง พาร์ค
ช่วง พัฒนาการ -สำโรง
13. ศรีนุช 14. ศรีนครินทร์ 38 15. สวนหลวง ร.9 กึ่งกลางห้างซีคอนสแควร์และพาราไดซ์ พาร์ค 16. ศรีอุดม
17. ศรีเอี่ยม เยื้องศุภาลัยปาร์ค 18. ศรีลาซาล 19. ศรีแบริ่ง 20.ศรีด่าน 21. ศรีเทพา 22. ทิพวัล ปากซอยหมู่บ้านทิพวัล
23. สำโรง ใกล้ตลาดเทพารักษ์
10. สายสีทอง
- กำหนดการ จะแล้วเสร็จ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563
- ระยะทาง : 2.7 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี
จำนวนสถานีทั้งหมด 4 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด ได้แก่ กรุงธนบุรี, เจริญนคร (ไอคอนสยาม), คลองสาน และ ประชาธิปก
11. สายสีน้ำตาล
- กำหนดการ คาดวาเสร็จปี 2568
- ระยะทางรวมประมาณ 21 กิโลเมตร จะเชื่อมต่อเมืองด้านฝั่งแคราย กับฝั่งเกษตร-นวมินทร์ที่มีอัตราการเติบโตสูงเข้าด้วยกัน และยังเป็นโครงข่ายสายรองเพื่อเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟฟ้าหลักอีก 4 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และโครงข่ายรองอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีเทา ของกรุงเทพมหานคร
มีทั้งหมด 20 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด ได้แก่ ศูนย์ราชการนนทบุรี, จุฬาเกษม, คลองลาดยาว, ชินเขต, บางเขน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประตู 2, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คลองบางบัว, ลาดปลาเค้า, เสนานิเวศน์, เสนานิเวศน์, ต่างระดับฉลองรัช, คลองลำเจียก, นวลจันทร์, แยกนวมินทร์, โพธิ์แก้ว, อินทรารักษ์, นวมินทร์ภิรมย์, สนามกีฬาคลองจั่น, แยกลำสาลี
12. สายสีเทา
- กำหนดการ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2563
- เจ้าของโครงการ สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร ผู้ดำเนินงาน รอเอกชนร่วมประมูล
- ระยะทาง 26 กิโลเมตร
จำนวนสถานี 39 สถานี ได้แก่
ช่วง วัชรพล-ทองหล่อ >>วัชรพล, นวลจันทร์, ต่างระดับฉลองรัช, คลองลำเจียก, คลองลำเจียก, ซอยสหกรณ์ 1, สังคมสงเคราะห์, ฉลองรัช, ศรีวรา, นวศรี, วัดพระราม 9, เพชรบุรี-ทองหล่อ, แจ่มจันทร์, ทองหล่อ 10, ทองหล่อ
พระโขนง-พระรามที่ 3 >> พระโขนง, บ้านกล้วยใต้, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, เกษมราษฎร์, พระรามที่ 4, คลองเตย, งามดูพลี, ลุมพินี, สวนพลู, ช่องนนทรี, นราธิวาสฯ, นางลิ้นจี่, รัชดา-นราธิวาส, ยานนาวา, พระรามที่ 3
พระรามที่ 3-ท่าพระ >> คลองภูมิ, คลองด่าน, สาธุประดิษฐ์, สะพานพระราม 9, เจริญราษฎร์, เจริญกรุง, มไหสวรรย์, ตลาดพลู, ท่าพระ
13. สายสีฟ้า
- กำหนดการขณะนี้ คาดวาด พ.ศ. 2572 (อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
- เจ้าของโครงการ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ผู้ดำเนินงาน รฟม.
- รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร
จำนวนสถานีทั้งหมด 9 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด ได้แก่ ประชาสงเคราะห์, มิตรไมตรี, ดินแดง, มักกะสัน, เพชรบุรี, เพลินจิต, ลุมพินี, สวนพลู, ช่องนนทรี
อ้างอิงข้อมูลจาก: bts
เส้นทางรถไฟฟ้า
UPDATE
แผนที่รถไฟฟ้า ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล อัปเดต 28 ม.ค. 65 – แนะนำแอพ Bkk Rail
บทความที่เกี่ยวข้อง
- เปิดลายแทง ห้องน้ำใกล้ BTS, MRT อยู่ตรงไหน เปิด-ปิดกี่โมง?
- วิธีเดินทางไป ไอคอนสยาม (ICONSIAM) ด้วย รถเมล์ – BTS – เรือ – รถส่วนตัว
- ทำอย่างไร เมื่อลืมบัตรประชาชน และกำลังจะขึ้นเครื่องบิน เดินทางในประเทศ
- รวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ในสนามบิน บนเครื่องบิน
- หนังสือเดินทาง (Passport) รวมสถานที่ทำพาสปอร์ต กรุงเทพฯ และทั่วประเทศไทย
- 66 คำศัพท์ การจราจร ภาษาอังกฤษ พร้อมความหมาย