จากกระแสละครเลือดข้นคนจาง มีหนึ่งประเด็นเกี่ยวกับความรักของครอบครัวเชื้อสายจีน ที่พ่อแม่มีต่อลูกๆ ทำให้หลายๆ คนมองว่า พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน โดยในละครเรื่องนี้จะเห็นได้ลูกชายคนโตจะเป็นที่รักมากที่สุด และลูกสาวดูเหมือนจะเป็นลำดับสุดท้ายที่พ่อแม่จะนึกถึง สำหรับเรื่องนี้นั้นไม่ใช่แค่เฉพาะครอบครัวคนจีน ทุกๆ ครอบครัวทั่วโลกก็ต้องมีหลายๆ คนรู้สึกว่า พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน และประเด็นเรื่องนี้จริงจังถึงขั้นมีผลงานวิจัย จะจริงหรือไม่นั้นลองไปอ่านกันค่ะทุกคน
พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน จริงมั้ย ?
ผลงานวิจัยของนักวิจัยอเมริกัน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
พบว่าร้อยละ 70 ของพ่อแม่มักจะมี “ลูกรัก” ที่รักมากกว่าลูกคนอื่นๆ ทั้งๆ ที่สืบสายเลือดเดียวกัน นักวิชาการเชื่อว่า หากพูดกันจริงๆ แล้ว พ่อแม่ทุกคนล้วนแต่มีความรักที่ 2 มาตรฐานที่ให้กับลูกแต่ละคน
ผลการวิจัยของนักวิชาการอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยบริสตอล
พ่อแม่ (โดย เฉพาะครอบครัวที่มีลูก 2 คน) มีท่าทีว่ารักลูกคนโตมากกว่าลูกคนเล็กสังเกตได้จากพฤติกรรมเมื่อลูกคนแรกเกิดมาจะได้รับความเอาใจใส่มากกว่าทั้งการเลี้ยงดูความเสน่หารางวัลของขวัญเรียกได้ว่ารับความสนใจและเอาใจใส่จากพ่อแม่อย่างเต็มที่และลูกคนโตมักจะมีไอคิวที่สูงกว่าอาจเพราะมาจากการได้อาหารการกินที่ดีกว่าลูกคนอื่นๆ
ในหนังสือเบสต์เซลเลอร์ว่า 95% ของพ่อแม่ทั้งโลกรักลูกไม่เท่ากัน
นอกจาก 95% ของคนที่เป็นพ่อแม่ทั้งโลกจะรักลูกเท่ากันแล้ว มักจะโอ๋ลูกคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษด้วย โดยพ่อแม่อีก 5% มักจะเป็นพวกที่โกหกตัวเองไม่ยอมรับความจริงว่ารักลูกไม่เท่ากัน จากผลการศึกษาข้อมูลแบบเจาะลึก ทำให้ค้นพบว่าลูกชายคนโตจะเป็นที่โปรดปรานของแม่โดยธรรมชาติ ขณะที่ลูกสาวคนเล็ก ซึ่งมีแนวโน้มขี้อ้อน มักได้รับการโอ๋จากพ่อ
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า พ่อแม่มีแนวโน้มจะรักจะหลงลูกคนที่มีบุคลิกลักษณะใกล้เคียงกับตัวเองมากที่สุด เนื่องจากทำให้ย้อนนึกถึงตัวเองในช่วงวัยเด็ก
ผลการสำรวจและวิจัยของ ศาสตราจารย์ แคทเธอรี ตู สาขาการพัฒนามนุษย์และครอบครัวการศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
พบว่าพ่อแม่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มว่าจะให้ความรักกับลูกคนโตมากกว่าลูกคนต่อๆ ไป และยังได้มีการสำรวจความคิดเห็นของลูกด้วย พบว่า เด็ก ๆ จะรู้สึกว่าได้รับความรักจากพ่อแม่ไม่เท่ากัน และรู้สึกว่า ด้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากพ่อแม่
จากผลงานวิจัยดังกล่าวทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมาให้อ่าน จะเห็นได้ว่าที่ส่วนใหญ่แล้วครอบครัวที่มีลูกมากกว่าสองคนขึ้นไป สนใจและใส่ใจลูกคนแรกเป็นพิเศษนั้นก็อาจจะเป็นเพราะว่า ลูกคนแรกเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นมา จากที่ไม่เคยมีมาก่อน พ่อแม่จึงรู้สึกตื่นเต้น ดีใจ และสนใจใส่ใจเป็นพิเศษ แต่พอมีลูกคนต่อๆ ไปกำเนิดมา ถือเป็นประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว อาจจะไม่ได้สร้างความตื่นเต้นเท่าลูกคนแรก และอาจจะเป็นเพราะในด้านความรู้สึกเสน่หาถ้ามองในมุมมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ก็มีความรู้สึกรักความชอบความพอใจความโกรธเหมือนคนทั่วๆไปและพฤติกรรมของลูกแต่ละคนก็อาจจะส่งผลต่อความรู้สึกพ่อแม่ได้เช่นกัน
เพื่อนๆ ชาว Campus-star มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้กันบ้างมั้ยเข้ามาแชร์กันได้นะคะ
อ้างอิงข้อมูลจาก :
independent.co.uk, th.theasianparent, thairath, bangkokbiznews