World Oceans Day ความรู้ ทะเล วันทะเลโลก วันสำคัญ เดือนมิถุนายน

‎8 มิถุนายน วันทะเลโลก‬ (World Oceans Day) 50 เรื่องเกี่ยวกับท้องทะเลที่ควรรู้

Home / สาระความรู้ / ‎8 มิถุนายน วันทะเลโลก‬ (World Oceans Day) 50 เรื่องเกี่ยวกับท้องทะเลที่ควรรู้

8 มิถุนายน วันทะเลโลก‬ (World Ocean Day) วัตถุประสงค์ของการที่มีวันนี้ก็เพื่อ เผยแพร่ความรู้ และกระตุ้นให้ประชากรทั่วโลกมีจิตสำนึก เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเลนั่นเองจ้า ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2535 โดยความร่วมมือของ กลุ่มประชาคมโลก (The Earth Summit) ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล วันนี้เราเลยมีความรู้เกี่ยวกับท้องทะเลมาฝากทุกคนค่ะ

8 มิถุนายน วันทะเลโลก‬

50 เรื่องเกี่ยวกับท้องทะเลที่ควรรู้ไว้!

1.  มหาสมุทรปกคลุมพื้นที่ถึง 70% ของผิวโลก

2.  มากกว่า 90% ของสิ่งมีชีวิตบนโลก (เทียบด้วยมวลชีวภาพ) อยู่ในทะเล

3.  80% ของมลภาวะทางทะเลมาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนผืนดิน

4.  40% ของประชากรโลก อาศัยอยู่ในระยะ ๖๐ กิโลเมตร จากฝั่งทะเล

5.  3 ใน 4 ของเมืองใหญ่ๆ ในโลก อยู่ติดทะเล

6.  ภายใน พ.ศ.2553   80% ของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในระยะ 100 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล

7. การตายและโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากน้ำทะเลเป็นพิษ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายถึง 12.8พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และเป็นโรคตับอักเสบที่เกิดจากอาหารทะเลปนเปื้อนสารพิษปีละ 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

8. ของเสียที่เป็นพลาสติกได้คร่าชีวิตนกทะเลกว่า 1 ล้านตัว สัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 1 แสนตัวและปลาทะเลอีกนับไม่ถ้วน

9. สิ่งมีชีวิตในทะเลตายไปไม่ใช่เป็นเพราะตัวพลาสติกเอง แต่เป็นเพราะการย่อยสลายของพลาสติก พลาสติกที่ย่อยสลายไปแล้วนั้นจะยังอยู่ในระบบนิเวศและยังคงส่งผลร้ายต่อไป

10. ปรากฏการณ์การเจริญเติบโตของสาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชอย่างรวดเร็ว (Agal Blooming)¹ เกิดจากสารอาหารในน้ำที่มีมากเกินไปโดยเฉพาะไนโตรเจนที่มาจากปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตร ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลขาดออกซิเจนเกือบ 150 แห่งทั่วโลก โดยพื้นที่ของปรากฏการณ์การน้ำขาดออกซิเจนมีตั้งแต่ 1 – 70,000 ตารางกิโลเมตร

วันทะเลโลก

8 มิถุนายน วันทะเลโลก‬ เครดิตภาพ: amolife.com

11. ในแต่ละปี น้ำมันประมาณ 21 ล้านบาเรล ไหลลงสู่มหาสมุทร ซึ่งมาจากการชะล้างถนน โรงงาน และเรือเดินสมุทร

12. ในทศวรรษที่ผ่านมา (ปี พ.ศ.2543 – 2553) น้ำมันประมาณ 6 แสนบาเรล รั่วลงทะเลจากอุบัติเหตุเรือและในปริมาณที่เท่ากันอีก 12 ครั้ง เกิดจากการจมของถังน้ำมันเรือ Prestige ในปี พ.ศ. 2545 เพียงปีเดียว

13. น้ำมันที่ขนส่งบนเรือ กว่า 60% เป็นน้ำมันที่ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค

14. มากกว่า 90% ของสินค้าบนโลก ขนส่งโดยทางเรือ

15. แต่ละปี น้ำที่ปล่อยออกมาจากการเดินเรือเพื่อใช้รักษาสมดุล การทรงตัวของเรือ (Ballast Water) ได้ทิ้งออกไปและหมุนเวียนไปทั่วโลกกว่า 1 พันล้านตัน

16. น้ำที่ใช้ในการเดินเรือ (Ballast Water) ทำให้เกิดปัญหาการแพร่กระจายของสัตว์พลัดถิ่น (Exotic Species) เช่น แมงกะพรุน และหอยม้าลาย

17. มลภาวะและสัตว์นำเข้าหรือสัตว์หลงพลัดถิ่น (Exotic Species) กำลังเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นทุกวันในป่า ชายเลน หญ้าทะเลและปะการัง

18. ปะการังเขตร้อนรอบชายฝั่งของ 109ประเทศ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปะการังที่อายุน้อย) เกิดจากการ เสื่อมโทรมกว่า ๙๓ ประเทศ

19. ถึงแม้ว่าปะการังจะกินพื้นที่ไม่ถึง 0.5 % ของพื้นที่มหาสมุทร แต่สิ่งมีชีวิตมากกว่า 90 % ดำรงชีวิต โดยอาศัยปะการังไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

20. ปลาที่อาศัยปะการังกว่า 4,000 ชนิด มีจำนวนถึง 1 ใน 4 ของจำนวนชนิดของปลาทะเลทั้งหมด

8 มิถุนายน วันทะเลโลก‬ (World Oceans Day)

เครดิตภาพ: www.mnn.com

21. เกรท แบรี่เออ รีฟ (Great Barrier Reef) เป็นแนวปะการังที่ยาวกว่า 2,๐๐๐ กิโลเมตร และมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งสามารถมองเห็นได้จากดวงจันทร์Great Barrier Reef เป็นพืดหินปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย หรือตอนใต้ของทะเลคอรัล

เริ่มตั้งแต่แหลมยอร์ก (Cape York) ซึ่งอยู่ไกลขึ้นไปทางเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ลงมาถึงบันดะเบอร์ก (Bundaberk) ทางตอนใต้ ครอบคลุมดูแลพื้นที่ 215,000 ตารางไมล์ หรือ 345,000 ตารางกิโลเมตร ของน่านน้ำรอบ ๆ แนวปะการัง และแนวปะการังใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ แนวปะการังเหนือ (Northern Reef) หมู่เกาะวิตซันเดย์ (Whitsunday Island) และแนวปะการังใต้ (Southern Reef)

22.  ปะการังช่วยปกป้องมนุษย์จากคลื่นและพายุและเป็นตัวปรับสมดุลระหว่างสังคมชีวิตในทะเลและรอบชายฝั่ง

23.  เกือบ 60% ของปะการังในโลก จะสูญพันธุ์ไปในอีก 30 ปีข้างหน้า

24.  สาเหตุของการลดลงของปะการังมาจากการพัฒนาชายหาด, การทับถมของตะกอน, การจับปลาอย่างไม่ถูกวิธี, มลภาวะ, การท่องเที่ยวและสภาวะโลกร้อน

25. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ทำให้ปะการังทั่วโลกตายลงเป็นจำนวนมากและเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะกับเกาะเล็กๆ ที่กำลังพัฒนา

26. ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 10 ถึง 15 ซม. ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา และถ้าน้ำแข็งทั่วโลกละลายลง ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นถึง 66 เมตร

27. ใน 1 ปี  60%  ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกและ 35% ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลมหาสมุทรแอตแลนติกลดลง

28. ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวมี 75% ในปี พ.ศ.2541 และ 16% ของปะการังเหล่านี้ตาย

29.  ข้อมูลต่างๆ ของทะเลทั่วโลกต้องพร้อมภายในปี พ.ศ.2547 และการทำงานอย่างเป็นระบบของเครือข่ายระดับโลกของเขตอนุรักษ์น่านน้ำสากลภายในปี พ.ศ.2554

30. พื้นที่ของมหาสมุทรทั่วโลกน้อยกว่า 0.5% ได้รับการคุ้มครอง ในขณะที่แผ่นดิน 11.5% ทั่วโลกได้รับการคุ้มครอง

31. เขตน่านน้ำสากลมากกว่า 50% บนโลก เป็นส่วนที่ได้รับการปกป้องดูแลน้อยที่สุด

32. ถึงแม้จะมีการปกป้องสัตว์ทะเล เช่น สัตว์ที่สามารถเดินทางย้ายถิ่นฐานได้ทั่วโลก (Ocean-Going) เช่น วาฬ แต่ในเขตน่านน้ำสากลกลับไม่มีการปกป้องคุ้มครองใด

33.  การศึกษาวิจัยเพื่อการอนุรักษ์ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล เช่น ปะการัง, หญ้าทะเลและป่าชายเลน จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับชาวประมงพื้นบ้านเพื่อการค้าส่งออก

34. จำนวนครึ่งหนึ่งของปลาที่จับทั่วโลกมาจากชาวประมงพื้นบ้าน 90% ที่จับปลาเพื่อการดำรงชีวิต

35. กว่า 95% ของปลาที่จับเป็นอาหาร หรือ 90 ล้านตัน มาจากบริเวณรอบชายฝั่งทะเล

36. ประชากรมากกว่า 3,500 ล้านคน รับประทานอาหารจากทะเล และจะเพิ่มขึ้นกว่า 7,000 ล้านคน ในอีก 20 ปีข้างหน้า

37. กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านกำลังถูกคุกคามจากการทำประมงสมัยใหม่ที่ผิดกฎหมายและขาดการควบคุม

วันทะเลโลก

38. มากกว่า 70% ของการทำประมงในโลก จับปลาเกินจำนวน ซึ่งในอนาคตอาจมีไม่เพียงพอกับความต้องการของจำนวนประชากรโลก

39. จำนวนปลาใหญ่ที่ล่าเพื่อการค้าทั้งหลาย เช่น ทูน่า, คอด, ปลาดาบ, มาร์ลิน จะลดลงมากกว่า 90% ในทศวรรษหน้า

40. การประชุมระดับโลกได้มีข้อตกลงให้ภายในปี พ.ศ.2558 ต้องทำให้จำนวนปลามีมากเพียงพอที่จะรองรับกับจำนวนประชากรมนุษย์เป็นภารกิจเร่งด่วน

41. ภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จอีกอย่างหนึ่งคือ หยุดการประมงที่ขาดการควบคุม, ผิดกฎหมายและใช้เครื่องมือไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม

42. รัฐบาลมักทุ่มงบประมาณรวมกันทั่วโลกกว่า 15-20 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในการประมง ทำให้ทรัพยากรทางทะเลร่อยหรอลงเรื่อยๆ

43. การจับปลาอย่างไม่ถูกวิธี ได้ทำลายสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในทะเลมากมาย รวมทั้งทำลายที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล

44. ในแต่ละปี การจับปลาอย่างผิดกฎหมายรวมถึงเครื่องมือประมงที่เป็นอันตราย ซึ่งทำให้นกตายกว่า 400,000 ตัว ครอบคลุมพื้นที่กว่า 80 ไมล์

45. ปลาฉลามกว่า 100 ล้านตัว ถูกล่าเพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร โดยเฉพาะการนำมาทำหูฉลาม ซึ่งนักล่าฉลามเพียงแค่ตัดครีบอย่างเดียวและโยนตัวลงทะเล ซึ่งปลาจะเสียเลือดจนตายไปในที่สุด

8 มิถุนายน วันทะเลโลก‬ (World Oceans Day)

46. สถิติการจับปลาทั่วโลก โดยการใช้เครื่องมือแบบไม่เลือกทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ มีจำนวนกว่า 20 ล้านตันต่อปี

47. ในแต่ละปีมีวาฬ และโลมา ตายมากกว่าอย่างละ 3 แสนตัว

48. การจับกุ้งทะเลคิดเป็น 2% ของอาหารทะเลทั่งโลกแต่เป็น 1 ใน 3 ของการจับทั้งหมด

49.การทำนากุ้งเป็นสาเหตุให้น้ำมีมลภาวะเป็นพิษ และเป็นผลร้ายต่อป่าชายเลนทั่วโลกถึง 1 ใน 4

50. ป่าชายเลนเป็นแหล่งพึ่งพิงของปลาเศรษฐกิจในเขตร้อนกว่า 85%

ที่มาข้อมูลจาก: www.rakkhaoyai.com/wild-friends/2529

บทความแนะนำ