Sherlock Holmes นิยาย เชอร์ล็อก โฮมส์ เชอร์ล็อก โฮล์มส์

รายชื่อนิยายสืบสวน เชอร์ล็อก โฮล์มส์ (Sherlock Holmes) ตอนต่างๆ

Home / หน้งสือน่าอ่าน / รายชื่อนิยายสืบสวน เชอร์ล็อก โฮล์มส์ (Sherlock Holmes) ตอนต่างๆ

นิยายสืบสวนสุดโด่งดังของโลก Sherlock Holmes ที่ยกมานี้ เป็นหนังสือชื่อภาษาไทย ของผลงานในที่นี้ เป็นสำนวนแปลของ อ. สายสุวรรณ แปลจาก หนังสือ เชอร์ล็อก โฮมส์ โดย เซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์

รวมรายชื่อนิยาย เชอร์ล็อก โฮมส์

นิยายสืบสวน ชุดเรื่องยาว 4 เรื่อง

แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) ลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ช่วงปี ค.ศ. 1887
จัตวาลักษณ์ (The Sign of the Four) ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1890
หมาผลาญตระกูล (The Hound of the Baskervilles) ลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารสแตรนด์ ช่วงปี ค.ศ. 1901–1902
หุบเขาแห่งภัย (The Valley of Fear) ลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ช่วงปี ค.ศ. 1914–1915

รายละเอียดนิยายสืบสวน ชุดเรื่องยาว 4 เรื่อง

แรงพยาบาท (A Study in Scarlet)

หรือฉบับแปลใหม่ใช้ชื่อว่า แค้นพยาบาท เป็นผลงานเขียนแนวสืบสวนสวบสวนของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ เล่มแรกที่มีตัวเอกคือ เชอร์ล็อก โฮมส์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1887 เซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์เขียนเรื่องนี้เมื่ออายุได้ 27 ปี โดยเป็นหมอฝึกหัดอยู่ที่เซาท์ซี (Southsea) ประเทศอังกฤษ ในช่วงเวลานั้นเขาได้เขียนเรื่องสั้นก่อนแล้วหลายเรื่องในนิตยสารต่าง ๆ เช่น ลอนดอนโซไซตี นวนิยายเล่มต่อไปที่ตามมาก็คือ จัตวาลักษณ์

จัตวาลักษณ์ (The Sign of the Four)

หรือฉบับแปลใหม่ใช้ชื่อว่า รหัสลักษณ์แห่งสี่ เป็นนวนิยายเรื่องยาวเรื่องที่ 2 ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์‎ เกี่ยวกับการสืบสวนคดีของนักสืบชื่อดัง เชอร์ล็อก โฮมส์ กับหมอวอตสัน สหายของเขา ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1890 ลงในนิตยสาร Lippincott’s Monthly Magazine

หมาผลาญตระกูล (The Hound of the Baskervilles)

เป็นนวนิยายอาชญากรรมเรื่องที่สามจากสี่เรื่อง เขียนโดยเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ที่กล่าวถึงนักสืบเชอร์ล็อก โฮมส์ เดิมเขียนเป็นตอนใน เดอะสแตรนด์แมกาซีน (The Strand Magazine) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1901 ถึงเดือนเมษายน 1902 มีฉากท้องเรื่องในดาร์ตมอร์ เดวอน ในเวสต์คันทรีของประเทศอังกฤษ และบอกเล่าเรื่องของความพยายามฆ่าที่บันดาลใจจากตำนานหมาล่าเนื้อปีศาจอันมีกำเนิดเหนือธรรมชาติน่าสะพรึงกลัว เชอร์ล็อก โฮมส์ และสหายของเขา หมอวอตสัน สอบสวนคดีดังกล่าว นวนิยายเรื่องนี้เป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของโฮมส์หลังที่ตั้งใจให้เขาตายใน ปัจฉิมปัญหา (The Final Problem) และความสำเร็จของ หมาผลาญตระกูล นำให้รื้อฟื้นตัวละครนี้ขึ้นใหม่

ใน ค.ศ. 2003 หนังสือนี้อยู่ในผลการสำรวจความคิดเห็นบิกรี้ด (Big Read) “นวนิยายอันเป็นที่รักที่สุด” ของสหราชอาณาจักรของบีบีซี ลำดับที่ 128 จากทั้งหมด 200 เล่ม ใน ค.ศ. 1999 เรื่องนี้ขึ้นเป็นนวนิยายโฮมส์ที่ดีที่สุด โดยได้คะแนนเต็ม 100 คะแนนจากนักวิชาการเชอร์ล็อก (Sherlockian scholar)

หุบเขาแห่งภัย

หุบเขาแห่งภัย (The Valley of Fear) หรือ หุบเขาแห่งความกลัว คือนวนิยายเรื่องที่ 4 ซึ่งเป็นนวนิยายเรื่องยาวของเชอร์ล็อก โฮมส์ ที่เขียนโดยเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารสแตรนด์ ระหว่างเดือนกันยายน ค.ศ. 1914 ถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1915 รวมเล่มเป็นหนังสือครั้งแรกในนครนิวยอร์ก วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915

เชอร์ล็อก โฮมส์

เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุดเรื่องสั้น

แต่เดิมลงพิมพ์เป็นตอน ต่อมามีการรวมเล่มเป็นห้าชุด ได้แก่

ชุด “ผจญภัย” (The Adventures of Sherlock Holmes)
ชุด “จดหมายเหตุ” (The Memoirs of Sherlock Holmes)
ชุด “คืนชีพ” (The Return of Sherlock Holmes)
ชุด “ลาโรง” (His Last Bow)
ชุด “บันทึกคดี” (The Case-Book of Sherlock Holmes)

รายละเอียด ชื่อตอนต่างๆ ในหนังสือ เชอร์ล็อก โฮมส์

ชุด “ผจญภัย”

(The Adventures of Sherlock Holmes) เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นชุดแรกของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนคดีต่าง ๆ โดยโลดโผนของเชอร์ล็อก โฮมส์ ประกอบด้วยเรื่องสั้น 12 เรื่อง ฉบับแรกมีภาพวาดประกอบโดย Sidney Paget นำเรื่องสั้นทั้ง 12 เรื่องที่เคยตีพิมพ์ในนิตยสารสแตรนด์ (Strand Magazine) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1891 ถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1892

  • เหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย (A Scandle in Bohemie)
  • คู่หมั้นจำแลง (A Case of Identity)
  • ความลับที่หุบเขาบอสคูมบ์ (A Boscombe Valley Mystery)
  • เมล็ดส้มห้าเมล็ด (Five Orange Pips)
  • ชายปากบิด (The Man with the Twisted Lip)
  • สันนิบาตผมแดง (The Red-Headed League)
  • ทับทิมสีฟ้า (The Blue Carbuncle)
  • นิ้วหัวแม่มือของวิศวกร (The Engineer’s Thumb)
  • ห่วงแต้ม (The Speckled Band)
  • พ่อหม้ายบรรดาศักดิ์ (The Noble Bachelor)
  • มงกุฎเพชรมรกต (The Beryl coronet)
  • คฤหาสน์อุบาทว์ (The Copper Beeches)

ชุด “จดหมายเหตุ”

(The Memoirs of Sherlock Holmes) เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นชุดที่ 2 ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์‎ ประกอบด้วยเรื่องสั้น 11 เรื่อง

  • ม้าตัวเก็งหาย (Silver Blaze)
  • หน้าเหลือง (The Yellow Face)
  • อุบายสับตัว (The Stockbrocker’s Clerk)
  • เรือบรรทุกนักโทษ (The Gloria Scott)
  • ปริศนาลายแทง (The Musgrave Ritual)
  • จดหมายนัดพบ (The Reigate Squires)
  • ชายหลังค่อม (The Crooked Man)
  • จองเวร (The Resident Patient)
  • ล่ามภาษากรีก (The Greek Interpreter)
  • สัญญานาวี (The Naval Treaty)
  • ปัจฉิมปัญหา (The Final Problem)

ชุด “คืนชีพ”

(The Return of Sherlock Holmes) นวนิยายเรื่องสั้นชุดที่ 3 ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์‎ ประกอบด้วยเรื่องสั้น 13 เรื่องตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1905 ประกอบด้วยเรื่องสั้นดังนี้

  • บ้านร้าง (The Empty House)
  • ช่างก่อสร้างเจ้าเล่ห์ (The Norwood Builder)
  • รหัสตุ๊กตาเต้นรำ (The Dancing Man)
  • นักจักรยานผู้เดียวดาย (The Solitary Cyclist)
  • โรงเรียนสำนักอธิการ (The Priory School)
  • ปีเตอร์ดำ (Black Peter)
  • นายหน้าขู่กิน (Charles Augustur Milverton)
  • อาฆาตนโปเลียน (The Six Napoleons)
  • สามนิสิต (The Three Students)
  • แว่นตากรอบทอง (The Golden Pince-Nez)
  • นักรักบี้หาย (The Missing Three-Qarter)
  • ชู้รักของเลดี้ (The Abbey Grange)
  • รอยเปื้อนที่สอง (The Second Stain)

ชุด “ลาโรง”

(His Last Bow) คือนวนิยายเรื่องสั้นชุดที่ 4 ในชุด เชอร์ล็อก โฮมส์ ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์‎ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1917 ประกอบด้วยเรื่องสั้น 8 เรื่อง ดังต่อไปนี้

  • จอมบงการใจทมิฬ (Wisteria Lodge)
  • ตามพิฆาต (The Cardboard Box)
  • วงแดง (The Red Circle)
  • แผนผังเรือดำน้ำ (The Bruce-Partington Plan)
  • ซ้อนกล (The Dying Detective)
  • โลงศพต่อพิเศษ (The Disappearance of Lady Frances Carfax)
  • ตีนผี (The Devil’s Foot)
  • เชอร์ล็อก โฮมส์ ลาโรง (His Last Bow)

ชุด “บันทึกคดี” (The Case-Book of Sherlock Holmes)

เป็นนวนิยายรวมเรื่องสั้นเล่มที่ 5 อันเป็นเล่มสุดท้าย ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์‎ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1927

  • พรานพิศวาส (The Illustrious Client)
  • ทหารขี้ทูด (The Blanched Soldier)
  • เพชรมงกุฎ (The Mazarin Stone)
  • ความจริงในนิยาย (The Three Gables)
  • ผีดิบอาละวาด (The Sussex Vampire)
  • พินัยกรรมประหลาด (The Three Garridebs)
  • สะพานมรณะ (Thor Bridge)
  • คนลิง (The Creeping Man)
  • ขนคอสิงห์ (The Lion’s Mane)
  • สุสานร้าง (The Shoscombe Old Place)
  • หญิงคลุมหน้า (The Veiled Lodger)
  • หึงสาอาฆาต (The Retired Colourman)

ดูเพิ่มเติม > Canon_of_Sherlock_Holmes

บทความแนะนำ