มนุษย์เราเมื่อเปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนสภาพแวดล้อมก็จะมีการปรับตัวกับสถานที่ใหม่ๆ บ้างก็ปรับแล้วอยู่ได้ บ้างก็ปรับแล้วอยู่ไม่ได้ แต่ในสัตว์บางชนิดมันไม่สามารถเปลี่ยนที่อยู่ของมันได้ ถึงแม้มันจะพยายามปรับตัวแล้วก็ตาม วันนี้เรามีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเรื่องปลามาฝากค่ะ เคยคิดเล่นๆ กันมั้ยคะว่า ถ้าปลาน้ำจิดไปอยู่ทะเล หรือปลาในทะเลมาอยู่ในแม่น้ำบ้าง มันจะสามารถอยู่ได้มั้ย?
ปลาที่อยู่ในแม่น้ำ จะอยู่ในทะเลได้ไหม
ปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ หรือปลาน้ำจืด อาศัยอยู่ในทะเลไม่ได้แน่นอน และปลาทะเลก็อยู่ในแม่น้ำไม่ได้เช่นกัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ปลาน้ำจิด และปลาทะเลมีวิธีการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายที่ต่างกัน โดยกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสมดุลของน้ำในตัวปลาคือ การออสโมซิส
การออสโมซิสในปลา คืออะไร
คือการแพร่ของน้ำผ่านเยื่อบางๆ จากบริเวณที่มีน้ำมากไปสู่บริเวณที่มีน้ำน้อย หรือบริเวณที่สารละลายเข้มเข้นน้อยไปสู่บริเวณที่สารละลายเข้มข้นมาก ของเหลวในตัวปลาน้ำจืด มีความเข้มข้นมากกว่าน้ำที่มันอาศัยอยู่ น้ำจึงแพร่เข้าไปในตัวปลา ปลาน้ำจืดจึงมีโครงสร้างสำหรับขับน้ำที่เข้ามามากเกินไป และมีเซลล์พิเศษที่ช่วยดูดซึมเกลือแร่กลับเข้าสู่ร่างกาย
ถ้าเรานำปลาน้ำจืดไปปล่อยทะเล ซึ่งน้ำทะเลมีความเข้มข้นมากกว่าของเหลวในตัวปลา น้ำจึงแพร่ออกจากตัวปลามากและดูดซึมเกลือแร่เข้าไปมาก ทำให้ในตัวของมันมีเกลือแร่มากเกินไป และขาดน้ำตาย ในทางกลับกัน ถ้าเรานำปลาทะเลไปปล่อยในแม่น้ำ น้ำจะแพร่เข้าสู่ตัวปลามากจนทำให้มันบวมน้ำตาล
ที่มา: หนังสือ 234 คำถามวิทย์ ต่อยอดความคิดไม่รู้จบ
บทความแนะนำ
- แค่ไหนที่เรียกว่า เซนซิทีฟ? 8 ลักษณะเด่น ที่บอกว่าคุณเป็นคน “อ่อนไหวง่าย”
- มนุษย์ Homo erectus ขี้เกียจจนสูญพันธุ์ – มนุษย์ผู้ยืนตัวตรง
- 10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเป็นคน ใจดีเกินไป
- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน บริหารเวลาแบบคนฉลาด ด้วยเทคนิค Pomodoro
- เป็นคนแบบไหนกัน? คนโลกส่วนตัวสูงหรือเป็นคนเปิดเผย Introvert-Extroverts? Private