ในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) นั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการอภิเษกสมรสของพระองค์ อาทิ พระองค์อภิเษกในวัย 40 พรรษา , พระองค์ถอนหมั้นสองครั้ง และอภิเษกกับสามัญชนคนแรกที่ได้เข้าราชพิธีอภิเษกสมรส นั่นคือ พระสุจริตสุดา พระสนมเอกใน ร.6 นั่นเอง
เรื่องรักในวังหลวง สมัยรัชกาลที่ 6
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ (ร.6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี พระองค์เข้าพิธีอภิเษกสมรสตอนพระชนม์มายุ 40 พรรษา มีพระมเหสี 3 พระองค์
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา (2464–2468)
มีพระราชพิธีอภิเษกสมรส มีขึ้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2464 จากนั้นใน วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2465 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอินทราณี ขึ้นดำรงพระยศเจ้านายตำแหน่งพระมเหสีพระองค์หนึ่ง
พระนามเดิม: ประไพ สุจริตกุล (ประสูติ: 10 มิถุนายน พ.ศ. 2445 — สิ้นพระชนม์: 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พระชนมายุ 73 พรรษา) | เป็นน้องของ เปรื่อง สุจริกุล หรือ พระสุจริตสุดา
พระนางเธอลักษมีลาวัณ
พระนางเธอลักษมีลาวัณ (2465–2468)
หมั้นในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2464 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ หลังจากการเฉลิมพระยศได้เพียง1 เดือน 19 วัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ก็ทรงอภิเษกสมรสกับ พระสุจริตสุดา เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2464 / แต่หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีจึงได้รับโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น พระนางเธอลักษมีลาวัณ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465 เสมือนรางวัลปลอบพระทัย
พระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณ (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 สิริพระชนมายุ 62 พรรษา) ถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 :: อ่าน > พระนางเธอลักษมีลาวัณ พระมเหสี ร.6 | พระนางเธอผู้ถูกลอบปลงพระชมน์
พระนางเจ้าสุวัทนา
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (2467–2468)
เครือแก้ว (หรือ พระนางเจ้าสุวัทนา) ได้มีโอกาสร่วมแสดงละครพระราชนิพนธ์เรื่อง พระร่วง ได้รับบทเป็นสาวใช้ของนางจันทร์ ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงแสดงเป็นนายมั่นปืนยาว ซึ่งต้องมีบทพูดจาโต้ตอบกับบรรดาสาวใช้ของนางจันทร์ คุณเครือแก้วก็ได้ฝึกซ้อมเต็มที่เล่นเสมือนจริง ทำให้เคืองพระทัยสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา จึงโปรดให้ข้าหลวงส่งเสียงโห่ฮาขึ้น และใช้เท้าตบพื้นพระที่นั่ง เป็นเหตุให้พระเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธถึงกับเสด็จขึ้นทันที และครั้งนั้นเองพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้มีจิตประดิพัทธ์ต้องในอัธยาศัยของเครือแก้ว เนื่องด้วยความสุขุม ไม่ได้ตอบสนองต่อเหตุการณ์กระทบกระเทือนที่เกิดขึ้น
วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2467 ได้ทรงสถาปนาคุณสุวัทนาขึ้นเป็น เจ้าจอมสุวัทนา พระสนมเอก พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ถือเป็นสตรีท่านสุดท้ายที่ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าจอมในราชวงศ์จักรี / ร.6 ยังให้เจ้าจอมสุวัทนาตามเสด็จไปในการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอยู่เนือง ๆ
พระนามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์ (15 เมษายน พ.ศ. 2448 — 10 ตุลาคม พ.ศ. 2528 สิริพระชนมายุ 80 พรรษา 5 เดือน 25 วัน)
ยังมีสตรีผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญๆ คือ
พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล)
พระสุจริตสุดา พระสนมเอก (2464–2468)
ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหมั้นกับพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ก็โปรดให้เปรื่องมาเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของพระองค์เจ้าวัลลภาเทวี / หลังจากถอนหมั้นกับทั้งสองพระองค์ คือ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี และพระนางเธอลักษมีลาวัณ / ร.6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2464 ถือเป็นสุภาพสตรีสามัญชนคนแรกที่ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรส
พระนามเดิม เปรื่อง สุจริตกุล เกิด: 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 — ถึงแก่อนิจกรรม : 9 มีนาคม พ.ศ. 2524 รวมอายุ 85 ปี) เป็นพี่สาวของ ประไพ สุจริตกุล หรือ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี
พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี
อดีตพระคู่หมั้น ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าวรรณวิมล วรวรรณ; ประสูติ: 28 ตุลาคม พ.ศ. 2435 — สิ้นพระชนม์: 7 เมษายน พ.ศ. 2494) ทรงถูกจำขังลงโซ่ตรวนทองคำอยู่ในพระบรมมหาราชวังนับแต่นั้นจนตลอดทั้งรัชกาล :: อ่าน > พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี พระนางผู้ถูกจำสนมในวังตลอดรัชกาล | อดีตพระคู่หมั้น นางห้าม ร.6
ลำดับปีการอภิเษกสมรส ความสัมพันธ์
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา (2464–2468)
คุณประไพ (สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี) ได้รับราชการฝ่ายในใน ร.6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ตำแหน่งพระสนมเอก เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2464 / วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2465 โปรดเกล้าเป็นพระมเหสี
พระนางเธอลักษมีลาวัณ (2465–2468)
วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2465ได้รับโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น พระนางเธอลักษมีลาวัณ เสมือนรางวัลปลอบพระทัย
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (2467–2468)
วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2467 ได้ทรงสถาปนาคุณสุวัทนาขึ้นเป็น เจ้าจอมสุวัทนา พระสนมเอก พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) (2464–2468)
วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2464 ทรงอภิเษกสมรส กับ พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล : พระสนมเอก)
พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี
อดีตพระคู่หมั้น
ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 รัชกาลที่ 6 ได้ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าวัลลภาเทวี (พระชันษา 28 ชันษา) ขึ้นเป็น พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ในฐานะพระคู่หมั้น .. ครั้นแล้วจึงมีพระบรมราชโองการให้ถอนหมั้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2464 และโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี “เพราะเหตุที่พระราชอัธยาศัยมิได้ต้องกัน”
หากสรุปง่ายๆ ให้พอเข้าใจ นั่นคือ ร.6 ทรงถอนหมั้นกับพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีแล้วถอนหมั้น ไปหมั้นกับพระนางเธอลักษมีลาวัณ (น้องต่างแม่ของพระองค์เจ้าวัลลภาฯ) แต่ก็มิได้สมรสกัน เพราะ ร.6 ท่านได้อภิเษกสมรสกับพระสุจริตสุดานั่นเอง (เป็นสนมเอก)
สองพี่น้องต่างแม่ พระนางเธอลักษมีลาวัณ , พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี
พระนางเธอลักษมีลาวัณ (พระมเหสี ร.6) เป็นพระขนิษฐา (น้องสาวต่างแม่) ต่างชนนีของอดีต พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี (พระอดีตคู่หมั้น ร.6)
คำราชาศัพท์ : พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว , พระขนิษฐา หมายถึง น้องสาว , พระชนนี หมายถึง แม่
ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2464 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา หม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ พร้อมกับทรงหมั้น และมีพระราชวินิจฉัยว่า จะได้ทรงทำการราชาภิเษกสมรส.. แต่ก็มิได้สมรส เพราะหลังจากการเฉลิมพระยศได้เพียง 1 เดือน 19 วัน ร.6 ทรงตัดสินพระราชหฤทัย “แยกกันอยู่” กับ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณซึ่งยังมิได้อภิเษกสมรสกัน แต่หลังจากการเฉลิมพระยศของพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ได้เพียง 1 เดือน 19 วัน..กลายว่า
ร. 6 ทรงอภิเษกสมรส กับ เปรื่อง สุจริตกุล
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ก็ ทรงอภิเษกสมรสกับ พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) ธิดาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2464 และทรงตัดสินพระราชหฤทัย “แยกกันอยู่” กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ซึ่งยังมิได้อภิเษกสมรสกัน
ภาพในวันพิธีอภิเษกสมรส
คุณเปรื่อง สุจริตกุล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระสนมเอกที่ “พระสุจริตสุดา”
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา
คุณประไพ สุจริตกุล (น้องของคุณเปรื่อง สุจริตกุล) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น “พระอินทราณี” พระสนมเอก ต่อมาได้โปรดสถาปนาพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี” ต่อมาในตอนปลายรัชกาลโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า “สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา”
(คำบรรยายภาพดังนี้…ทรงเครื่องเต็มยศ จอมพลเรือ จอมทัพเรือสยาม ทรงสายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์ ประดับพระดารานพรัตน์ราชวราภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงศ์และเสนางคบดี ทรงฉายพร้อมด้วยนายนาวาโทราชนาวีเสือป่า สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี นายเสือป่าพิเศษกองพันหลวงราชานวีเสือป่า เนื่อง ในวโรกาสครบรอบ ๒ ปี การราชาภิเษกสมรส เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๕)
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
คุณเครือแก้ว อภัยวงศ์ ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น เจ้าจอมสุวัทนา และได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น “พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี” ในที่สุด
(คำบรรยายใต้ภาพดังนี้… ทรงเครื่องครึ่งยศ จอมพล ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จ.ป.ร.
ทรงประดับพระดารานพรัตน์ราชวราภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ และเสนางคบดี เสด็จออกพระที่นั่งบรมพิมาน ในการทรงราชาภิเษกสมรสกับคุณสุวัทนา อภัยวงศ์ บุตรีพระอภัยพิทักษ์ (เลื่อม อภัยวงศ์) แล้วโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณสุวัทนาขึ้นไว้ในตำแหน่งพระสนมเอก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2467)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายกับพระนางเจ้าสุวัทนา และพระสุจริตสุดา พร้อมครอบครัวข้าราชบริพารคนสนิท เมื่อปี พ.ศ. 2467
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 เวลาเช้า นายกองเอก พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี นายเสือป่าพิเศษกองร้อยหลวง กรมเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์ เสด็จจากที่ประทับแรมสวนนันทอุทยาน จังหวัดนครปฐม ไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่ค่ายหลวงบ้านโป่ง เวลา 13 น. เศษ ทรงเครื่องปกตินายพลเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินจากที่ประทับแรมค่ายหลวงบ้านโป่ง พร้อมด้วย นายกองเอก พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ไปทอดพระเนตรการซ้อมรบเสือป่าที่ท้องทุ่งบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ประทับเสวยพระกระยาหารกลางวันที่พลับพลาในสนามประลองยุทธแล้ว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ราษฎรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท)
ร.6 ทรงมีพระราชธิดา ซึ่งประสูติแต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ธิดาเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประสูติ ณ วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นเพียง 2 วัน รัชกาลที่ 6 ก็ทรงสวรรคต ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีสิ้นพระชนม์
เรียบเรียงโดย www.campus-star.com
ข้อมูลจาก สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี , พระนางเธอลักษมีลาวัณ , พระนางเจ้าสุวัทนา , ,
ภาพจาก www.trangzone.com , News.MThai.com , www.imgrum.org/tag/kingrama6 , ประมวลพระรูปพระนางเจ้าสุวัทนา , ไฮโซโบราณ (เรือนไทย) , Tag สุจริตกุล , สมเด็จอินทร์ , เจ้านายฝ่ายใน