ประเทศญี่ปุ่น เกียวโต เรื่องน่ารู้

12 เรื่องน่ารู้ ที่ควรเตรียมพร้อมก่อนเดินทาง ไปเกียวโต ญี่ปุ่น

Home / สาระความรู้ / 12 เรื่องน่ารู้ ที่ควรเตรียมพร้อมก่อนเดินทาง ไปเกียวโต ญี่ปุ่น

เพื่อนๆ คนไหนที่กำลังมีแผนเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นอยู่ในตอนนี้ เรามีเรื่องราวน่ารู้ของเมืองเกียวโต ที่เคยเป็นเมืองหลวงอันรุ่งเรืองของญี่ปุ่น ซึ่งมนต์เสน่ห์ของเกียวโตจะถูกถ่ายทอดผ่านวิถีชีวิตและภูมิทัศน์ที่แสดงให้เราได้เห็นความเป็นอยู่ของประเทศญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ผ่านผู้คน  วัฒนธรรม อาหารการกิน อาคารบ้านเรือน สถาปัตยกรรม พระราชวัง โดยเฉพาะวัดและศาลเจ้าที่มีอยู่ทุกมุมเมืองเลย

เรื่องน่ารู้ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

เกียวโต

1. จังหวัดเคียวโตะ หรือ เกียวโต เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่บนเกาะฮนชู มีโบราณวัตถุมากมาย สินค้าพื้นเมืองของที่นี้ได้แก่ ผ้าไหมและผ้าแพร

2. เมืองหลวงของจังหวัดเกียวโต คือ Kyoto City (เป็นชื่อเดียวกันกับจังหวัดเลย) โดยมีความสำคัญเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศญี่ปุ่น

3. ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเกียวโตเป็นที่ราบสลับหุบเขา ทิศเหนือติดกับทะเลญี่ปุ่น ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเฮียวโงะ ทิศใต้ติดกับจังหวัดโอซะกะ จังหวัดนะระ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดชิงะ จังหวัดฟูกูอิ มีภูเขาทันบะพาดผ่านกึ่งกลางจังหวัด ทำให้มีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันมากระหว่างตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัด

4. ภูมิอากาศในเกียวโตไม่เคยปราณีใคร ยามหน้าร้อนก็จะร้อนจัด และยามหน้าหนาวก็หนาวถึงใจ ดังนั้นสำหรับที่จะเดินทางไปเที่ยวเมืองเกียวโตก็ต้องเช็คภูมิอากศให้ดีเสียก่อน แล้วอย่าลืมเตรียมเสื้อให้เหมาะสมด้วยนะ

5. แต่เดิมเมืองนี้มีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า เคียว (京) และ มิยะโกะ (都) หรือบางครั้งก็ถูกเรียกรวมว่า เคียวโนะมิยะโกะ (京の都) ต่อมาในศตวรรษที่ 11 ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เคียวโตะ (มีความหมายว่า เมืองหลวง) ตามคำของภาษาจีนของเมืองหลวงที่อ่านว่า จุงตู (京都) แต่หลังจากที่เมืองเอะโดะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว (มีความหมายว่า เมืองหลวงตะวันออก) ต่อมาในปี ค.ศ. 1868 เมืองเคียวโตะก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ไซเกียว (西京 มีความหมายว่า เมืองหลวงตะวันตก) เป็นเวลาสั้นๆ ก่อนจะเปลี่ยนกลับมาเป็น เคียวโตะ ในเวลาต่อมา

6. ชาวเกียวโตส่วนมากไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองตัวเองสักเท่าไหร่ อย่าคาดหวังว่าชาวเมืองจะสามารถตอบคำถามเชิงประวัติศาสตร์ที่เราอยากรู้ได้ทุกเรื่องเสมอไป

7. ร้านน้ำชาข้างทาง หรือวัดวาอารามสวยๆ ที่เราหวังจะแวะพักระหว่างทางนั้นมีจำนวนน้อยกว่าซุปเปอร์มาร์เก็ตเสียอีก รับรองเลยว่าเราจะเห็นแทบทุกหัวมุมถนนกันเลยทีเดียว (ส่วนมากก็สร้างขึ้นบนที่ที่เคยเป็นร้านขายของแบบดั้งเดิมนั่นเอง)

8. จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปท่องเที่ยวในเมืองนี้มีจำนวนมาก จนบางครั้งก็ทำให้รถเมล์ไม่สามารถหยุดรับตามป้ายได้ เพราะคนเต็มคันแล้ว บางครั้งก็มีการช่วงชิงพื้นที่บนรถเมล์เกิดขึ้น ระหว่างนักท่องเที่ยวและชาวเมืองที่ต้องไปเรียนหรือทำงาน

9. ระบบการกรอกที่อยู่ของญี่ปุ่นนั้นค่อนข้างยาวเลยทีเดียว ยาวซะจนทำให้คุณท้อใจได้เลยเวลาที่ต้องกรอกแบบฟอร์มที่ต้องใส่ที่อยู่ด้วย ยิ่งถ้ารวมชื่ออพาร์ทเมนท์เข้าไปอีก เท่ากับว่าจะต้องกรอกกว่า 50 ตัวอักษรกันเลยทีเดียว

10. ชื่อสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งนั้น แม้แต่คนญี่ปุ่นเองก็อ่านไม่ออก เพราะถูกเขียนขึ้นด้วยตัวอักษรคันจิที่เลิกใช้กันไปนานเป็น 100 ปีแล้ว

11. เหล่าไมโกะและเกอิชาแสนงามที่เดินไปมา อวดโฉมให้เห็นตามท้องถนนนั้นเป็นเพียงแค่นักแสดงหรือคนที่แต่งตัวมาเพื่อสร้างสีสันให้เมืองเท่านั้น เพราะความเป็นจริงแล้วผู้ฝึกฝนสู่วิถีเกอิชานั้นไม่ใช่ใครที่เราจะพบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันเลย พวกเธอมีกฎระเบียบมากมายที่ต้องรักษาไว้ และนั่นไม่ใช่การมานั่งอยู่ในร้านกาแฟ ร้านฟาสต์ฟู้ด พร้อมกับนั่งเล่นมือถือให้คุณเห็นแน่นอน

12. ทุกแห่งล้วนเต็มไปด้วยโบราณวัตถุ ฟังดูดีสำหรับนักท่องเที่ยวหรือนักโบราณคดี แต่สำหรับชาวเมืองแล้วอาจจะไม่แฮปปี้สักเท่าไหร่ เพราะทุกครั้งที่ต้องมีการก่อสร้างอาคารหรือส่วนขยายรถไฟฟ้า แล้วบังเอิญไปขุดพบวัตถุหรือสุสานโบราณโครงการเข้าให้ ทำให้โครงการนั้นเป็นอันต้องหยุดไปจนกว่านักโบราณคดีจะสำรวจอย่างละเอียดให้เรียบร้อยเสียก่อน จึงจะกลับมาก่อสร้างได้ใหม่อีกครั้ง