เสน่ห์ภาษาไทย … อักษรไทยสองตัวนี้ คือ ฎ-ฏ (ด-ชฎา, ต-ปฏัก) แน่นอนเลยว่าหลายคนยังใช้สับสนกัน เพราะถ้าให้อ่านออกเสียงสำเนียงยังมีความต่าง แต่ถ้าให้เขียนแล้วล่ะก็… ใช้ตัวไหนนะ สับสนมาก บางทีก็เนียนๆ ใช้แทนกันไปเลย วันนี้ Campus-Star.com รวมตัวสะกดที่ใช้ ด-ชะ- ดา กับ ต-ปะ-ตัก และตัวพยัญชนะอื่นๆ ที่ใช้สลับกันเวลาเขียน มาให้ได้จำกันค่ะ มีไม่เยอะเลยนะ จำให้ดีๆ นะ ^^
พยัญชนะไทย เส้นหยักๆ ฎ ฏ ฐ ฑ ฌ ฬ ฐ ที่มักจำสับสนทุกที
คำเขียนที่ถูกต้อง จำไปใช้ได้เลย
ฌ.เฌอ : เข้าฌาณ, เพชฌฆาต
ฑ.มณโฑ : ครุฑ, ครุภัณฑ์, บิณฑบาต, มัณฑนา, ไปรษณียภัณฑ์
ฬ.จุฬา : กเฬวราก, กักฃฬะ, ขัณฑสกร, ปลาวาฬ, เหงื่อกาฬ
ฆ.ระฆัง : ทีฆายุโก, พระสงฆ์, สังฆเภท, โมฆกรรม, โมฆียกรรม
ฐ.ฐาน : ปฐมนิเทศ, มาตรฐาน, โมฆียกรรม, สัณฐาน, สันนิษฐาน
ฎ-ฏ (ชฎา-ปฏัก) ที่ถูกต้อง
ฎ ชฎา | ฏ ปฏัก |
กฎ | กบฏ |
กฎหมาย | กุฏฐัง |
ประถมาภรณ์มงกุฎไทย | โกฏิ (10 ล้าน) |
มกุฎราชกุมาร | บูรณปฏิสังขรณ์ |
นพปฎล | ปฏิกิริยา |
มงกุฎ | ปฏิสันถาวร |
ปรากฏ | |
ปาฏิหาริย์ , ศิลปะปฏิบัติ | |
รังสฤษฏ์ | |
สุพรรณบัฏ | |
รกชัฏ |
พยัญชนะ หมายถึง ตัวอักษรหรือตัวหนังสือที่ใช้สำหรับแทนเสียงแปร รูปพยัญชนะไทยมี 44 ตัว แต่ละตัวมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ ดังนี้
คำอ่านพยัญชนะ หรือ ตัวอักษรภาษาไทย
ก.ก่ | ข.ไข่ | ฃ.ขวด | ค.ควาย | ฅ.คน | ฆ.ระฆัง | ง.งู | จ.จาน |
ฉ ฉิ่ง | ช ช้าง | ซ โซ่ | ฌ เฌอ | ญ หญิง | ฎ ชฎา | ฏ ปฏัก | ฐ ฐาน |
ฑ มณโฑ | ฒ ผู้เฒ่า | ณ เณร | ด เด็ก | ต เต่า | ถ ถุง | ท ทหาร | ธ ธง |
น หนู | บ ใบไม้ | ป ปลา | ผ ผึ้ง | ฝ ฝา | พ พาน | ฟ ฟัน | ภ สำเภา |
ม ม้า | ย ยักษ์ | ร เรือ | ล ลิง | ว แหวน | ศ ศาลา | ษ ฤๅษี | ส เสือ |
ห หีบ | ฬ จุฬา | อ อ่าง | ฮ นกฮูก |
ตัวอักษร ฃ (ข.ขวด) และ ฅ (ค.คน) อยู่ตรงไหนของแป้นพิมพ์?
ให้วางมือบนแป้นพิมพ์ ที่ ฟ ห ก ด ่ า ส ว แล้วมองไปที่ด้านขวาสุด จะแถวที่สองจากด้านบน หรืออยู่ใต้ปุ่ม Backspace นั่นเอง
ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฅ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้ ฅ อยู่บ้างในบางแวดวง นัยว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว เท่าที่พบเห็น มักจะใช้ในคำว่า ฅน (คน) โดยเฉพาะในบันเทิงคดีต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ในแบบเรียนอักษรไทย ยังคงมีอักษร ฅ อยู่
ฑ.นางมณโฑ อยู่แป้นที่เดียวกับ พ.พาน
ฌ.เฌอ อยู่ที่ไหน ฌ.เฌออยู่แป้นเดียวกันกับ สระเอ ใช้นิ้วชี้ด้านซ้ายจิ้มลงไป
ฆ.ระฆัง อยู่แป้นเดียวกับแป้น ห.หีบใส่ผ้า อยู่นิ้วนางข้างซ้ายจ้ะ
ฐ.ฐาน อยู่ที่มือด้านขวา ตำแหน่งเดียวกับ บ.ไม้
ฬ.จุฬา อยู่นิ้วนางด้านขวา ตรงกับแป้นสระไอไม้ม้วน
“ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี”