ภาษี หักภาษี ณ ที่จ่าย

การหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร ทำไมต้องจ่าย?

Home / สาระความรู้ / การหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร ทำไมต้องจ่าย?

พลเมืองที่ดีจะต้องเสียภาษีให้กับประเทศ เพื่อนำเงินภาษีที่ได้ไปพัฒนาบ้านเมืองให้น่าอยู่ สงบสุขและพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งภาษีที่ต้องเสียของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเงินได้และการลดหย่อนภาษี ซึ่งจะต้องคำนวณและทำการยื่นภาษีในช่วงเดือนมกราคมถึงประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี

การหักภาษี ณ ที่จ่าย

โดยภาษีอีกรูปแบบหนึ่งที่หลายคนเคยจะต้องคุ้นหูนั่นคือ “การหักภาษี ณ ที่จ่าย” เพื่อนๆ สงสัยกันมั้ยว่าจริงๆ แล้วการหักภาษี ณ ที่จ่ายคืออะไรกันแน่ วันนี้แคมปัส-สตาร์จะพาไปไขข้อสงสัยว่าการหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร และทำไมถึงต้องจ่ายด้วย?

การหักภาษี ณ ที่จ่าย

การหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ?

“การหักภาษี ณ ที่จ่าย” หรือเรียกเต็มๆ ว่า “ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย”  คือภาษีที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้ว่าจ้างจะหักเงินภาษีออกจากเงินได้ของผู้รับหรือผู้ถูกว่าจ้าง แล้วผู้จ่ายจะนำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากร ส่วนผู้รับจะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) จากผู้จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีกับสรรพากรว่า ได้ชำระภาษีในรูปแบบของภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้ว โดยการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะถูกหักเป็นเปอร์เซนต์ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ดังนี้

  • ค่าขนส่ง หักภาษี ณ ที่จ่าย 1 % ยกเว้นไปรษณีย์
  • ค่าโฆษณา หักภาษี ณ ที่จ่าย 2 %
  • ค่าจ้างรับเหมา หรือบริการต่างๆ หักภาษี ณ ที่จ่าย 3 %
  • ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ หักภาษี ณ ที่จ่าย 5 % รวมถึงค่าจ้างนักแสดง เงินรางวัลจากการแข่งขันหรือการชิงโชคต่างๆ
  • ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อยอดเงินไม่เกิน 1,000 บาท ยกเว้นเป็นยอดที่มีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์รายเดือน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

การหักภาษี ณ ที่จ่าย

ทำไมต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย?

การหักภาษี ณ ที่จ่าย เปรียบเสมือนการทยอยจ่ายภาษีในระหว่างปี เพื่อช่วยให้ไม่ต้องรับภาระการจ่ายภาษีเป็นเงินก้อน เมื่อถึงเวลายื่นภาษีจริงๆ เพราะได้มีการจ่ายภาษีล่วงหน้าไปบางส่วนแล้ว

ถึงจะหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ก็ต้องยื่นภาษีด้วย

หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่า เมื่อตนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แสดงว่าตนได้ทำการเสียภาษีตามหน้าที่พลเมืองที่ดีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะการหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ถือว่าเป็นภาษีสุดท้าย แต่เป็นการจ่ายภาษีล่วงหน้าเพียงบางส่วนเท่านั้น ดังนั้นถึงแม้ว่าเงินได้ของแต่ละคนจะถูกหักภาษีแล้ว แต่ก็ยังต้องยื่นภาษี ยกเว้นเงินได้ที่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นให้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้าย ไม่ต้องยื่นภาษีก็ได้ เช่น เงินปันผลจากหุ้น, กองทุนรวม, ดอกเบี้ย, เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น


ตัวอย่างใบ 50 ทวิ (ภาพจาก itax.in.th)

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก krungsri.com, flowaccount.com, itax.in.th,

บทความแนะนำ