จังหวัด ชื่อเดิม ประเทศไทย

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ ชื่อเดิมของแต่ละจังหวัด ในประเทศไทย 77 จังหวัด

Home / สาระความรู้ / เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ ชื่อเดิมของแต่ละจังหวัด ในประเทศไทย 77 จังหวัด

ได้อ่านเจอบทความที่เกี่ยวชื่อเดิมของแต่ละจังหวัด ไพเราะไม่ใช่น้อย อีกทั้งยังบ่งบอกถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของจังหวัดนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เลยรวบรวมมาฝากชาวแคมปัสสตาร์ โดยบางจังหวัดอาจจะมีชื่อเดิมมากกว่า 2 ชื่อเลยนะคะ .. ประเทศไทย แบ่งออกเป็น 77 จังหวัด (โดย กรุงเทพฯ เป็นเขตปกครองพิเศษ ที่มีฐานะเทียบเท่าจังหวัด) และมี 6 ภาค (แบ่งตามภูมิศาสตร์) ได้แก่ 1.ภาคเหนือ 2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.ภาคกลาง 4.ภาคตะวันออก 5.ภาคตะวันตก 6.ภาคใต้

ชื่อเดิมของแต่ละจังหวัด ในประเทศไทย

เรียงตามภาคต่างๆ หากต้องการค้นหาจังหวัดตัวเองเร็วๆ กดแป้นคีย์บอร์ด ปุ่ม Ctrl+ปุ่ม F สำหรับค้นหาในบราวเซอร์นี้นะคะ

ภาคเหนือ

1. เชียงราย – เวียงชัยนารายณ์
2. เชียงใหม่ – นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ หรือ เวียงพิงค์
3. น่าน – นันทบุรี , เมืองน่าน , เมืองนาน
4. พะเยา – เมืองภูกามยาว หรือ พยาว
5. แพร่ – พลนคร เวียงโกศัย

6. แม่ฮ่องสอน – แม่ร่องสอน
7. ลำปาง – เขลางค์นคร
8. ลำพูน – หริภุญไชย
9. อุุตรดิตถ์ – บางโพธิ์ท่าอิฐ (สมัยก่อนเป็นแค่ตำบล ไม่ได้เป็นจังหวัด)

ภาคอีสาน

10. กาฬสินธุ์ – บ้านแก่งสำเริง หรือ บ้านแก่งสำโรง , แก่งส้มโฮง
11. ขอนแก่น – ขามแก่น
12. ชัยภูมิ – บ้านหลวง
13. นครพนม – มรุกขนคร และเปลี่ยนเป็นศรีโคตรบูรณ์
14. นครราชสีมา – โคราช โคราฆะ เสมา
15. บึงกาฬ – ชัยบุรี , เมืองไชยบุรี

16. บุรีรัมย์ – โนนม่วง เมืองแปะ
17. มหาสารคาม – บ้านลาดกุดยางใหญ่ , บ้านลาดกุดนางใย
18. มุกดาหาร – เมืองมุกดาหาร
19. ยโสธร – สมัยก่อนเป็นหมู่บ้านชื่อบ้านสิงห์ท่า
20. ร้อยเอ็ด – สาเกตนคร , ร้อยเอ็จประตู

21. เลย – หมู่บ้านแฮ่ เมืองเลย
22. สกลนคร – เมืองหนองหานหลวง, เมืองสกลทวาปี
23. สุรินทร์ – ประทายสมันต์
24. ศรีสะเกษ – ขุขันธ์
25. หนองคาย – บ้านไผ่

26. หนองบัวลำภู – นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน , เมืองกมุทธาสัย , เมืองหนองบัวลุ่มภู่
27. อุดรธานี – บ้านหมากแข้ง หรือบ้านเดื่อหมากแข้ง
28. อุบลราชธานี – ดอนมดแดง ดงอู่ผึ้ง
29. อำนาจเจริญ – เมืองค้อ

ความโดดเด่นในแต่ละภูมิภาค

ประเทศไทย แบ่งแบบ 4 ภาคตามการปกครอง
ประเทศไทย แบ่งแบบ 4 ภาคตามการปกครอง

ภาคตะวันตก

30. กาญจนบุรี – ปากแพรก , ศรีชัยยะสิงหปุระ
31. ตาก – เมืองตาก
32. ประจวบคีรีขันธ์ – บางนารม หรือนารัง เมืองกุย
33. เพชรบุรี – พริบพรี หรือศรีวัชรบุรี
34. ราชบุรี – ราชบุรี หรือมณฑลราชบุรี , เมืองบ้านคูบัว

ภาคกลาง

35. กำแพงเพชร – เมืองชากังราว, เมืองนครชุม
36. ชัยนาท – เมืองแพรก , เมืองสรรค์
37. นครนายก – นายก
38. นครปฐม – นครไชยศรี หรือศรีวิชัย
39. นครสวรรค์ -พระบาง ชอนตะวัน
40. นนทบุรี – บ้านตลาดขวัญ เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร เมืองนนทบุรีศรีมหาอุทยาน เมืองนนทบุรีศรีเกษตราราม

41. ปทุมธานี – สามโคก ประทุมธานี
42. อยุธยา – กรุงเก่า มณฑลกรุงเก่า มณฑลอยุธยา
43. พิจิตร – สระหลวง โอฆะบุรี
44. พิษณุโลก – สองแคว
45. เพชรบูรณ์ – เพชบุระ

46. ลพบุรี – ละโว้
47. สมุทรปราการ – พระประแดง นครเขื่อนขันธ์
48. สมุทรสงคราม – แม่กลอง
49. สมุทรสาคร – เมืองสาครบุรี, เมืองท่าจีน, เมืองมหาชัย, เมืองโกรกกรากมหาชัย
50. สิงห์บุรี – สิงหราชาธิราช สิงหะราชา สิงห์

51. สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย
52. สุพรรณบุรี – ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือพันธุมบุรี สองพันบุรี อู่ทอง
53. สระบุรี – สระบุรี
54. อ่างทอง – วิเศษชัยชาญ
55. อุทัยธานี – อู่ไทย อุไทย

ความรู้เกี่ยวกับ ภูมิภาคของประเทศไทย

จังหวัด พิษณุโลก อยู่ภาคอะไร? ภาคเหนือ หรือ ภาคกลาง?

ภาคตะวันออก

56. จันทบุรี – ควนคราบุรี , เมืองเพนียด , เมืองกาไว, เมืองจันทบูร
57. ฉะเชิงเทรา – แปดริ้ว
58. ชลบุรี – บางปลาสร้อย , พระรถ , ศรีพโล, พญาแร่, พนัสนิคม , บางละมุง
59. ตราด – กราด หรือตราด
60. ปราจีนบุรี – พระรถ ศรีมโหสถ อวัธยปุระ
61. ระยอง – เมืองแร่นอง, ราย็อง
62. สระแก้ว – แต่ก่อนเป็นกิ่งอำเภอ ตั้งชื่อจากสระน้ำกลางเมือง

ภาคใต้

63. กระบี่ – แขวงเมืองปกาสัย
64. ชุมพร – เมืองชุมนุมพล
65. ตรัง – เมืองทับเที่ยง , เมืองควนธานี
66. นครศรีธรรมราช – ตามพรลิงค์ ศิริธรรมนคร ศรีธรรมราช
67. นราธิวาส – มะนาลอ บางนรา ระแงะ

68. ปัตตานี – ตานี
69. พังงา – ภูงา หรือบ้านกระพูงา พิงงา
70. พัทลุง – คูหาสวรรค์
71. ภูเก็ต – บูกิต ภูเก็จ จังซีลอน ถลาง

72. ระนอง – แร่นอง
73. สตูล – มูเก็มสโตย-ละงู นครีสโตย มำบังนังคะรา
74. สงขลา – สิงหนคร , สิงหลา , สิงขร , เมืองสทิง, เมืองสทิงพระ, เมืองสิงหลา
75. สุราษฎร์ธานี – ไชยา กาญจนดิษฐ์
76. ยะลา – ยาลอ

77. กรุงเทพมหานคร ชื่อเดิม บางกอก

ชื่อเต็ม “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

ความเป็นมาของชื่อบางกอก

โดยนามเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้ชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา”

ต่อมาในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา”

จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) ข้างต้น

ชื่อทางการของกรุงเทพมหานคร

เมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krung Thep Maha Nakhon แต่คนทั่วไปนิยมทับศัพท์ ตามชื่อที่ผู้พูดภาษาอังกฤษเรียกเมืองนี้ว่า Bangkok ซึ่งมาจากชื่อเดิมของกรุงเทพมหานคร คือ บางกอก

ที่มาของคำว่า บางกอก

มีข้อสันนิษฐานว่า อาจมาจากที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า “บางเกาะ” หรือ “บางโคก” แล้วเพี้ยนเป็นบางกอก บ้างก็ว่าเนื่องเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า “บางมะกอก” คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยต้นมะกออก ข้อสันนิษฐานนี้อ้างอิงมาจากชื่อเดิมของ วัดอรุณราชวราราม คือ วัดมะกอก (ก่อนจะเป็นวัดมะกอกนอก และวัดแจ้ง ตามลำดับ) และต่อมาบางมะกอกกร่อนคำเหลือแค่ บางกอก

ชื่อเมืองที่ยาวที่สุดในโลก

กรุงเทพมหานคร ได้ชื่อว่า เป็นชื่อเมืองที่ยาวที่สุดในโลก บันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ก แปลความเป็นภาษาอังกฤษว่า “Great City of Angels,the Supreme Repository for Divine Jewel,the Great Land Unconquerable,the Grand and Prominent Realm,the Royal and Delightful Capital City full of Nine Noble Gems,the Highest Royal Dwelling and Grand Palace,the Divine Shelter and Living Place of the Reincarnated Spirit”

ชื่อเต็มของกรุงเทพฯ เมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน

ชื่อเต็มของกรุงเทพมหานคร เมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krungthepmahanakhon Amonrattanakosin Mahintharayutthaya Mahadilokphop Noppharatratchathaniburirom Udomratchaniwetmahasathan Amonphimanawatansathit Sakkathattiyawitsanukamprasit

ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่ยาวที่สุดในโลกและได้จดบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊ค (169 ตัวอักษร) ยาวกว่าชื่อภูเขา “ตาอูมาตาวากาตังกีฮังกาโกอาอูอาอูโอตามาทีอาโปกาอีเวนูอากีตานาตาฮู”

ที่มา krungtheph mhankhr , กระทรวงวัฒนธรรม , phuketinnova.blogspot.com , วิกิพีเดีย , what998.blogspot.com , FB สอนพิเศษ/คุมองปลวกแดง by ครูขวัญ , ภูมิภาคของประเทศไทย

*** หากมีข้อมูลจังหวัดใดผิดพลาด คอมเม้นท์แจ้งได้เลยนะคะ

บทความแนะนำ