ความเชื่อต่างๆ ความเชื่อโบราณ ประเพณี พระแม่คงคา ลอยกระทง วันลอยกระทง วันสำคัญ

10 ความเชื่อโบราณ เกี่ยวกับ วันลอยกระทง – ตัดผม เล็บ เพื่อลอยความโศกเศร้า

Home / สาระความรู้ / 10 ความเชื่อโบราณ เกี่ยวกับ วันลอยกระทง – ตัดผม เล็บ เพื่อลอยความโศกเศร้า

10 ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง – วันลอยกระทง เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของไทย ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ในเดือนพฤศจิกายน เป็นประจำทุกปี โดยส่วนมากแล้วในวันลอยกระทงก็จะเป็นวันที่เรานำกระทงที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติมาลอยในแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อเป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคา ในสิ่งที่เราทำไม่ดีต่อแม่น้ำลงไป แต่เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า วันลอยกระทงนั้นมีความเชื่อและความสำคัญอย่างไรบ้างต่อมนุษย์

ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง

บทความ 10 ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับวันลอยกระทง

1. เพื่อบูชาและขอขมาพระแม่คงคา

เนื่องจากมนุษย์เรานั้นได้มีการนำน้ำมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้ในการอาบ ดื่ม และยังรวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในแม่น้ำด้วย ดังนั้นจึงได้กำหนดให้วันลอยกระทงเป็นวันที่มนุษย์ทุกคนจะได้บูชาและขอขมาพระแม่คงคาที่ได้นำน้ำมาใช้ประโยชน์ และยังเป็นการสอนให้รู้ถึงคุณค่าของการใช้น้ำอย่างประหยัดอีกด้วย

ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง

2. ตัดผม เล็บ ลงไปในกระทงด้วย – ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง

อีกหนึ่งความเชื่อในวันลอยกระทงที่มีมาอย่างยาวนานก็คือ การตัดเล็บ ตัดเส้นผม หรือใส่เงิน (ใช้เป็นเงินเหรียญ) ลงไปในกระทงด้วยตอนลอย เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ลอยความทุกข์ออกไปจากตัวเรา ลอยความโศกเศร้าออกไป ให้มีแต่สิ่งดี ๆ เข้ามา และยังรวมถึงการลอยเอาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ออกไปด้วย เพื่อเป็นการเริ่มต้นใหม่ในปีต่อไป

4. เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์

มนุษย์ทุกคนเชื่อว่าเรามีเทวดาประจำตัว ที่คอยปกปักรักษาให้รอดพ้นจากอันตรายต่าง ๆ เมื่อถึงวันลอยกระทงจึงได้ทำการขอขมาและขอบคุณที่ท่านคอยดูแลเรามาตลอด เพื่อเป็นการรับพลังดี ๆ เข้ามา ทิ้งเอาความไม่ดีออกไปให้หมด

5. เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท

พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย โดยมีประวัติความเป็นมาของรอยพระพุทธบาทนี้ว่า ครั้งหนึ่งพญานาคทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับพญานาคทูลขออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชา พระพุทธเจ้าจึงทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที เพื่อให้บรรดานาคทั้งหลายได้สักการะบูชา

6. การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต

สำหรับความเชื่อนี้ เป็นความเชื่อของชาวไทยทางภาคเหนือที่มีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ซึ่งตามตำนานได้เล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพระยามารได้สำเร็จ

7. เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า เสด็จกลับจากเทวโลก

ในวันลอยกระทงยังมีความเชื่ออีกด้วยว่า เพื่อเป็นการต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา และความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณว่าการเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ครั้งนี้ เหล่าทวยเทพและประชาชนทั้งหลายได้พร้อมใจกันทำการสักการบูชาด้วยทิพย์บุปผามาลัย จึงเป็นการรับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากดาวดึงส์พิภพ (เป็นตำนานเดียวกับประเพณีการตักบาตรเทโวรับเสด็จพระพุทธองค์ลงจากดาวดึงส์)

ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง

8. เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์

ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า พระจุฬามณีตามปกติมีเทวดาเหาะมาบูชาเป็นประจำ และยังรวมถึงพระศรีอริยเมตไตรยเทวโพธิสัตว์ ที่ในอนาคตจะลงมาจุติยังโลกมนุษย์และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งก็ได้เสด็จมาไหว้ด้วย ดังนั้นการลอยกระทงจึงเป็นการบูชาพระจุฬามณีและพระศรีอริยไตรยเทวโพธิสัตว์ด้วย

9. พิธีการอาบน้ำเพ็ญ เวลากลางคืน

ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 หรือในคืนวันลอยกระทง จะมีพิธีที่เรียกว่าการอาบน้ำเพ็ญในช่วงเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเป็นช่งที่พระจะนทร์อยู่กึ่งกลางพอดี และเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้อาบน้ำเพ็ญในคืนนี้จะได้รับความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ทำให้มีความสุขในการดำเนินชีวิต

10. เป็นการระลึกถึงบรรพบุรุษ

นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า การลอยกระทงเป็นการระลึกถึงและส่งของให้กับบรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้วอีกด้วย ผ่านการลอยกระทงและสิ่งของต่าง ๆ ที่ถูกใส่ลงไปในกระทงนั่นเอง

** แต่ที่สำคัญในวันลอยกระทง เพื่อน ๆ อย่าทำร้ายธรรมชาติ แม่น้ำ ลำคลอง ด้วยกระทงที่เป็นพิษต่อแม่น้ำและสัตว์น้ำโดยเด็ดขาด ไม่งั้นจากการที่เราจะลอยเพื่อขอขมาพระแม่คงคา อาจจะกลายเป็นการทำลายธรรมชาติก็ได้นะ

ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, archive.clib.psu.ac.th

บทความแนะนำ