ข้อปฏิบัติ ชาวพุทธ พระ ศาสนาพุทธ ใส่บาตร

ข้อปฏิบัติในการใส่บาตร – การนิมนต์พระ อธิษฐาน รับพร การถอดรองเท้า เพื่ออะไร

Home / สาระความรู้ / ข้อปฏิบัติในการใส่บาตร – การนิมนต์พระ อธิษฐาน รับพร การถอดรองเท้า เพื่ออะไร

เชื่อว่าเราทุกคน ต้องเคยใส่บาตรกันทุกคน สำหรับวันนี้ เราได้นำข้อปฏิบัติในการ ใส่บาตรที่ถูกต้อง มาให้เพื่อนๆ ได้ศึกษา ข้อปฏิบัติในการ ใส่บาตร ที่ถูกต้องกันค่า

ข้อปฏิบัติในการใส่บาตร

1. นิมนต์พระ

หลังจากที่เราเตรียมสำรับกับข้าวเรียบร้อยแล้ว เราก็ยืนรอพระที่จะเดินบิณฑบาตผ่านมา การยืนรอพระในขั้นตอนนี้ ควรศึกษาให้ดีเสียก่อนว่า เส้นทางนี้มีพระเดินผ่านหรือไม่ ไม่ใช่ว่าไปรอบนทางสายเปลี่ยวที่ไม่มีพระเดินผ่าน คงไม่ได้ใส่กันพอดี รอซักพัก พอมีพระเดินมาก็นิมนต์ท่าน การนิมนต์ ก็ควรใช้คำว่า “นิมนต์ครับ/ค่ะท่าน” แค่นี้พระท่านก็ทราบแล้ว

ตอนเป็นพระเคยเดินบิณฑบาตที่ตลาดเขมร โยมนิมนต์ด้วยถ้อยคำอันรื่นหูว่า “ท่านเจ้าประคุณเจ้าคะ นิมนต์เจ้าค่ะ” (ใช้คำไฮโซมาก) มีอีกทีนึงโยมใช้คำว่า “นิมนต์เจ้าค่ะ พระอาจารย์” (เอ่อ โยม อาตมาเพิ่งบวชอาทิตย์เดียว)

การนิมนต์พระควรนิมนต์ด้วยความสำรวมและใช้เสียงดังพอประมาณ โยมบางคนเรียกพระด้วยเสียงอันดัง “นิ โมนน!!” (แง้ ทำไมต้องตะคอกด้วย – -“)

การนิมนต์ควรสังเกตอายุของพระด้วย ถ้าอายุน้อยกว่าเราหรือว่าเยอะกว่าไม่มากก็เรียกว่าหลวงพี่ ถ้ามีอายุหน่อยก็เรียกหลวงน้า ถ้าแก่พรรษามากก็เรียกหลวงตา หรือนอกจากนี้ก็อาจจะเรียกหลวงอา หลวงลุง หลวงปู่ฯลฯ แล้วแต่จะลำดับญาติ

อย่างฉันปีนี้อายุ 23 ปี หน้าตาค่อนข้างเด็ก แต่เคยมีโยมใช้คำว่า “นิมนต์ค่ะ หลวงลุง” ทำเอาเสีย self จนอยากสึกออกไปทำ baby face โยมบางคนคงเขินอายพระ เนื่องจากไม่ค่อยได้ใส่บาตรเท่าไร เวลาพระเดินมาก็ยื่นมือออกมาทำท่ากวักๆ ทำเหมือนพระเป็นรถเมล์

2. การจบ – การอธิฐานตอนจบ

อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเรื่องจบแล้วนะ การจบ หมายถึง การเอามาทูนไว้ที่หัวแล้วอธิษฐาน

การจบ ควรใช้เวลาอธิษฐานแต่พองาม ไม่ต้องอธิษฐานนานจนเกินไป เคยมีโยมนิมนต์ไปรับบาตร ไอเราก็เดินไปเปิดฝาบาตรรอรับ โยมก็จบอยู่ ขอบอกว่านานมากกกกกกก นานจนรู้สึกได้ นานจนอดคิดไม่ได้ว่า “โยมขออะไรเราน้า?” 

3. ถอดรองเท้า ยืนด้วยเท้าเปล่า

จริงๆ แล้ว จุดประสงค์ของการถอดรองเท้า คือ เป็นการให้ความเคารพพระสงฆ์โดยการไม่ยืนสูงกว่าท่าน เพราะเวลาพระสงฆ์บิณฑบาตจะเดินเท้าเปล่า แต่มีญาติโยมบางคนไม่เข้าใจเกี่ยวกับการถอดรองเท้าซึ่ง มีหลายประเภทเหมือนกัน เช่น

  • บางคนถอดรองเท้าอย่างเรียบร้อยแต่ยืนบนรองเท้า – -” (สูงกว่าเดิมอีก)
  • บางคนถอดรองเท้าและยืนบนพื้นจริง แต่ว่าตัวเองยืนบนฟุตบาท พระยืนบนพื้นถนนซะงั้น (หนักกว่าเก่า)

เคยมีเรื่องเล่าว่า มีโยมคนนึงยืนใส่บาตรพระ พระเห็นว่าโยมใส่รองเท้าเลยแนะนำโยมไปว่า “โยม อาตมาว่าโยมควรถอดรองเท้าใส่บาตรนะ” โยมมีสีหน้าตกกะใจ ตอบพระไปว่า “เอ่อ จะดีเหรอคะ” พระ “ไม่เป็นไรหรอกโยม” โยมก็จัดแจงถอดรองเท้า ยกขึ้นมาพร้อมกับถามพระว่า “จะให้ใส่ข้างเดียวหรือว่าสองข้างเลยคะ” อรั้ยยยย !! ท่านหมายถึงถอดรองเท้าเวลาใส่บาตร ไม่ใช่ถอดรองเท้าเอามาใส่ในบาตร อันนี้เป็นเรื่องที่หลวงน้าท่านนึงเล่าให้ฟังระหว่างฉันเพล (เรื่องขำขันขณะฉันเพล)

พระ วันเกิด อาหารคาว อาหารหวาน ใส่บาตร ใส่บาตรวันเกิด

ใส่บาตรตามวันเกิด ควรใส่อะไร (อาหารคาว-หวาน) สวดมนต์บทไหน

4. ใส่บาตร

อันนี้ถือเป็นจุดไคลแมกซ์ของการใส่บาตร สิ่งสำคัญที่ทุกคนมองข้ามก็คือ ควรดูว่าของที่นำมาใส่บาตรนั้น เสียรึเปล่า บางคนมีเจตนาอยากทำบุญดี แต่ดันไปซื้อของเสียมาใส่บาตร พระฉันไป เข้าห้องน้ำไป พวกร้านค้าก็จริงๆ บางครั้งเอาของค้างคืนมาขายเอากำไร ไม่สนใจพระเจ้า เห็นแก่ตัว หากินกับพระ ก็ฝากด้วยนะครับ เดี๋ยวทำบุญจะได้บาปเปล่าๆ

นอกจากนี้ ของที่นำมาใส่ ถ้าเพิ่งปรุงสุกเสร็จ ควรดูด้วยว่ามันร้อนมากรึเปล่า เคยมีโยมใส่แกง ร้อนมากๆๆ บาตรเกือบหล่น ทั้งนี้เพราะบาตรทำจากโลหะ นำความร้อนได้ดี ปริมาณไม่ควรมากจนเกินไป เคยมีโยมใส่บาตรด้วย “กล้วย ๓ หวี” กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ อาตมาไม่ว่า แต่นี่ใส่ “กล้วยหอม” (อันนี้เกิดกับตัวเองจริงๆ) คิดดู “กล้วยหอม ๓ หวี” อยู่ในบาตร หนักมากกกก จนอยากบอกโยมว่า “โยม อาตมาไม่ใช่ช้าง”

การใส่ก็ควรวางในบาตรด้วยอาการสำรวม โยมผู้หญิงบางคนกลัวโดนพระจัด พอถุงกับข้าวถึงแค่ปากบาตร ก็ปล่อยลงมา ตุ๊บ!! นึกว่ากาลิเลโอกลับชาติมาทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก (วางดีๆก็ได้ 55)

5. รับพร

หลังจากใส่บาตรเสร็จ พระสงฆ์ส่วนมากก็จะให้พร เราเป็นญาติโยม ก็ประนมมือรับพรกันตามระเบียบ โดยอาจยืนหรือนั่งยองๆ ก็ได้ ก้มหัวแต่พองาม

เคยมีโยมยืนประนมมือ แต่ก้มหน้ามาแทบชนพระ ห่างจากหน้าพระประมาณคืบเดียว (ไม่ต้องใกล้ชิดศาสนาขนาดนั้นก็ได้โยม ตอนนั้นให้พรเบาๆ เพราะไม่มั่นใจเรื่องกลิ่นปาก) ถ้าเป็นโยมผู้หญิงก็นั่งให้เรียบร้อย เหมาะสม ระหว่างนี้ก็อุทิศส่วนกุศลให้คนที่รัก เจ้ากรรมนายเวรและอื่นๆ ก็ว่ากันไป

ที่มา Fwd Mail.

บทความแนะนำ