ศาสตราจารย์ ดร. พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์เล็กใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10)
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ศาสตราจารย์ ดร. พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต
ที่มาของพระนาม..
พระนามสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้รับพระราชทานจากพระราชชนก (ในหลวงรัชกาลที่ 9 ) เนื่องจากวันที่ทูลกระหม่อมประสูติ เป็นวันที่พระราชชนกพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จึงทรงได้รับพระราชทานพระนาม เพื่อเป็นที่ระลึกถึงวันนั้นว่า “จุฬาภรณ” เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มีพระธิดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์
พระองค์ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ปัจจุบันทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
— การศึกษา
ระดับชั้นเตรียมประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากโรงเรียนจิตรลดา
วิทยาศาสตร์บัณฑิต (สาขาวิชาเคมี) เกียรตินิยมอันดับ 1 จากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตรา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงได้รับรางวัลเรียนดีตลอดระยะเวลา 4 ปีการศึกษา และทรงได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์สาขาอินทรีย์เคมีด้วย
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาเคมีอินทรีย์) จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนยอดเยี่ยม เมื่อมีพระดำริถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลจึงอนุมัติให้ทรงเข้าศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตได้ โดยไม่ต้องผ่านมหาบัณฑิตก่อน
ทรงศึกษาด้วยพระวิริยะอุตสาหะใฝ่พระทัยในการศึกษาเล่าเรียนเป็นที่ยิ่ง ทั้งที่มีพระราชกิจในฐานะสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็ยังเสด็จพระดำเนินไปทรงพระอักษรร่วมกับพระสหายในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทรงงานในห้องแล็บด้วยพระองค์เองอย่างไม่ทรงท้อถอย แม้จะทรงแพ้สารเคมีก็ตามโดยทรงทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “Part I: Constituents of Boesenbergia pandurata (yellow rhizome) (Zingiberaceae). Part II: Additions of lithio chloromethyl phenyl sulfoxide to aldimines and alpha,beta-unsaturated compounds” และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หลักสูตรแบบไม่มีหน่วยกิตรายวิชา)ในปีการศึกษา 2549 จากผลงานวิจัยเรื่อง “Molecular Genetic Studies and Preliminary Culture Experiments of Scallops Bivalve: Pectinidae) in Thailand”
Doctor of Philosophy (Toxicology) จาก มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ระดับหลังปริญญาเอก (Post Doctoral) ณมหาวิทยาลัยอูล์ม ประเทศเยอรมัน เรื่อง Synthesis of Oligonucleotides Using Polymer Support and Their Applications in Genetic Engineering
ปัจจุบัน ทรงศึกษาในระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2560
— พระกรณียกิจ
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้น เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและพัฒนาบุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งระดมสติปัญญาของนักวิชาการที่มีศักยภาพและวิทยาการที่ก้าว หน้า เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนตลอดไป ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และให้การศึกษาและฝึกอบรมอย่างครบวงจร ประกอบกับแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้ขยายภารกิจด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาที่มีความต้องการสูงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีการเสนอโครงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๘
และจากการที่ทรงรับเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติ การเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็งด้วยพระองค์เอง ประกอบกับทรงพบว่าประชาชนชาวไทยเป็นโรคมะเร็งเพิ่ม ในอัตราที่สูงมากขึ้น จึงทรงก่อตั้งศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็งขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิต ที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม และให้เป็นศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์ชำนาญการวินิจฉัยมะเร็งที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุด ในภูมิภาค โดยมีงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากลรองรับ
ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ
นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ(Cyclotron and PET Scan) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่สามารถติดตาม ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์ การทำหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆ ในระดับเซลล์เมตาบอลิสม์ ที่สามารถให้รายละเอียดการวินิจฉัยโรคและระยะของโรคได้ดีกว่าการตรวจอย่างอื่น ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โรคทางสมอง และหัวใจ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและมีพระปณิธานแน่วแน่ในการสร้างเสริมความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือ ฝึกอบรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ
จากผลของการทรงงานอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในแวดวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติ คณะกรรมการรางวัลฮอลแลนเดอร์ จึงมีมติเอกฉันท์ให้ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็งและพิษ วิทยาสิ่งแวดล้อม และทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับรางวัล EMS Hollaender International Award ประจำ ปี ค.ศ. 2002 และในปีพ.ศ. ๒๕๔๗ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (IUCN The World Conservation Union) สวิตเซอร์แลนด์ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก อีกด้วย
นอกจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะทรงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ แล้ว พระองค์ยังทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกิจการด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย งานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การจัดการป่าไม้ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลรวมไปถึงงานส่งเสริมสถานภาพทางสังคมของสตรีไทย อีกด้วย
การเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ทรงมีภารกิจมากกว่าคนสามัญทั่วไป แต่พระองค์ก็ทรงสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่างๆให้สำเร็จด้วยดี และที่สำคัญงานทั้งหมดของพระองค์ล้วนเป็นผลจากความมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์สูง สุดต่อมวลมนุษยชาติ ความรัก ความยกย่อง และความศรัทธาที่พสกนิกรมีต่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จึงเกิดขึ้นด้วยพระกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์ด้วย พระเมตตาธรรมและพระจริยาวัตร อันงดงามของพระองค์โดยแท้
งานประมงน้อมเกล้าฯ
งานประมงน้อมเกล้าฯ เป็นกิจกรรมการแสดงนิทรรศการของการประมงในประเทศไทย โดยเน้นไปที่ปลาสวยงามเป็นหลัก จัดขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ทรงให้กรมประมง ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ณ บริเวณสวนอัมพร เพื่อน้อมระลลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงมีต่อวงการแพทย์ และการประมง และเพื่อหารายได้สมทบทุนสร้าง ตึกสยามมินทร์ เนื่องในโอกาสที่โรงพยาบาลศิริราชสถาปนาครบรอบ 100 ปี
ต่อจากนั้นทรงมีรับสั่งให้จัดงาน “วันประมงน้อมเกล้าฯ” ขึ้นทุกปี และคณะกรรมการจัดงานมีความเห็นพ้องว่าให้นำเงินรายได้จากการจัดงานทุกปี ขึ้นทูลเกล้าฯ สมทบทุนมูลนิธิจุฬาภรณ์ ซึ่งทรงตั้งขึ้นเพื่อศึกษางานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในการนี้ คณะกรรมการจัดงานได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดงานและจัดตู้ปลาสวยงาม เพื่อพระราชทานแก่ผู้มีจิตศรัทธาถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย และพระราชทานถ้วยรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดในกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย
มูลนิธิ หน่วยงาน และโครงการในพระอุปถัมภ์
- มูลนิธิจุฬาภรณ์
- มูลนิธิเทียนส่องใจเพื่อคนไข้โรคลมชัก
- มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน
- มูลนิธิรักษาพยาบาลสัตว์ป่วยอนาถา โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- โครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร
- โครงการหารายได้เพื่อสัตว์ป่วยอนาถา
- โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม ๐๔ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
- โรงเรียนมัธยมศึกษาจุฬาภรณ์
- สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
- สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย[5]
- สมาคมเคมีแห่งประเทศไทย
- กองทุนจุฬาภรณอุดรธานี
— รางวัลพระเกียรติคุณ
- องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองคำอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (UNESCO’s gold Einstein medal) เหรียญเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่เป็นบุคคลตัวอย่างทางวิชาการและการส่ง เสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ทรงเป็นบุคคลที่ ๓ ของโลก และเป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลนี้
- สมาคม Environmental Mutagen Society (EMS) แห่งสหรัฐอเมริกา ทูลเกล้ารางวัล EMS Alexander Hollaender International Fellow Award ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลก ในสาขาสารเคมีก่อให้เกิดโรคมะเร็ง พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และเคมีด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ตลอดจนการอุทิศพระองค์กับงานวิจัยและวิชาการ ก่อให้เกิดการส่งเสริมและการเผยแพร่ความรู้ในระดับภูมิภาคและในระดับนานา ชาติ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
- Tree of Learning Award ในฐานะที่ทรงมีผลงานการฝึกอบรมบุคลากรทางด้านสิ่งแวดล้อมระดับโล
- รางวัลเกียรติยศเหรียญทองเชิดชูเกียรติ CISAC Gold Medal Award ในฐานะทรงสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่มวลชนทั้งในและ ต่างประเทศ อาทิ การแสดงคอนเสิร์ตเพื่อการกุศล และการแสดงดนตรีและวัฒนธรรมสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (IUCN The World Conservation Union) สวิตเซอร์แลนด์ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก
- ทรงรับการทูลเกล้าถวายรางวัล IFCS Special Recognition Award ณ กรุงบูดาเปสต์ สาธารณรัฐฮังการี จาก Intergovernmental Forum on Chemical Safety (IFCS) ในพิธีเปิดการประชุมสมัยที่ ๕ ของเวทีการประชุมระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความปลอดภัยของสารเคมี เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นรางวัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยของสารเคมีแก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศ ในภูมิภาค
- ทรงเป็นชาวเอเชียพระองค์แรก ที่ได้รับเชิญให้เป็น Honorary Fellow ของ The Royal Society of Chemistry ประเทศอังกฤษ
- รางวัล Nagoya Medal Special Award เป็นรางวัลที่มอบให้บุคคลทางด้านวิทยาศาสตร์ผู้มีบทบาทสำคัญและทำคุณ ประโยชน์อย่างสูงแก่วงการอินทรีย์เคมี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลดังกล่าว ในการประชุม 1st International Conference of Cutting-Edge Organic Chemistry in Asia จากมหาวิทยาลัย Nagoya ณ เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๔๔๙
- รางวัลเหรียญทอง Albert Hofmann Centennial Gold Medal Award เป็นรางวัลสำหรับผู้มีผลงานวิจัยดีเด่นด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้เป็นพระองค์แรกของโลก เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๐ ณ สถาบันอินทรีย์เคมี มหาวิทยาลัยซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในฐานะที่ทรงมีพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และทรงอุทิศพระองค์ให้แก่วงการวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยด้านอินทรีย์เคมี
สถานที่ พรรณพืชและพันธุ์สัตว์อันเนื่องด้วยพระนาม
- อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
- โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ค่ายจุฬาภรณ์ จังหวัดนราธิวาส
- อาคารจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- อาคารจุฬาภรณ์พิศาลศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- อาคารจุฬาภรณการุณยรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 แห่งทั่วประเทศ
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 1 อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 2 อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 3 อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 4 อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 5 อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 6 อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 7 อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 8 อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
- หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 อำเภอสุคีริน จังหวัดนราธิวาส
การแพทย์ และการสาธารณสุข
- โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง
- ศูนย์แพทย์ภัยพิบัติและฉุกเฉินเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
สถาบันการศึกษา
- ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 โรงทั่วประเทศ เป็นโรงเรียนจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ - โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
- โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
- โรงเรียนมัธยมศึกษาจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- โรงเรียนจุฬาภรณ์พิชญาคาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
พรรณพืช
- ดวงตราไปรษณียากรชุด กล้วยไม้พระนาม Phalaenopsis ‘Princess Chulabhorn’
- กล้วยไม้ผสมตระกูล Phalaenopsis ซึ่งรัฐบาลศรีลังกาได้น้อมเกล้าฯ ในเดือนสิงหาคม 2542 โดยเป็นผลงานการผสมพันธุ์ของสวนพฤกษศาสตร์เปราเดนนิยา (Royal Botanical Garden Peradeniya) ประเทศศรีลังกา เป็นลูกผสมของ Phalaenopsis ‘Rose Miva’ กับ Phalaenopsis ‘Kandy Queen’ และได้ขอพระราชทานพระอนุญาตอัญเชิญพระนามเป็นชื่อของกล้วยไม้พันธุ์ใหม่นี้ ลักษณะดอกเป็นสีขาวโดยมีปลายดอกเป็นสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
พันธุ์สัตว์
- ปูทูลกระหม่อม (Thaipotamon chulabhorn Naiyanetr, 1993)
- ปลาซิวเจ้าฟ้า (Amblypharyngodon chulabhornae Vidthayanon & Kottelat, 1990)
- ปลาค้อเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ (Physoschistura chulabhornae Suvarnaraksha, 2013)