นักข่าว สื่อมวลชน

จรรยาบรรณสื่อคืออะไร มีอะไรบ้าง? เรื่องน่ารู้สำหรับคนทำงาน ด้านสื่อสารมวลชน

Home / เรื่องทั่วไป / จรรยาบรรณสื่อคืออะไร มีอะไรบ้าง? เรื่องน่ารู้สำหรับคนทำงาน ด้านสื่อสารมวลชน

ในปัจจุบันช่องทางการสื่อสารมีให้เลือกหลากหลายทาง และเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็เป็นสื่อได้ เพียงแค่มีพื้นที่ social media และสำหรับใครที่อยากเป็นนักสื่อสารมวลชน แต่ไม่ได้เรียนสายนิเทศ วารสารมาโดยตรง ก็อาจจะไม่คุ้นชินกับจรรยาบรรณสื่อเท่าไหร่นัก เพราะการสื่อสารไม่ใช่เรื่องของการนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ และถูกต้องเพียงเท่านั้น แต่ยังมีประเด็นที่อ่อนไหวอื่นๆ อีกมาก เราจึงได้รวบรวมจรรยาบรรณสื่อข้อที่น่าสนใจมาฝากกัน

จรรยาบรรณสื่อคืออะไร มีอะไรบ้าง?

จรรยาบรรณของสื่อมวลชน หมายถึงหลักคุณธรรมของผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่ผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชนให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมสูงสุด

จรรยาบรรณสื่อสากล 13 ข้อ ที่น่าสนใจ

และเราได้เลือกตัวอย่าง จรรยาบรรณสื่อสากลที่น่าสนใจมาทั้งหมด 13 ข้อ ดังนี้

1. ประพฤติ ปฏิบัติหน้าที่ให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม

2. ไม่สร้างข่าว หรือเขียนข้อมูลขึ้นมาเอง

3. ข่าว และข้อมูลที่นำเสนอทั้งหมดต้องเป็นความจริง

4. ไม่นำเสนอข้อมูล แล้วไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น

5. นำเสนอข่าว ข้อมูลโดยให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

6. ไม่ปิดบังอำพรางข่าวที่ควรนำเสนอ

7. ไม่ขายข่าว เพื่อเอาไปใช้หาเงิน ในทางไม่ชอบ

8. ไม่เข้าร่วมกับพรรคการเมืองฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง

10. นำเสนอข่าว และข้อมูลสำหรับคนทุกภาคส่วนในสังคม ไม่ใช่แค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ

11. ไม่เหยียดเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ของบุคคล

12. พร้อมที่จะแก้ไขความผิดพลาดเสมอ

13. การเสนอข่าว และข้อมูลต้องคำนึงถึงว่ายังมีเยาวชนที่จะได้รับรู้เรื่องราวเหล่านั้นอยู่ด้วย

ถ้าสื่อไม่มีความโปร่งใส สังคมก็พร้อมตรวจสอบ

แล้วถ้าสื่อไม่ปฏิบัติตามแนวทางจรรยาบรรณที่วางเอาไว้? สังคมก็พร้อมตรวจสอบการทำงานของสื่อเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลแบบนี้ ข้อมูลมีที่มาจากหลายแหล่ง ผู้รับสารสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลได้จากหลายหลายช่องทาง ถ้าสื่อไหนทำงานไม่ดีก็มีสิทธิ์โดนแบนจากคนดู หรือคนอ่านเหมือนกัน 

ตัวอย่างการแบนสื่อ กรณีศึกษาเนชั่นทีวี

จากกรณีการนำเสนอข่าวของช่องเนชั่นทีวี ที่ปล่อยคลิปเสียงของนักการเมืองออกมา แต่หลายคนก็ออกมาบอกว่านั่นเป็นคลิปเสียงตัดต่อ และก็เกิดคำถามกับการทำงานของสื่อว่า สื่อควรกลั่นกรองข้อมูลให้น่าเชื่อถือก่อนนำเสนอหรือไม่ จากนั้นกลุ่มคนส่วนหนึ่งก็ออกมาเคลื่อนไหว แสดงความไม่พอใจต่อการทำงานของนักข่าว จนทำให้เกิดกระแส #เนชั่นโป๊ะแตก #ถอนโฆษณาเนชั่น

เนื้อหาของคลิปเสียงที่เป็นประเด็นอยู่ตอนนี้ คือคลิปเสียงที่ทำให้เกิดความเข้าใจว่าเป็นเสียงของนายธนาธร หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ คุยกับนายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนายธนาธรก็ออกมาปฏิเสธว่า เสียงในคลิปไม่ใช่ตนเอง และชาวเน็ตหลายคนก็ออกมายืนยันว่าคลิปเสียงนั้นเป็นคลิปตัดต่อ กลายเป็นว่า ความเชื่อใจของคนดูที่มีต่อข่าวช่องนี้ก็น่าจะลดน้อยลง นี่ก็เป็นผลจากการทำงานที่ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของสื่อมวลชน

ข้อความบางส่วนจาก facebook ของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

ที่มา : www.thairath.co.th , วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า

บทความแนะนำ