สถานที่สำคัญ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ในหลวงรัชกาลที่ 9

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

Home / สาระความรู้ / หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ คือ สถานที่จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจนานัปการ ที่พระองค์ทรงปฏิบัติบำเพ็ญด้วยพระวิริยอุตสาหะ และพระปรีชาสามารถ เพื่อพระราชทานความผาสุกร่มเย็นแก่พสกนิกรทั่วประเทศ

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ

นิทรรศการประกอบด้วยเอกสารจดหมายเหตุ ภาพถ่าย สื่อโสตทัศนศึกษา รวมทั้งการจำลองบรรยากาศที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริง รวม 27 หัวข้อ จัดแสดงในอาคารจัดแสดงนิทรรศการ 2 อาคาร คือ อาคาร 3 และอาคาร 4

อาคารส่วนที่ 3 ชั้นที่ 1 จัดแสดง

“ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ” เป็นการนำเสนอวีดิทัศน์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ

“พสกนิกรจงรักภักดี” เป็นการจำลองบรรยากาศบ้านเรือน ร้านค้าในยุคสมัยต่างๆ และการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของประชาชนในแต่ละยุคสมัย มีการประดับพระบรมฉายาลักษณ์ ธงชาติและธงเฉลิมพระเกียรติ

“ดินแดนเสด็จพระบรมราชสมภพ” แสดงพระราชประวัติเตั้งแต่เมื่อครั้นเสด็จพระบรมราชสมภพ ณ รัฐเมสสาชูเขตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

“พระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 7” จัดแสดงเกี่ยวกับพระเมตตาของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอยยิกาเจ้า ที่ทรงมีต่อเจ้านายราชสกุลมหิดล

อาคารส่วนที่ 3 ชั้นที่ 2 จัดแสดง

“ณ วังสระปทุม” ซึ่งจัดแสดงเหตุการณ์เมื่อพ.ศ.2471 ที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงพาครอบครัวมหิดลเสด็จนิวัตประเทศไทย

“ขณะเยาว์พระชันษา ณ วังสระปทุม” จัดแสดงพระราชจริยวัตรในวังสระปทุม และการอภิบาลเลี้ยงดูอย่างดีจากสมเด็จพระบรมราชชนนี

“พระตำหนักในแดนไกล” โดยจัดแสดงเหตุการณ์ร.8 เสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์

“ตามเสด็จนิวัติพระนคร” จัดแสดงพระราชกรณียกิจต่างๆของรัชกาลที่ 8 โดยมีพระอนุชาโดยเสด็จด้วยเสมอ จนสวรรคต

“เถลิงถวัลยราชสมบัติ” จัดแสดงเหตุการณ์การเสด็จขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 9 พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีทรงพระผนวช

อาคารส่วนที่ 3 ชั้นที่ 3 จัดแสดง

“ดำรงราชย์ ดำรงรัฐ” จัดแสดงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีความสำคัญและมีความผูกพันกับสังคมไทยนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

“พระราชพิธีสำคัญในรัชกาล” ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับความหมายความสำคัญ รูปแบบและขั้นตอนของพระราชพิธีสำคัญในรัชกาล

อาคารส่วนที่ 4 ประกอบไปด้วย

“ศูนย์แห่งการทดลอง ศึกษา และพัฒนา” จัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ขณะประทับและทรงงานภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

“พระราชปณิธานอันมั่นคง” จัดแสดงจุดเริ่มต้นโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

“โครงการพระราชดำริฝนหลวง” จัดแสดงพัฒนาการของโครงการฝนหลวงตั้งแต่พระราชทานพระราชดำริเมื่อ พ.ศ.2498 จนปัจจุบัน

“การบริหารจัดการน้ำ” อันแสดงพระราชกรณียกิจแนวพระราชดำริในการบริหารจัดการน้ำ

“ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง” แสดงแบบจำลองทฤษฎีใหม่ในการบริหารจัดการดินและน้ำเพื่อการเกษตร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

“พระปรีชาสามารถด้านศิลปะ” จัดแสดงพระปรีชาสามารถด้านจิตกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย หัตถกรรม ดนตรี วรรณศิลป์

“พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม”

* นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดแสดง เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริ เท่านั้น

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

  • กรมศิลปากรได้ทำการจัดตั้ง หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2539 เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เป็นสิ่งอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ
  • ในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชสมบัติครบ 50 ปี
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”
  • ตั้งอยู่บนพื้นที่ 75 ไร่
  • ด้วยงบประมาณ ทั้งสิ้น 720.4 ล้านบาท
  • อาคารก่อสร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรม ไทยประยุกต์
  • มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคาร 4 ส่วน มีทางเชื่อมและลานเอนกประสงค์ รวมพื้นที่ 20,000 ตรม.
  • อาคาร 1 อาคารเก็บเอกสารจดหมายเหตุ เป็นอาคาร 9 ชั้น มีพื้นที่ 6,000 ตรม.
  • อาคาร 2 อาคารให้บริการค้นคว้า มีพื้นที่ 4,500 ตารางเมตร
  • อาคาร 3-4 อาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริมีพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร
  • ลานเอนกประสงค์ เป็นส่วนจัดกิจกรรม มีพื้นที่ 3,500 ตารางเมตร

วันและเวลาเปิด-ปิด

สามารถเข้าชมนิทรรศการได้ทุกวัน จันทร์-ศุกร์
ปิดทำการ วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.

ที่อยู่: ถนนเลียบคลองห้า ตำบลคลองห้า ตำบล คลองห้า อำเภอ คลองหลวง ปทุมธานี 12120

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร 02-9027940 , 02-9027940

ที่มา กรมศิลปากร http://www.finearts.go.th

แผนที่ การเดินทาง

แผนที่ การเดินทาง

บทความแนะนำ