พระนาม พระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ พระเจ้าอยู่หัว ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี สมัยรัตนโกสินทร์ ในหลวงรัชกาลที่ 10 ในหลวงรัชกาลที่ 9

พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 1-10 (ราชวงศ์จักรี สมัยรัตนโกสินทร์)

Home / สาระความรู้ / พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 1-10 (ราชวงศ์จักรี สมัยรัตนโกสินทร์)

พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ไทย – วันนี้แคมปัส-สตาร์ มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ ชื่อหรือ พระนามของในหลวง (พระปรมาภิไธย) ตั้งแต่รัชกาลที่ 1- 10 มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเรียกกันว่า “ในหลวง” หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า พระนามเต็มของในหลวงแต่ละรัชกาลนั้นมีพระนามอะไรบ้าง

พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 1-10

รัชกาลที่ 1

พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ไทย

รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัยสมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรปรมาธิเบศร โลกเชฎวิสุทธิ์ รัตนมงกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว

คลิปจาก seeme.me/ch/pacificinspiration

รัชกาลที่ 1 ใช้อักษรย่อว่า “จปร” ย่อมาจาก “มหาจักรีบรมนาถ ปรมราชาธิราช” | ครองราชย์ 27 ปี (พระชนมายุ 73 พรรษา) รัชกาลที่ 1 : พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 – สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352

รัชกาลที่ 2

พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 2

รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันตอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศโลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 2 ใช้อักษรย่อว่า “อปร” ย่อมาจาก “มหาอิศรสุนทร ปรมราชาธิราช” | ครองราชย์ 15 ปี (พระชนมายุ 57 พรรษา)

รัชกาลที่ 3

รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร์ สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 3 ใช้อักษรย่อว่า “จปร” ย่อมาจาก “มหาเจษฎาบดินทร ปรมราชาธิราช” | ครองราชย์ 27 ปี (พระชนมายุ 64 พรรษา)

บทความ ชื่อ หรือ พระปรมาภิไธย – พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ไทย

รัชกาลที่ 4

รัชกาลที่ 4

รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฎิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษสุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลกสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดชอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดมบรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 4 ใช้อักษรย่อว่า “มปร” ย่อมาจาก “มหามงกุฎ ปรมราชาธิราช” | ครองราชย์ 17 ปี (พระชนมายุ 63 พรรษา)

รัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบามสมเด็จพระปรมิทรมหาจุฬสลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรุฒมพงษ์บรพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษฏ์ ธัญลักษณวิจิตโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภ ผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรพรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถเปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศ มโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรามหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติ อาชาวศรัย พุทธาธิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตรพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 5 ใช้อักษรย่อว่า “จปร” ย่อมาจาก “มหาจุฬาลงกรณ ปรมราชาธิราช” | ครองราชย์ 42 ปี (พระชนมายุ 57 พรรษา)

รัชกาลที่ 6

รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิรวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานาถมหาสมมตวงศ์ อดิศัยพงศ์วิมลรัตน์วรขัตติราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรสันตติวงศ์วิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหาร อดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพวงค์ มหาชโนตมางตประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมาลย์ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยวิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ บริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุดสมบัติ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศลประพนธปรีชา มัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินค รวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธรบรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษฏาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัยพุทธาธิไตรรัตนสรณารักษ์อดุลยศักดิ์ อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 6 ใช้อักษรย่อว่า “วปร” ย่อมาจาก “มหาวชิราวุธ ปรมราชาธิราช” | ครองราชย์ 15 ปี (พระชนมายุ 45 พรรษา)

รัชกาลที่ 7

พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียามหาราชรวิวงศ์ อสัมภินพงศพีระกษัตรบุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถจุฬาลงกรณราชวรางกูร มหมกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธ อุต์กฤษฎานิบุณย์อดุลยฤษฎาภินิหาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานทสนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ์ มงคลลคนเนมาหวัยสุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชาวุธ วิชัยยุทธศาสตร์โกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทรประวรศาสโนปสุดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฏโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิศิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสยามินทรมเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาตอาชาวศรัย พุทธาธิไตรรัตนวิศิษฎศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฏราธิบดินทร์ ประมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 7 ใช้อักษรย่อว่า “ปปร” ย่อมาจาก “มหาประชาธิปก ปรมราชาธิราช” | ครองราชย์ 9 ปี  (พระชนมายุ 47 พรรษา)

รัชกาลที่ 8

พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

พระบาทสมเด็จพระปรเมนมหา อานันทมหิดลสกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙ ทรงได้รับการสถาปนาพระบรมอัฐิ เฉลิมพระนามเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลอดุลยเดช วิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดมจักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิการรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฎศักตอัครนเรศรามาธิบดี พระอัฐมราะบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร

รัชกาลที่ 8 ใช้อักษรย่อว่า “อปร” ย่อมาจาก “มหาอานันทมหิดล ปรมราชาธิราช” | ครองราชย์ 12 ปี (พระชนมายุ 20 พรรษา)

รัชกาลที่ 9

พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

รัชกาลที่ 9 ใช้อักษรย่อว่า “ภปร” ย่อมาจาก “มหาภูมิพลอดุลยเดช ปรมราชาธิราช” | ครองราชย์ 70 ปี (พระชนมายุ 88 พรรษา)

รัชกาลที่ 10

พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 10 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

รัชกาลที่ 10 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์อดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ่านออกเสียงว่า [พฺระ-บาด-สม-เด็ด-พฺระ-ปะ-ระ-เมน-ทฺะ-รา-มา-ทิบ-บอ-ดี-สี-สิน-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-มะ-หิ-สอน-พู-มิ-พน-ราด-ชะ-วะ-ราง-กูน กิ-ติ-สิ-ริ-สม-บูน-อะ-ดุน-ยะ-เดด สะ-หยาม-มิน-ทรา-ทิ-เบด-ราด-วะ-โร-ดม บอ-รม-มะ-นาด-ถะ-บอ-พิด พฺระ-วะ-ชิ-ระ-เกฺล้า-เจ้า-อยู่-หัว]

– –

รัชกาลที่ 10 ใช้อักษรย่อว่า “วปร” ย่อมาจาก “มหาวชิราลงกรณ ปรมราชาธิราช” | ครองราชย์ – ปัจจุบัน

พระนามก่อนหน้า : สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

พระนามเดิมของพระองค์ เดิมว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรง สุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร”

เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นทรงราชย์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

. . . . .

พระนามเต็ม ร.10 เรียกได้ตั้งแต่ 2 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไป

(สนช. กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นทรงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามกฎมณเฑียรบาล เมื่อเวลาประมาณ 11:00 น. วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2559) และสำนักพระราชวังออกหมายกำหนดการพระราชพิธีปัญญาสมวาร ร.9 (เป็นทางการแล้ว) พร้อมประกาศให้เรียกพระนามใหม่ ร.10 “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” ได้ตั้งแต่ 2 ธ.ค. 2559 นี้ เป็นต้นไป อ่านต่อ >> http://news.mthai.com

ชื่อของพระมหากษัตริย์ไทย 1-10

พระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์ไทย)

พระปรมาภิไธย (พระ+ปรม+อภิไธย แปลว่า ชื่ออันประเสริฐยิ่ง) หมายถึง พระนามของพระมหากษัตริย์ราชเจ้า ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ หลังจากที่ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 1 และใช้มาจนถึงพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน

ลำดับการถวายพระปรมาภิไธย : โดยพระมหากษัตริย์จะทรงโปรดให้เฉลิมพระปรมาภิไธยแด่พระองค์เอง และทรงเฉลิมพระปรมาภิไธย ถวายแด่ สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช* โดยรัชกาลเลขคี่จะใช้คำว่า “ปรมินทร” ส่วนรัชกาลเลขคู่จะใช้คำว่า “ปรเมนทร” ซึ่งเป็นพระราชนิยมที่เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 4

*สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช  หมายถึง พระมหากษัตริย์และพระบรมราชินีในราชวงศ์ก่อนหน้า และสมเด็จพระบรมราชบูรพการี คือ พระมหากษัตริย์และพระบรมราชินีรัชกาลก่อนแห่งราชวงศ์ปัจจุบัน

การลงพระปรมาภิไธย ในเอกสารราชการ

การทรงลงพระปรมาภิไธยในเอกสารสำคัญต่างๆ ของทางราชการ มีรูปแบบของแต่ละรัชกาล ดังนี้

รัชกาลที่ 1: มหาจักรีบรมนาถ ป.ร.
รัชกาลที่ 2: มหาอิศรสุนทร ป.ร.
รัชกาลที่ 3: มหาเจษฎาบดินทร ป.ร.
รัชกาลที่ 4: มงกุฎ ป.ร. หรือ สมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม
รัชกาลที่ 5: จุฬาลงกรณ์ ป.ร. หรือ สยามมินทร์

รัชกาลที่ 6: วชิราวุธ ป.ร. หรือ ราม วชิราวุธ หรือ ราม ร
รัชกาลที่ 7: ประชาธิปก ป.ร.
รัชกาลที่ 8: อานันทมหิดล
รัชกาลที่ 9: ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
รัชกาลทึ่ 10: มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ชื่อรัชกาลทั้งสิบรัชกาล (พระนาม) เรียบเรียงโดย www.campus-star.com

แหล่งที่มาน่าสนใจ รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย , pantip.com , พระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์ไทย)

. . . . .

บทความแนะนำ