ราชินิกุลบุนนาค นับว่าเป็นสกุลที่เก่าแก่ บรรพชนของสกุลบุนนาคสืบเชื้อสายมาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) มีนามว่า เฉกอะหฺมัด ที่เข้ามารับราชการในกรุงพระนครศรีอยุธยา ต้นตระกูลบุนนาค คือ เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) ชาวเปอร์เซียที่เดินทางเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
บุคคลในสายสกุล บุนนาค ที่รับราชการและมีชื่อเสียง
– – – – – – – –
ประวัติโดยย่อ เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)
เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เป็นมุสลิมชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺ (สิบสองอิมาม) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2086 ณ ตำบลกุนี ในเมืองอัสตะราบาด ซึ่งปัจจุบันคือเมืองกอร์กัน ตั้งอยู่แถบทะเลแคสเปียน ในประเทศอิหร่าน
ในยุคสมัยที่ท่านเฉกอะหมัดเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยา เป็นยุคที่โปรตุเกสเรืองอำนาจทางทะเลในแถบมหาสมุทรอินเดีย ทำให้พ่อค้าชาวพื้นเมืองต้องใช้เส้นทางขนส่งสินค้าทางบกเป็นช่วง ๆ เส้นทางที่เป็นไปได้ในการเดินทางจากอิหร่านเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น คือเดินเท้าจากเมืองแอสตะราบาดเข้าสู่แคว้นคุชราตในอินเดียตะวันตก
จากนั้นเดินเท้าตัดข้ามประเทศอินเดียมายังฝั่งตะวันออกทางด้านโจฬมณฑล และลงเรือข้ามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันมายังเมืองตะนาวศรีหรือเมืองมะริด แล้วจึงเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ปลายแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เฉกอะหมัดและมหฺหมัดสะอิด พร้อมบริวารได้เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ตั้งบ้านเรือนและห้างร้านค้าขาย อยู่ที่ตำบลท่ากายี
ท่านค้าขายจนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐีใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา ภายหลังมหฺหมัดสะอิดได้เดินทางกลับเปอร์เซีย ท่านสมรสกับท่านเชย มีบุตร 2 คนและธิดา 1 คน ได้แก่
1. เป็นชายชื่อ ชื่น ซึ่งต่อมาคือ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) สมุหนายก ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง
2. เป็นชายชื่อ ชม ถึงแก่กรรมแต่เมื่อยังเป็นหนุ่ม
3. เป็นหญิงชื่อ ชี เป็นสนมเอกในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ภายหลังแต่งงานกับพระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด) บุตรของมหฺหมัดสะอิด
ภาพบุตรและหลานของท่านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ อาทิเช่น
แถวหลังจากซ้าย คนที่ 3. เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร)
แถวกลางจากซ้าย คนที่ 1. พระยาราชานุประพันธ์ (สุดใจ) / คนที่ 7. พระยาราชพงศานุรักษ์ (ชม) / คนที่ 10. พระยาประกรวงศ์ (ชาย)
แถวหน้าจากซ้าย คนที่ 7. พระยาศรีธรรมสาส์น (เชย)/ คนที่ 12. พระยาราชานุวงศ์ (เล็ก)
ในปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้า ฯ ให้ท่านเฉกอะหมัดซึ่งมีอายุ 87 ปี เป็นเจ้าพระยาบวรราชนายกจางวางกรมมหาดไทย ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ. 2174 รวมอายุ 88 ปี ท่านเฉกอะหมัดนี้ท่านเป็นต้นสกุลของไทยมุสลิมหลายนามสกุลและสกุลบุนนาค เป็นต้นสกุลของเจ้าพระยาหลายท่านในระยะเวลาต่อมา
อาทิ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) เจ้าพระยาเพชรพิไชย (ใจ) และมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ถึง 3 ท่าน คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ)สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รวมทั้งเป็นต้นสกุลของสายสกุลที่มีความสำคัญต่อการปกครองประเทศตลอดมา สถานที่ฝังศพของท่านเฉกอะหมัด ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
บุคคลในสายสกุล บุนนาค ที่รับราชการและมีชื่อเสียง
ภาพ : พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
พระมเหสี
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 (สืบสายสกุลจาก เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ทางพระชนนี)
บาทบริกจา
(บาทบริกจา คือ ภรรยาที่เป็นสามัญชนของพระมหากษัตริย์ กรมพระราชวังบวร และเจ้าฟ้า คำอื่น ๆ ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา, อรรคบริจา, หรือตัดใช้ว่า บริจาริก ก็มี.
- เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5) (บุตรี เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค))
- เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5 (บุตรี เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค))
- เจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5
- เจ้าจอมโหมด ในรัชกาลที่ 5 (บุตรี พระยาอภัยราชสงคราม (นกยูง บุนนาค))
- เจ้าจอมจีน ในรัชกาลที่ 5
- เจ้าจอมอ้น ในรัชกาลที่ 5 (บุตรี เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค))
- เจ้าจอมอบ ในรัชกาลที่ 5 (บุตรี พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค))
- เจ้าจอมพิศว์ ในรัชกาลที่ 5 (บุตรี เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค))
- เจ้าจอมเอี่ยม ในรัชกาลที่ 5 (บุตรี เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค))
- เจ้าจอมเอิบ ในรัชกาลที่ 5 (บุตรี เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค))
- เจ้าจอมอาบ ในรัชกาลที่ 5 (บุตรี เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค))
- เจ้าจอมเอื้อน ในรัชกาลที่ 5 (บุตรี เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค))
- เจ้าจอมแส ในรัชกาลที่ 5 (บุตรี เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค))
- เจ้าจอมแก้ว ในรัชกาลที่ 5 (บุตรี เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค))
- เจ้าจอมเลียม ในรัชกาลที่ 5
- เจ้าจอมแถม ในรัชกาลที่ 5
- เจ้าจอมเชย ในรัชกาลที่ 5
- เจ้าจอมเหลียน ในรัชกาลที่ 5
- เจ้าจอมวอน ในรัชกาลที่ 5
- เจ้าจอมเยื้อน ในรัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถ่ายพระราชทาน เจ้าจอมเอิบ พร้อมด้วยบิดา มารดาและญาติพี่น้อง
(นั่ง) เจ้าจอมเอิบ, ท่านผู้หญิงสุรพันธ์พิสุทธิ์ (อู่ บุนนาค), เจ้าจอมมารดาอ่อน, เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และ เจ้าจอมเอี่ยม
(ยืน) เจ้าจอมอาบ, พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค) และ เจ้าจอมเอื้อน
สมเด็จเจ้าพระยา, เจ้าพระยา
- สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
- สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)
- เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)
- สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)
- เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
- เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)
- เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)
- เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)
- เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร)
อ้างอิงข้อมูลจาก : wikipedia เจ้าพระยาบวรราชนายก_(เฉกอะหมัด), wiki/สกุลบุนนาค, bunnag