บริจาค บริจาคร่างกาย

ขั้นตอนการบริจาคร่างกาย เป็น “อาจารย์ใหญ่” ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ม.มหิดล

Home / สาระความรู้ / ขั้นตอนการบริจาคร่างกาย เป็น “อาจารย์ใหญ่” ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ม.มหิดล

หลังจากที่เรานำเสนอบทความเกี่ยวกับ “บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย ต่างกันอย่างไร ? บริจาคแล้วได้อะไร บริจาคที่ไหน” และ “การบริจาคร่างกาย อวัยวะ ดวงตา มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ? รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย” ไปแล้ว ดังนั้นขอเพิ่มเติมในส่วนของขั้นตอนการบริจาคร่างกายที่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล แบบละเอียดนะคะ

ขั้นตอนการบริจาคร่างกาย เป็น “อาจารย์ใหญ่”

การบริจาคร่างกายเป็น “กายวิทยาทาน” มีคุณูปการต่อวงการแพทย์อย่างยิ่ง ..

ขั้นตอนการบริจาค คือ

1. อ่าน วัตถุประสงค์ของการอุทิศร่างกายเพื่อศึกษา (ด้านล่าง)

2. ติดต่อส่งเอกสาร : ดาว์นโหลด> แบบฟอร์มหนังสือสำคัญการอุทิศร่างกาย เพื่อการศึกษา : www.sc.mahidol.ac.th/BodyDonationForm.pdf

ส่งเองโดยตรงที่คณะหรือทางไปรษณีย์ก็ได้ ที่ “ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400” (และให้เขียนที่มุมซองว่า “อุทิศร่างกายฯ”)

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

คู่มือการบริจาค

1. วัตถุประสงค์ของการอุทิศร่างกายเพื่อศึกษา –

โดยในการบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่นี้ เรียกไดอีกแบบคือ การอุทิศร่างกาย โดยวัตถุประสงค์ของการอุทิศร่างกายเพื่อศึกษา เพื่อบริจาคร่างกายเป็น “อาจารย์ใหญ่” สำหรับให้ ..

1) นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล และวิทยาศาสตร์สุขภาพได้ศึกษา
2) แพทย์จบใหม่และแพทย์ฝึกทำหัตถการทางการแพทย์
3) นักศึกษาบัณฑิตและอาจารย์สำหรับศึกษาวิจัยทางการแพทย์
4) สำหรับการจัดทำสื่อการสอนทางกายวิภาคศาสตร์

– การบริจาคร่างกายทำได้ 2 ทาง

การอุทิศร่างกายฯ สามารถดำเนินการได้ 2 ทาง คือ 1. ติดต่อโดยตรงที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ หรือ 2. ส่งแบบฟอร์มทางไปรษณีย์

– เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการบริจาคร่างกาย

1. รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จา นวน 2 ใบ เขียน ชื่อ-นามสกุล ไว้ด้านหลังรูป
2. สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ

– ขั้นตอนการบริจาคร่างกาย

1. กรอกแบบฟอร์มอุทิศร่างกายฯ 2 ชุด ให้เหมือนกัน กรุณาเขียน ด้วยตัวบรรจง อย่างชัดเจน

2. ลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมให้เรียบร้อย

3. ให้พยานที่เป็นญาติลงลายมือชื่อ 2 ท่าน

4. ระบุเจตจำนงจำนวนปีในการศึกษา และการจัดฌาปณกิจหลังการศึกษาเสร็จ ในเอกสารพินัยกรรม

5. ส่งแบบฟอร์มที่กรอกแล้วทั้ง 2 ชุด พร้อมรูปถ่าย และสำเนาบัตรประชาชน ทางไปรษณีย์ มาที่ : ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 (และให้เขียนที่มุมซองว่า “อุทิศร่างกายฯ”)

6. ผู้อุทิศร่างกายฯ จะได้รับเอกสารการอุทิศร่างกายคืน 1 ชุด และบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายฯ (กรณีส่งแบบฟอร์มมาทางไปรษณีย์ จะได้รับบัตรฯ และเอกสารภายใน 1 เดือน)

– หากทำบัตรหายหรือเปลี่ยนแปลงที่อยู่ให้แจ้งภาควิชาฯ ในวัน และเวลาราชการ

ท่านที่ต้องการยกเลิกพินัยกรรมการอุทิศร่างกาย กรุณาแจ้งให้ภาควิชาฯ ทราบ

– ข้อจำกัดในการรับศพ ผู้อุทิศร่างกาย

1. ให้แจ้งการเสียชีวิตของผู้อุทิศร่างกายฯ ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งการรับร่างจะดำเนินการในทุกวัน เวลา 08.30 – 16.30 น. โดยถ้าเป็นช่วงหลังจากเวลา 16.30 น. ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ในวันถัดไป

2. ห้ามฉีดน้ำยารักษาสภาพศพ ทางภาควิชาฯ จะจัดการฉีดเอง

3. ภาควิชาฯไม่รับศพกรณีต่อไปนี้

– เสียชีวิต ด้วยโรคติดต่อร้ายแรง เช่นโรคไวรัสตับอักเสบบี โรควัณโรค โรคเอดส์ หรือ ด้วยโรคเกี่ยวกับสมอง เช่น มะเร็งสมอง , เลือดออกในสมอง, ผ่าตัดสมอง และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

แต่กรณีเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในช่องอก หรือช่องท้อง เจ้าหน้าที่ภาควิชาฯ จะไปพิจารณาดูว่ามีลักษณะเหมาะสม ที่จะนำร่างมาเตรียมให้แพทย์ฝึกทำหัตถการและวิจัยทางการแพทย์ได้หรือไม่

– เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ หรือเป็นศพที่เกี่ยวข้องกับคดี หรือ เพิ่งได้รับการผ่าตัดก่อนเสียชีวิต

– ศพที่มีอวัยวะขาดหายไปหรือไม่ครบสมบูรณ์

– ร่างที่มีน้า หนักน้อยกว่า 40 กิโลกรัม หรือมากกว่า 70 กิโลกรัม หรือ มีร่างกายที่ไม่เหมาะสมที่จะใช้ศึกษาได้ เช่น แขนขา โก่ง หลังคดงอ หรือ ผิวหนังเป็นแผลพุพอง มีกลิ่นเหม็น

4. ในกรณีที่เก็บศพของภาควิชาฯ เต็ม จะไม่สามารถรับร่างได้

5. รับศพในระยะทางไม่เกิน 100 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ถ้าระยะทางเกินที่กำหนดญาติต้องนาร่างมาส่งเอง (กรุณาเก็บเอกสารนี้ไว้เป็นข้อมูลสาหรับการแจ้งการเสียชีวิต ของผู้บริจาคร่างกายฯ)

ที่มาเนื้อหาข้างต้น : บริจาคร่างกายวัตถุประสงค์ของการอุทิศร่างกายเพื่อศึกษา

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

สรุปขั้นตอนการบริจาคร่างกาย การติดต่อส่งเอกสาร

เมื่ออ่านรายละเอียดข้างต้นแล้ว ใครที่สนใจอยากจะบริจาคร่างกาย เพื่อการศึกษาสามารถติดต่อได้ทางช่องทางต่อไปนี้

1. ติดต่อโดยตรงที่สำนักงานภาควิชากายวิภาคศาสตร์ (ตั้งอยู่ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ กับโรงพยาบาลรามาธิบดี) “ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400”

2. เขียนจดหมายขอแบบฟอร์มการบริจาคร่างกาย ตามที่อยู่ข้างบน

3. โทรศัพท์แจ้งที่อยู่เพื่อการขอ แบบฟอร์มหนังสือสำคัญการอุทิศร่างกาย เพื่อการศึกษา ที่หมายเลขโทรศัพท์ : 02-201 5400,  02-201 5402, 02-354 7346

4. ดำเนินการบริจาคร่างกาย โดย Download เอกสาร ข้อมูลต่างๆ ทาง Internet ที่ : www.sc.mahidol.ac.th

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

2. แบบฟอร์มการอุทิศร่างกาย –

– Print แบบฟอร์มหนังสือสำคัญการอุทิศร่างกาย เพื่อการศึกษา : www.sc.mahidol.ac.th/scan/pdf/BodyDonationForm.pdf

(Link สำรอง : คำแนะนำการบริจาคร่างกาย และ แบบฟอร์มหนังสือสำคัญอุทิศร่างกาย)

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

คำถามที่หลายคนสงสัย

1. ถ้าผู้ตายไม่ได้เขียนพินัยกรรมไว้ แต่เมื่อเสียชีวิตแล้วญาติต้องการจะบริจาคร่างจะทำได้หรือไม่ ?
สามารถทำได้ โดยญาติเป็นผู้เขียนเอกสารบริจาคร่างกายแล้วส่งเอกสารให้ภาควิชาฯ เก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมมอบร่าง

2. กระดูกและเถ้าของอาจารย์ใหญ่ไปไว้ที่ไหน
วันรุ่งขึ้นหลังจากพิธีพระราชทานเพลิงศพจะมีพิธีเก็บเถ้ากระดูกของอาจารย์ใหญ่ แล้วนักศึกษาจะนำไปลอยอังคารที่เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี หรือที่ใดที่หนึ่งที่จะกำหนดภายหลัง

3. เมื่อผู้บริจาคร่างกายถึงแก่กรรมจะทำอย่างไร

เมื่อผู้บริจาคร่างกายถึงแก่กรรมและอยู่ระยะทางไม่เกิน 100 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ให้ญาติแจ้งมาทางภาควิชาฯ ภายใน 24 ชั่วโมง ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ระบุไว้ด้านหลังบัตรประจำตัวผู้บริจาคฯ (02-201-5400 และ 081-841-6830 หรือ 081-841-8632)

และต้องแจ้งกับทางห้องเก็บศพของทางโรงพยาบาล (ในกรณีเสียชีวิตในโรงพยาบาล) ว่าได้บริจาคร่างกายไว้ และไม่ต้องให้ทางโรงพยาบาลฉีดน้ำยารักษาศพ เพียงแต่ให้เก็บร่างผู้บริจาคไว้ในตู้เย็นของโรงพยาบาลเท่านั้น และควรเป็นตู้เย็นธรรมดา ไม่ใช่ตู้แช่แข็ง เพราะทางภาควิชาฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ไปจัดการเรื่องฉีดน้ำยารักษาสภาพศพตามวิธีของเรา และต้องฉีดภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเสียชีวิต ในการฉีดน้ำยา เจ้าหน้าที่อาจรับศพไปฉีดน้ำยาที่ภาควิชาฯแล้วนำไปดองน้ำยาต่อไป

การเคลื่อนย้ายร่างผู้บริจาค จำเป็นต้องมีบันทึกประจำวันแจ้งการเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ (สำหรับการเสียชีวิตที่บ้าน) หรือเอกสารรับรองการเสียชีวิตจากแพทย์ (สำหรับการเสียชีวิตที่โรงพยาบาล) ไปกับรถทุกครั้ง ฉะนั้นญาติต้องดำเนินการให้ได้เอกสารนี้อย่างใดอย่างหนึ่งให้เรียบร้อยก่อน เมื่อเจ้าหน้าที่ได้สำเนาเอกสารแล้วจึงจะเคลื่อนย้ายศพได้ จากนั้นญาติต้องดำเนินการขอใบมรณบัตร

การได้มาซึ่งใบมรณบัตร ถ้าผู้บริจาคฯ เสียชีวิตที่บ้านต้องแจ้งการเสียชีวิตต่อผู้ใหญ่บ้าน แล้วผู้ใหญ่บ้านจะแจ้งตำรวจเพื่อมาตรวจดูว่าเป็นการเสียชีวิตธรรมดา แล้วตำรวจจะลงบันทึกประจำวันแจ้งการเสียชีวิตจากนั้นจึงนำบันทึกฯ นี้ไปที่อำเภอ เพื่อออกใบมรณบัตร

ถ้าในกรณีเสียชีวิตที่โรงพยาบาล หลังจากแพทย์เซ็นต์รับรองการเสียชีวิตด้วยโรค………..แล้วดำเนินการให้โรงพยาบาลออกใบรับรองการเสียชีวิต แล้วจึงนำใบรับรองนี้ไปที่อำเภอ เพื่อออกใบมรณบัตร โดยท่านสามารถส่งสำเนาใบมรณบัตรให้ภาควิชาฯ ในภายหลังได้

4. ถ้าแจ้งไว้ว่าจะให้ภาควิชาทำการฌาปนกิจให้ แล้วสามารถเปลี่ยนความประสงค์ขอนำศพไปทำการฌาปนกิจเองได้หรือไม่ ?

ถ้าญาติอาจารย์ใหญ่บางท่านต้องการเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม ที่อาจารย์ใหญ่แสดงความจำนงไว้ ว่าจะให้ภาควิชาฯ ทำการฌาปนกิจศพให้ เป็นการนำไปฌาปนกิจศพเอง ก็สามารถทำได้โดยต้องแจ้งให้ภาควิชาฯ ทราบในวันทำบุญอุทิศส่วนกุศล หรือแจ้งก่อนที่นักศึกษาจะเรียนจบ ประมาณ 3 เดือน ทั้งนี้เพื่อนักศึกษาจะได้ไม่ปะปนชิ้นส่วนของอาจารย์ท่านนั้นกับท่านอื่น ทั้งนี้ปกติร่างอาจารย์ที่ให้ทางภาควิชาฯ ทำการฌาปนกิจนั้น ทางภาควิชาฯจะบรรจุร่างรวมกันหีบละ 2 ร่าง จึงไม่สามารถแยกเถ้ากระดูกของอาจารย์ใหญ่แต่ละท่านได้

อ่านทั้งหมดที่ > ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การบริจาคอวัยวะ และการบริจาคร่างกาย ทำพร้อมกันได้ไหมhttps://pantip.com/topic/31397253

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

ตั๊ก บงกช เผยการตัดสินใจครั้งยิ่งใหญ่!! บริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่เพื่อการศึกษา!!

อ่าน : ตั๊ก บงกช เผยการตัดสินใจครั้งยิ่งใหญ่!! บริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่เพื่อการศึกษา!!

อ่าน How to Donate Your Body to Science

ข่าว “อาจารย์ใหญ่” คำสอนสุดท้าย “หลวงพ่อคูณ” , ยกย่องอดีตภริยารัฐบุรุษ-องคมนตรี ท่านผู้หญิงบริจาคร่าง อาจารย์ใหญ่

บทความแนะนำ