เครื่องดักหมอก ในหลวงรัชกาลที่ 9

เครื่องดักหมอก ของ ในหลวง ร.9 ณ พระตำหนักภูพิงค์ฯ จ. เชียงใหม่

Home / เรื่องทั่วไป / เครื่องดักหมอก ของ ในหลวง ร.9 ณ พระตำหนักภูพิงค์ฯ จ. เชียงใหม่

เครื่องดักหมอก ก็เป็นหนึ่งในพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของปวงชนชาวไทย โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า เราควรจะแปลงสายหมอกให้กลายมาเป็นน้ำหล่อเลี้ยงต้นไม้ เพื่อให้ชาวบ้านภาคเหนือได้ใช้ประโยชน์จากส่วนนี้ วันนี้ Campus-Star จะพาคุณไปดู เครื่องดักหมอก ของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ณ พระตำหนักภูพิงค์ฯ จ. เชียงใหม่ เชื่อมั้ยว่าเรื่องเครื่องดักหมอกนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้มานานแล้วนะ

เครื่องดักหมอก ของ ในหลวง ร.9

ณ พระตำหนักภูพิงค์ฯ จ. เชียงใหม่

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จ. เชียงใหม่

เมื่อครั้งที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับที่ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จ. เชียงใหม่ นั้น พระองค์ทรงศึกษาประโยชน์จากหมอกว่า หมอกสามารถกลายเป็นหยดน้ำหล่อเลี้ยงต้นไม้ได้ เช่น เมื่อหมอกมากระทบหินแล้วจับตัวเป็นหยดน้ำไหลลงสู่พื้นดิน ทำให้ต้นไม้สามารถเจริญงอกงามได้ บางประเทศนำแนวคิดนี้มาใช้และมันก็ได้ผลด้วย ส่วนใหญ่เป็นประเทศในเมืองหนาวที่มีหมอกหนาแน่น ซึ่งหากเราสามารถนำไอน้ำที่มีอยู่ในหมอกมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมายในด้านการเกษตร

วันที่ 14 มี.ค. 2536

และเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2536 ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดทำแผงดักหมอกและทดลองใช้ ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ พระองค์ทรงมีราชดำรัสว่า แผงดักหมอกนี้สามารถช่วยบังแดดบังลมกับต้นไม้ ในระยะเวลาที่เริ่มทำการปลูกต้นไม้ หรือในระยะแรกที่ต้นไม้ หรือในระยะแรกที่เริ่มทำการปลูกต้นไม้ หรือในระยะแรกที่ต้นไม้เริ่มเติบโตขึ้นได้ด้วย

ส่วนวัสดุที่จะนำมาใช้ในการดักหมอกนี้ ควรเป็นวัสดุประเภทที่รูพรุนมากๆ เช่น ตาข่ายไนล่อน ซึ่งทำให้เกิดการจับตัวของหยดน้ำได้ดี อีกทั้งวัสดุที่เป็นเสื่อลำแพน การสานอย่าให้ทึบ ควรสานให้โปร่ง เนื่องจากในอากาศนั้นมีความชื้นอยู่แล้วจะทำให้เกิดการควบแน่นและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้

วิธีการทำเครื่องดักหมอก จากพระราชดำริ

1. ใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาถูก เช่น ตาข่ายไนล่อน เสื่อลำแพน ถุงปุ๋ยไนล่อน มาเป็นอุปกรณ์ทำเครื่องดักหมอก

2. สร้างแผงขึงด้วยวัสดุดังกล่าวดักไอน้ำจากหมอก โดยวางให้ตั้งฉากกับทิศทางลมพัดซึ่งจะทำให้ดักหมอกได้ในอัตราสูง

3. สามารถสร้างเครื่องดักหมอกตามสภาพของท้องถิ่น บางแบบอาจติดตั้งบนกังหันลมเพื่อให้แผงดักหมอกหันสู้ลมอยู่ตลอดเวลาหรือบางครั้งแผงดักหมอกอาจทำลักษณะอ่อนตัวเพื่อมิให้แผงโค่นลืมยามลมพัดแรง

4. เมื่อไอน้ำจากหมอกไปกระทบเข้ากับเครื่องดักหมอกทำให้เกิดหยดน้ำขึ้นมา

ซึ่งน้ำที่เกิดจากเครื่องดักหมอกนี้ สามารถช่วยชาวบ้านในเรื่องของการเกษตรได้มาก ทั้งปลูกป่า ปลูกพืช ถึงแม้ว่าพื้นที่นั้นจะแห้งแล้งก็ตามแต่ต้นไม้ก็ยังเจริญเติบโตได้

ที่มา https://seeme.me/ch/pacificinspiration

บทความแนะนำ