เชื่อว่า ‘วัยทำงานกับเวลาพักผ่อนน้อยเป็นของคู่กัน’ เพราะวัยทำงานแทบทุกคน ต้องตื่นแต่เช้าเพื่อเดินทางมาทำงานทุกวัน และกว่าจะเลิกงานกลับถึงที่พักก็ค่ำแล้ว ช่วงเวลาที่จะได้ทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะดูซีรีส์ เล่นเกม อัปเดตโซเชียลมีเดียจึงมักเป็นเวลากลางคืน ลากยาวไปจนถึงกลางดึก ซึ่งทำให้เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาในวันถัดไป
วัยทำงานมองเห็นภาพเบลอ
หนังตาตก แค่นอนน้อยหรือกำลังเสี่ยงเป็นโรค MG?
วัยทำงานมักจะมีอาการเปลือกตาหนักอึ้ง หนังตาตก ตาปรือ ใบหน้าดูโทรม แถมมองเห็นภาพเบลอในบางครั้ง ต้องคอยกระพริบตา ขยี้ตาอยู่บ่อยๆ หลายคนอาจจะคิดว่า นั่นเป็นเพราะร่างกายเราพักผ่อนไม่เพียงพอแน่ๆ หากได้นอนพักนิดหน่อยก็คงจะหายดี แต่ถ้านอนพักแล้วอาการเหล่านั้นก็ยังไม่หายไปล่ะ อาการเหล่านี้มันเกิดขึ้นจากอะไร ร่างกายกำลังส่งสัญญาณอะไรถึงเราหรือเปล่า? พาวัยทำงานมาเช็กพฤติกรรมและอาการมองเห็นภาพเบลอ หนังตาตกของตัวเอง คุณกำลังเสี่ยงเป็นโรค MG หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ต้องรีบเข้ารักษากับแพทย์อยู่หรือไม่
โรค MG คืออะไร
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้กับโรค MG ให้มากขึ้น โดยโรค MG หรือ Myasthenia Gravis คือ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงประเภทหนึ่ง มักเกิดกับกล้ามเนื้อเล็กๆ บริเวณใบหน้า เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปกติ จากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาทำร้ายตัวเอง ส่งผลให้เส้นประสาทที่เคยทำงานปกติกลับทำงานผิดพลาด ไม่สามารถส่งสัญญาณได้ จึงเกิดอาการอ่อนแรงที่กล้ามเนื้อต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณดวงตา และหากออกแรงซ้ำๆ ที่กล้ามเนื้อส่วนนั้น อาการก็จะยิ่งแย่ลง เช่น หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น ตาปรือ ซึ่งบางรายอาจกระทบกับการมองเห็นทำให้เห็นภาพเบลอไม่ชัดเจน หรือเห็นเป็นภาพซ้อนนั่นเอง
โรค MG มีสาเหตุมาจากอะไร ทำไมวัยทำงานพักผ่อนน้อยถึงชอบเป็น
แล้วทำไมวัยทำงานที่พักผ่อนน้อยจึงเสี่ยงเป็นโรค MG กันนะ มาเช็กสาเหตุการเกิดโรค MG กันว่าเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง สามารถหลีกเลี่ยงหรือปรับพฤติกรรมตนเองได้อย่างไรบ้าง
สาเหตุจากระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา
สาเหตุแรกของโรค MG คือ ระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา ซึ่งอาจเกิดได้จากไลฟ์สไตล์ของคนวัยทำงานที่ทำซ้ำๆ ทั้งนอนดึก ตื่นเช้า พักผ่อนไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายหนักมากเกินไป ทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกันลดลง โดยระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของทุกๆ คนจะมีการสร้างแอนติบอดี้ (Antibody) บางชนิดขึ้นมาเพื่อยับยั้งหรือทำลายโปรตีน มีหน้าที่สำคัญในการรับสารอะซีทิลคอลีน (Acetylcholine) ที่เป็นสารสื่อประสาทที่อยู่บริเวณรอยต่อเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ และเมื่อภูมิคุ้มกันมีปัญหา ไม่สามารถรับสัญญาณจากเส้นประสาทนั้นๆ ได้ กล้ามเนื้อก็จะทำงานได้ลดลง เกิดเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงขึ้นมาได้นั่นเอง อย่างอาการหนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น เห็นภาพซ้อนจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง นอกจากนี้หากออกแรงซ้ำๆ ที่กล้ามเนื้อตาก็จะยิ่งทำให้อาการแย่ลงด้วย เช่น การใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ต้องถ่างตากว้างๆ ทุกครั้ง การขยี้ตาบ่อยๆ เป็นต้น
สาเหตุจากพันธุกรรม
นอกจากสาเหตุจากระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหาที่เป็นสาเหตุหลักแล้ว โรค MG ยังอาจเกิดขึ้นจากพันธุกรรม หากมีญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคนี้มาก่อน ก็อาจส่งต่อมายังเราได้ และสามารถขึ้นได้ในทุกๆ ช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
เช็กอาการที่กำลังบ่งบอกว่า กำลังเสี่ยงเป็นโรค MG
หลังจากรู้สาเหตุหลักของการเกิดโรค MG กันไปแล้ว วัยทำงานที่รู้ว่าตนเองมีพฤติกรรมเสี่ยงทำให้ภูมิคุ้มกันตัวเองลดลง รู้สึกว่าขยับกล้ามเนื้อแต่ละส่วน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าไม่ได้ดั่งใจ รีบเช็กอาการดังต่อไปนี้ด่วน ว่าเข้าข่ายโรค MG หรือไม่
หนังตาตก และลืมตาไม่ขึ้นระหว่างวัน
หนังตาตก ตาปรือ และลืมตาไม่ขึ้นระหว่างวัน เป็นอาการที่พบได้มากในช่วงแรกๆ ของโรค MG ข้อสังเกตง่ายๆ คือ มีอาการหนังตาตก ขอบของเปลือกตาหย่อนคล้อยลงมาบังลูกตาของเรา แม้จะไม่ได้รู้สึกง่วงนอนสักนิดเลยก็ตามซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อที่ยกเปลือกตา ทำงานได้น้อยลง โดยในเวลาตอนเช้ามักจะไม่ค่อยมีอาการ แต่เมื่อถึงช่วงบ่ายๆ เย็นๆ หนังตาจะยิ่งตกลงมากเรื่อยๆ วัยทำงานคนไหนที่มีอาการดังกล่าวนี้อาจเริ่มเข้าสู่โรค MG แล้ว
เห็นภาพซ้อน ภาพเบลอ โฟกัสไม่ได้
นอกจากอาการหนังตาตก และลืมตาไม่ขึ้นระหว่างวันแล้ว ในหลายๆ คนยังอาจมีอาการมองเห็นภาพซ้อน ภาพเบลอ ไม่สามารถโฟกัสวัตถุได้ด้วย เช่น ไม่สามารถอ่านตัวหนังสือได้ชัดเจน เห็นจอคอมพิวเตอร์ซ้อนกัน แต่หากหลับตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือกระพริบตาถี่ๆ ภาพซ้อนเหล่านี้ก็อาจหายไป หากใครมีอาการเหล่านี้อาจกำลังเป็นโรค MG อยู่ได้เช่นเดียวกัน
ดวงตาตาเหล่หรือเขออก
อาการตาเหล่หรือเขออก เป็นอาการที่พบรองลงมาจากหนังตาตก เห็นภาพซ้อน ส่งผลต่อบุคลิกภาพและการมองเห็นเป็นอย่างมาก หากรู้สึกว่าจู่ๆ ดวงตาของตนเองไม่สามารถโฟกัสตรงๆ ได้ จนทำให้ตาข้างใด ข้างหนึ่งเหล่ออกจากกัน อาจเกี่ยวข้องกับโรค MG ก็เป็นได้ ควรสังเกตด้วยการปิดตาข้างใดข้างหนึ่งสลับกัน เพื่อเช็กว่ายังสามารถโฟกัสภาพตรงๆ มองเห็นได้ชัดอยู่หรือไม่
ปากเบี้ยว
อาการปากเบี้ยว เป็นอาการที่อาจพบในโรค MG บางคน เป็นอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อปาก ระบบประสาทมีปัญหา ส่งผลต่อการพูด การกลืนที่ควบคุมไม่ได้ เกิดปากเบี้ยว และลามไปจนถึงบริเวณคอ แขน และขาได้นั่นเอง โดยบางคนอาจเป็นในระยะสั้นๆ เป็นแล้วหายได้เอง แต่บางรายอาจต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์อย่างถูกวิธี ไม่เช่นนั้นอาการอาจรุนแรงขึ้น จนไม่สามารถพูด หรือรับประทานอาหารเองได้เลย
เกิดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อแต่ละส่วน
บางคนที่เป็นโรค MG อาจรู้สึกปวดกล้ามเนื้อแต่ละส่วนเป็นอย่างมาก ได้แก่ กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อไหล่ และอาจทำให้เกิดอาการกระตุก ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวแขน ไหล่ได้ตามต้องการ เช่น กำมือไม่ได้ และทำให้แขนลีบลง
หายใจได้ไม่สะดวก
โรค MG ยังทำให้เคลื่อนไหวกระบังลมได้ไม่สะดวกด้วย เกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหายใจ (Myasthenic crisis) ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ต้องแลกเปลี่ยนออกซิเจน เพื่อส่งต่อไปให้ส่วนอื่นๆ และบางคนมีอาการที่ยาวนานและรุนแรง ถึงขั้นทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนเสียชีวิตได้เลย
โรค MG รักษาอย่างไร
โรค MG สามารรักษาโดยการให้ยารับประทาน เพื่อกดภูมิคุ้มกัน ไม่ให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ที่เป็นตัวทำลายภูมิคุ้มกันขึ้นมา ร่วมกับการใช้ยาที่สามารถเพิ่มกำลังการทำงานของกล้ามเนื้อ เช่น ยาหยอดตาเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อตาทำงานได้ปกติ และเมื่ออาการดีขึ้น แพทย์จะค่อยๆ ปรับลดขนาดยาให้มีความเหมาะสม และหากบางรายที่มีอาการรุนแรงจะพิจารณาการผ่าตัดต่อมไทมัสร่วมด้วย ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
เพราะไลฟ์สไตล์มีผลดีและผลเสียกับการร่างกายของเรา ไลฟ์สไตล์ของคนวัยทำงานที่โหมทำงานหนัก นอนดึก ตื่นเช้าก็เป็นอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดผลเสียกับร่างกาย อย่างการทำให้ภูมิคุ้มกันแย่ลง และเสี่ยงเกิดเป็นโรค MG หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำ ทั้งในด้านการมองเห็น หนังตาตก มองเห็นภาพซ้อน การขยับร่างกาย ปวดเมื่อยแขนและขา การหายใจลำบากที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย
นอกจากนี้โรค MG ยังส่งผลต่อบุคลิกกาพทำให้ใบหน้าดูโทรม และบางคนอาจตาเหล่ หรือตาเขร่วมด้วย ดังนั้นหากวัยทำงาน หรือใครที่กำลังมีอาการเข้าข่าย และรู้ตัวว่ากำลังเสี่ยงเป็นโรค MG ไม่ควรนิ่งนอนใจเป็นอันขาด ควรรีบปรึกษาแพทย์และเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีโดยด่วน
ส่วนใครที่ต้องการปรึกษาปัญหาเกี่ยกวับดวงตา เพื่อวินิจฉัยว่าตนเองกำลังเป็นโรค MG ประเภทกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอยู่หรือไม่ หรือต้องการแก้ปัญหาหนังตาตก ตาปรือที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพและลดลทอนความมั่นใจ ที่ Lovely Eye & Skin Clinic มีจักษุแพทย์มากประสบการณ์ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลการรักษาเกี่ยวกับปัญหารอบดวงของคุณอย่างตรงจุด ใส่ใจพิถีพิถันทุกรายละเอียด พร้อมช่วยให้คุณมีดวงตาที่สวยสดใส มองเห็นได้อย่างชัดเจนเหมือนเดิม
ติดต่อสอบถาม Lovely Eye & Skin Clinic
- Tel. 02 382 0045, 06 1405 0044
- Line: @lovelyeye
- Website: www.lovelyeyeclinic.com
- Facebook: Lovely Eye & Skin Clinic
- Instagram: @lovelyeyeandskin_by_drroungkaw
- YouTube: Lovely Eye & Skin Clinic