หนังจิตวิทยา

เป็นมากกว่าหนัง! 10 อันดับ หนังจิตวิทยา ที่ดูแล้วคุณจะลืมไม่ลง

Home / บันเทิง / เป็นมากกว่าหนัง! 10 อันดับ หนังจิตวิทยา ที่ดูแล้วคุณจะลืมไม่ลง

มีคอหนังหลายคนเหมือนกันนะที่เปลี่ยนแนวมาดูหนังจิตวิทยา เพราะมันเต็มไปด้วยแง่มุมต่างๆ ความซับซ้อนซอนเงื่อนที่แฝงไปด้วยกลยุทธ์มากมาย หนังจิตวิทยาบางเรื่องนี้จัดหนักถึงขั้นทำให้คนดูงงเป็นไก่ตาแตกเลยแหละ แต่มันก็ถือว่าเป็นการดูหนังที่แอดวานซ์ไปอีกขึ้นหนึ่งน่ะ วันนี้ Campus-Star จะพาคุณไปดู เป็นมากกว่าหนัง! 10 อันดับ หนังจิตวิทยา ที่ดูแล้วคุณจะลืมไม่ลง!! ใครที่กำลังสนใจหนังประเภทนี้ แล้วไม่รู้จะเริ่มดูเรื่องไหนก่อน นี่แหละคำตอบของคุณ

หนังจิตวิทยา ที่ดูแล้วคุณจะลืมไม่ลง…

10. Berlin Syndrome (2017)

สำหรับใครที่ไม่ชอบความรุนแรง ความทารุณ เราขอให้คุณหลีกเลี่ยงที่จะดู Berlin Syndrome (2017) นะ โดยเนื้อเรื่องจะมีอยู่ว่า หญิงสาวออสเตรเลียได้มาพบรักกับชายหนุ่มคนหนึ่งที่ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน เส้นทางรักของทั้งคู่ก็เหมือนจะเป็นไปได้ด้วยดี จนกระทั่งหญิงสาวพบว่าเธอถูกกักขังไว้ในอพาร์ทเมนท์ของชายหนุ่ม ดูเหมือนมันจะเป็นพล็อตหนังธรรมดาๆ แต่หนังเรื่องนี้ก็ได้รับการชื่นชมมากโขเลยแหละ

9. Prisoners (2013)

ไม่น่าเชื่อว่า โลแกน หรือ ฮิวจ์ แจ็คแมน จะเคยเล่นหนังแนวๆ นี้ด้วย โดยเรื่อง Prisoners (2013) เป็นเรื่องราวที่ว่า คุณพ่อคนหนึ่งที่ใจสลาย รับบทโดย ฮิวจ์ แจ็คแมน เพราะลูกสาวของเขาถูกลักพาตัวไปอย่างไร้ร่องรอย แต่เมื่อตำรวจไม่อาจจะช่วยลูกสาวเขาได้ เขาก็เคยต้องหาความจริงโดยการเค้นและทรมาณจากผู้ต้องสงสัย ความพีคของหนังเรื่องนี้ก็คือ คนดูจะได้ลุ้นไปตลอดทางว่า ลูกสาวของเขาหายไปไหน แล้วใครคือโจรลักพาตัวกันแน่

8. Side Effects (2013)

เป็นหนังที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับ Side Effects (2013) ว่ากันด้วยคู่สามีภรรยา เอมิลี่  กับ มาร์ติน ภายนอกใครๆ ก็ต่างอิจฉาและบอกว่าพวกเขาเป็นคู่รักที่สมบูรณ์แบบ จนกระทั่งมาร์ตินถูกตำรวจจับ และทิ้งให้ภรรยาต้องชีวิตอยู่ลำพัง และแน่นอนว่าเหตุการณ์นี้ส่งผลให้เอมิลี่เครียดมากถึงขั้นต้องกินยากล่อมประสาท โดยที่เธอไม่รู้ว่ายาที่เธอกินมันนำมาซึ่งผลกระทบอันน่ากลัวบางอย่าง…

7. Get Out (2017)

สำหรับคอหนังคนไหนที่ชอบหนังทริลเลอร์ผสมเชิงจิตวิทยาล่ะก็ Get Out (2017) นี่แหละตอบโจทย์ โดยเนื้อเรื่องจะมีอยู่ว่า ชายหนุ่มผิวดำได้ไปเยี่ยมบ้านแฟนสาวผิวขาว พล็อตเรื่องก็ธรรมดาเรียบง่ายนั่นแหละ แต่มันพิเศษตรงวิธีการเล่าเรื่อง คือเรียกได้ว่าบรรยากาศในหนังนี่ชวนสยองอยู่ตลอดเวลา ทั้งน่าสงสัย และลุ้นระทึก แต่สิ่งที่สำคัญของหนังเรื่องนี้ก้คือ ความคิด ความอคติเรื่องคนผิวสี เชื่อเถอะว่า Get Out (2017) ไม่ใช่หนังที่ดูแล้วเสียเวลาแน่นอน

6. We Need to Talk About Kevin (2011)

เป็นหนังจิตวิทยาในตำนานอีกเรื่องเลยก็ว่าได้สำหรับ We Need to Talk About Kevin (2011) ว่ากันด้วย อีวา แม่ผู้เสียสละออกจากงานเพื่อมาเลี้ยงดูลูกชายอย่าง เควิน แต่แล้วก็มีเรื่องใหญ่เกิดขึ้น เมื่อเควินอายุได้ 15 ปี เขาได้สังหารหมู่เพื่อนที่โรงเรียน ซึ่งนี่เป็นจุดสำคัญของครอบครัว ความผิดหวังและโศกเศร้าครั้งนี้ทำให้อีวาต้องหาสาเหตุว่า ทำไมเควินถึงทำแบบนี้ มันเป็นเพราะเขาโรคจิตสติแตก หรือเป็นเพราะการเลี้ยงดูของเธอกันแน่

5. Black Swan (2010)

เป็นอีกเรื่องที่คอหนังแนวจิตวิทยาตัวจริงจะต้องจดจำเอาไว้เลยสำหรับ Black Swan (2010) ว่ากันด้วยการหานักแสดงละครบัลเลต์เรื่อง Swan Lake แต่ผู้กำกับอยากได้คนที่แสดงได้ทั้งสองบท ทั้งหงส์ขาวและหงส์ดำอยู่ในตัวเอง ซึ่งมันเป็นอะไรที่กดดันมากสำหรับ นีน่า เพราะสิ่งที่เธอมี มีแต่ความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา มันยากเหลือเกินที่จะเป็นอีกคนที่แตกต่างกันจนสิ้นเชิง แน่นอนว่าบทนี้สร้างความกดดันให้เธอถึงขีดสุดจนทำให้ชีวิตของนีน่าเปลี่ยนไปตลอดกาลเลยแหละ

4. Shutter Island (2010)

เป็นหนังที่รวมทุกชาติจริงๆ สำหรับ Shutter Island (2010) ทั้งสืบสวนสอบสวน ลุ้นระทึก สยองขวัญ และจิตวิทยา โดยเนื้อเรื่องมีอยู่ว่า ในปี 1954 หลังสงครามเย็น ฆาตกรผู้ชาญฉลาดได้หายไปจากห้องขังที่โรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลนี้ถูกรักษาความปลอดภัยไว้อย่างเข้มงวด เหตุนี้เองจึงทำให้สองนายตำรวจ เท็ดดี้ แดเนียลส์ และชัค โอล ต้องเดินทางมายังเกอะชัตเตอร์เพื่อตามหาคนร้าย แต่สิ่งที่สองนายตำรวจเจอก็คือ เหตุการณ์แปลกประหลาดที่บอกให้พวกเขารู้ว่า สิ่งต่างๆ ไม่ได้เป็นอย่างที่เห็น แถมพวกเขายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะมีชีวิตรอดไปจากเกาะนี้รึเปล่า

3. Memento (2000)

Memento (2000) เป็นหนังชิ้นโบว์แดงอีกเรื่องหนึ่งของผู้กำกับมากฝีมืออย่าง คริสโตเฟอร์ โนแลน โดยหนังเรื่องนี้จะเล่าถึงชายคนหนึ่งที่เป็นโรคสูญเสียความทรงจำระยะสั้น วิธีการแก้ปัญหาของเขาคือ ถ่ายรูป เขียนข้อความ หรือแม้กระทั่งการสัก! เพื่อนเตือนความจำของตัวเอง และยิ่งไม่กว่าการจำได้ก็คือ เขามีภารกิจล้างแค้นให้ภรรยาที่ถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยม แต่สิ่งที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชมก็คือ หนังเรื่องนี้จะเล่าย้อนจากตอนท้ายไปตอนต้นเรื่อง ฟังดูน่าสนุกใช่มั้ยล่ะ

2. Requiem for a Dream (2000)

Requiem for a Dream (2000) เป็นหนังแนะนำที่เหมาะสำหรับวัยรุ่นเป็นอย่างยิ่ง โดยเนื้อเรื่องจะมีอยู่ว่า วัยรุ่น 3 คน หญิงสูงวัย 1 คน พวกเขาตางก็มีความฝันเป็นของตัวเอง แต่น่าเสียดายที่พวกเขาต้องตกเป็นธาตุของยาเสพติดไปซะก่อน พวกเขาคิดว่าจะใช้ยาเสพติดเป็นสะพายไปยังความฝัน แต่หาได้รู้ไม่ว่า ยาเสพติดนี่แหละที่ลากพวกเขาลงไปสู่หลุมดำที่ยากเกินจะควบคุม ท้ายที่สุดแล้วความฝันของพวกเขาก็ต้องพังทลายแตกเป็นเสี่ยงๆ ชนิดที่ว่าฝังใจคนดูไปตลอดเลยแหละ

1. Mother (2017)

หากพูดถึงผู้กำกับที่เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา และแหกตาผู้ชมล่ะก็ เราคงจะมองข้าม ดาร์เรน อโนลอฟกี้ ไปไม่ได้หรอก ก็ดูจากผลงานเก่าๆ ของเขาสิ ทั้งเรื่อง Black Swan ,Pi หรือ Requiem for a Dream เรียกได้ว่าแต่ล่ะเรื่องก็เป็นที่กล่าวขานกันทั้งนั้นแหละ ก็มีแต่เรื่อง Noah ที่น่าผิดหวัง แต่เขากับมาแก้มือใหม่ในเรื่อง Mother (2017) ว่าด้วย ความรักของคู่สามีภรรยาที่ต้องเจอบททดสอบความรักด้วยการมาเยือนของแขกไม่ได้รับเชิญ แค่ตัวอย่างหนังออกมาก็น่าดูแล้ว อยากรู้จริงๆ เลยว่าเรื่องนี้จะจบลงแบบไหน