หน้าร้อนแบบนี้ จะมีอะไรดีไปกว่า การได้กินไอศกรีมอร่อยๆ มั้ย หรือน้ำแข็งใสแบบไทยๆ ก็เริ่ดดดดได้อยู่ และแน่น๊อน.. ร้อนๆ อย่างนี้ Campus-Star.com ของเราก็มีเรื่องของไอศกรีมมาให้อ่านกันค่ะ
ความรู้และเรื่องน่าสนใจของไอศกรีม
ความรู้เกี่ยวกับไอศกรีม:
ไอศกรีม, ไอศครีม (ice cream) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด (freezing) เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม (freezer) ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน อ่านเพิ่มเติม…
กำเนิดไอศกรีมซันเดย์!!!
Ice cream sundae!!! ในแบบต่างๆ
ต้นกำเนิดไอศกรีมซันเดย์นั้น มีหลายตำนานด้วยกัน ซึ่งล้วนเกี่ยวพันกับ ซันเดย์ หรือวันอาทิตย์แทบทั้งสิ้น เรื่องแรกเกิดขึ้นในยุควิคตอเรียน ในสหรัฐอเมริกา มาจากคำบอกเล่าของ “จอร์จ กิฟฟี่” คนดังแห่งรัฐวิสคอนซิน ระบุว่า เดิมทีการดื่มโซดาวันอาทิตย์ อันเป็นวันประกอบพิธีทางศาสนาและพักผ่อนของชาวคริสต์เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม กระทั่งหลายเมือง ออกกฎหมาย ห้ามจำหน่ายโซดาในวันอาทิตย์ เจ้าของร้านขายยาต่างๆ ในเอแวนสตัน อิลลินอยส์ จึงได้บรรจุไอศกรีม และน้ำหวานไว้เป็นรายชื่อของถูกกฎหมายที่มีจำหน่ายในวันอาทิตย์ เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้า โดยในวันอาทิตย์ที่อเมริกันชนชาวคริสต์ส่วนใหญ่ไปเข้าโบสถ์ ในวันนี้ผู้คนจะแต่งตัวสวยงามเมื่อเสร็จพิธีในโบสถ์แล้วก็จะชักชวนกันไปหาของหวานกินกัน ซึ่งไอศกรีมเป็นของหวานชนิดแรกๆ ที่ได้รับเลือก
อย่างไรก็ตามต่อมาคำว่า “Sunday” ได้ถูกเปลี่ยนมาใช้ “Sundae” สาเหตุจากการที่ในหมู่คริสต์ศาสนิกชน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้นำในแวดวงศาสนาได้ออกมาโจมตีว่าการนำคำว่า “Sunday” มาใช้เป็นเรื่องไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากวันอาทิตย์เป็นวันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งการนำวันดังกล่าวมาตั้งเป็นชื่อของหวานเป็นสิ่งไม่บังควร เป็นที่มาของไอศกรีมซันเดย์ที่สะกดว่า Sundae ของไอศกรีม
อีกเรื่องเล่าว่า ร้านขายยาชื่อ แพลตต์แอนด์โคต์ โดยนายเชสเตอร์ แพลตต์ เจ้าของร้านซึ่งปกติตักไอศกรีมขายแบบธรรมดา แล้วจู่ๆ ในวันอาทิตย์วันหนึ่ง เกิดไอเดียตักไอศกรีมใส่ถ้วยแชมเปญแล้วนำเอาน้ำเชอรี่ราดลงบนก้อนไอศกรีมและประดับด้วยผลเชอรี่แช่อิ่มบนยอดดูสวยงามน่ารับประทาน โดยตั้งชื่อเมนูพิเศษนี้ว่า Cherry Sunday โดยให้เหตุผลง่ายๆว่า เพราะปิ๊งไอเดียในวันนี้และวางขายในวันอาทิตย์ เรียกร้องความสนใจจากลูกค้าขาประจำและขาจรได้เป็นอย่างดี
ส่วนประกอบหลัก ๆ
ในไอศกรีม (สูตรทั่วไป) คือ น้ำ ไขมัน นม น้ำตาล
– ไอศกรีมไขมันต่ำ (Low-fat) คือ ไอศกรีมที่มีส่วนผสมไขมันนมมากที่สุดไม่เกิน 3 กรัมในไอศกรีมเสิร์ฟครึ่งถ้วย
– ไอศกรีมลดไขมัน (Reduced fat) คือ ไอศกรีมที่มีส่วนผสมไขมันนมน้อยกว่าสูตรธรรมดา หรือดั้งเดิม 25%
– ไอศกรีมไขมันครึ่งเดียว (Light) คือ ไอศกรีมที่มีส่วนผลมไขมันนมน้อยกว่าสูตรธรรมดา 50% ให้พลังงานลดน้อยลง 33%
– ไอศกรีมไร้ไขมัน (Non-fat) คือ ไอศกรีมที่มีส่วนผสมไขมันนมน้อยกว่า 0.5 กรัม ในไอศกรีมสำหรับ 1 คน
ไอศกรีมพรีเมียม คืออะไร
ไอศกรีมพรีเมียมเป็น 1 ใน 3 ประเภทของไอศกรีมที่แบ่งออกตามส่วนแบ่งการตลาด ดังนี้
1.ไอศกรีมซูเปอร์พรีเมียม
(Super premium ice cream) เป็นไอศกรีมที่มีราคาสูงที่สุดในตลาด แต่มีสัดส่วนในตลาดเพียง 1-2% มีผู้ทำตลาดรายเดียว คือ ไอศกรีมฮาเก้นดาส ในเครือเอสแอนด์พี ขายโดยผ่านหน้าร้านของร้านฮาเก้นดาส และร้านเอสแอนด์พี แต่อัตราการเติบโตของตลาดนี้ไม่สูงนัก โดยเฉพาะในภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา
2.ไอศกรีมพรีเมียม
(Premium ice cream) เป็นไอศกรีมระดับบนเช่นกัน แต่มีราคาต่ำกว่าไอศกรีมซูเปอร์พรีเมียม การแข่งขันในตลาดเป็นไปอย่างรุนแรง มีมูลค่าตลาดประมาณ 17% หรือประมาณ 900 ล้านบาท โดยมีผู้ทำตลาดรายใหญ่ 3 รายด้วยกัน คือ
2.1 ไอศกรีมสเวนเซนส์ (Swensens ice cream) ทำตลาดโดยบริษัท สเวนเซนส์ (ไทย) จำกัด ในเครือไมเนอร์กรุ๊ป มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดประมาณ 60-70% มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าแบบเต็มรูปแบบ คีออสซูเปอร์มาร์เก็ต หรือแม้แต่ในร้านพิซซ่า รวมทั้งบริการจัดส่งด้วย
2.2 ไอศกรีมบาสกิ้นรอบบิ้นส์ (Baskin Robbins ice cream) ทำตลาดโดยบริษัท บาสกิ้นรอบบิ้นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือเซ็นทรัล มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 20-30% ช่องทางการจำหน่ายหลักคือร้านค้าแบบเต็มรูปแบบ (มีการขายแฟรนไชส์) รวมถึงรูปแบบคีออส และในซูเปอร์มาร์เก็ต 2.3 ไอศกรีมบัดส์ (Buds ice cream) ทำตลาดโดยบริษัท อเมริกันฟู้ดส์ จำกัด มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 10%
3.ไอศกรีมทั่วไป ตลาดกลางถึงล่าง
(Low to medium class ice cream) เดิมในตลาดนี้มีผู้ทำตลาดหลายราย โดยเฉพาะนักลงทุนท้องถิ่น แต่เมื่อกลุ่มทุนข้ามชาติยักษ์ใหญ่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย และมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทำให้กลุ่มทุนรายย่อยในท้องถิ่นไม่สามารถแข่งขันได้เลย ล่มสลายไปเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันไอศกรีมทั่วไปมีมูลค่าตลาด 4,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 80% ของมูลค่าตลาดรวม โดยกลุ่มผู้นำตลาดในปัจจุบันที่เป็นรายใหญ่มีเพียง 3 รายเท่านั้น ได้แก่
3.1 ไอศกรีมวอลส์ (Wall”s ice cream) ทำตลาดโดยบริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เน้นสินค้าที่ราคาไม่สูง มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งจุดขาย เป็นผู้นำตลาดนี้ด้วยส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 70-80%
3.2 ไอศกรีมเนสท์เล่ (Nestle ice cream) ทำตลาดโดยบริษัทเนสท์เล่ไอศกรีม ปัจจุบันยังมีส่วนแบ่งตลาดไม่มากนัก
3.3 ไอศกรีมแมกโนเลีย ยูไนเต็ด (Magnolia united ice cream) ทำตลาดโดยบริษัท ยูไนเต็ดฟู้ด จำกัด โดยเริ่มจากการเป็นไอศกรีมของกลุ่มทุนท้องถิ่น และต่อมาจึงได้มีการร่วมทุนกับต่างชาติ ปัจจุบันไอศกรีมยูไนเต็ดมีสัดส่วนตลาดไม่มากนักเช่นกัน
ตลาดไอศกรีมทั่วไปเป็นตลาดที่มีการแข่งขันที่รุนแรงมากที่สุด โดยผู้อยู่รอดในกลุ่มนี้จําเป็นต้องมีความพร้อม ทางด้านเงินทุนและเทคโนโลยีในระดับสูง อย่างไรก็ดี ยังมีผู้ให้ความสนใจที่จะเข้ามาทำตลาดนี้อีกในอนาคต เช่น กลุ่มซีพีที่คาดว่าจะร่วมทุนกับเมจิของญี่ปุ่น เป็นต้น
ที่มา คอลัมน์ รู้ไปโม๊ด โดย น้าชาติ
วิธีรับประทานไอศกรีมไม่ให้อ้วน และส่งผลเสียกับสุขภาพ
คือเลือกรับประทานไอศกรีมในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยอาจเลือกประเภทที่ไขมันต่ำ หรือไอศกรีมที่ใช้น้ำผลไม้สดแทนสารให้ความหวานอื่น ๆ นอกจากนั้นไอศกรีมที่มีการเพิ่มเติมวิตามินซีและแคลเซียม ก็ยังเป็นทางเลือกที่ให้ทั้งประโยชน์ และความอร่อยในคราวเดียวกัน
ไอศกรีมช่วยลดความเครียดได้ ….
มีผลการทดลองจากนักวิทยาที่ยืนยันออกมาจาก NationaI Academy of Sciences ว่าการรับประทานไอศกรีมจะช่วยกำจัดความเครียดได้ เพราะสัญญาณตอบสนองการย่อยไขมันในไอศกรีมจะส่งผลไปปิดสัญญาณของความเครียดที่ส่งผ่านฮอร์โมนต่าง ๆ (Stress hormone) ซึ่ง นพ. นอร์แมน จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเชื่อว่าอาหารที่มีพลังงานสูง และการกระตุ้นในสมองจะช่วยให้คลายความเครียดลง …รู้จักไอศกรีมมากขึ้นแล้ว อย่าลืมเลือกรับประทานให้ถูกต้องนะครับ
กำเนิดไอศกรีมโคน
ไอศกรีมโคนทำให้พวกเราเอร็ดอร่อยทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ แต่ก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าใครเป็นคนคิดค้นไอศกรีมโคนขึ้นมาให้เรากิน ต้นกำเนิดการค้นพบโคน.. ยังสับสนอยู่หลายตำนาน
บ้างก็ว่า ชาวอิตาเลียนอพยพ ชื่อนาย อิตาโล มาร์ชิโอนี ผู้จดสิทธิบัตรถ้วยวาฟเฟิลที่กินได้ในปี ค.ศ.1903 เขาบอกว่าเขาทำโคนมาตั้งแต่ 22 กันยายน ค.ศ.1886 เพื่อเสิร์ฟกับไอสกรีม ที่ถนนวอลล์สตรีท ในกรุงนิวยอร์ก
แต่แมรี่ ลู เมนช์ส บอกว่าคนที่คิดค้นเป็นปู่ของเธอเอง ชื่อ ชาร์ลส์ โรเบิร์ต และน้องชาย ทั้งคู่คิดค้นไอศกรีมโคนขึ้นมาในปี ค.ศ. 1904 ตอนขายไอศกรีมอยู่ในงานเทศกาลที่เซนต์หลุยส์ มิสซูรี “…มีเรื่องเล่ามากมายเลยค่ะ บางคนบอกว่าจานสำหรับใส่ไอศกรีมหมด และเนื่องจากร้านขายไอศกรีมอยู่ติดกับร้านวาฟเฟิล (ขนมรังผึ้ง) พวกเขาก็เลยตักไอศกรีมใส่วาฟเฟิลแทน และมันก็เข้าท่าดี”
มีตำนานอีกเรื่องคล้ายๆ กันคือชาย ชื่อฮัมวี เป็นคนอบขนมปังอพยพ ชาวซีเรียที่อ้างว่าไปขายขนมในงานเดียวกัน เขาได้ความคิดตอนที่ร้านขายไอศกรีมที่อยู่ข้างๆ จานหมด !! เขาเลยม้วนเวเฟอร์ของเขาที่เรียกว่า ซาลาเบีย ตอนที่ยังร้อนๆ แล้วปล่อยให้เย็นเพื่อขายให้ร้านไอศกรีมเอาไปใส่ไอศกรีม
แต่ไม่ว่าใครจะเป็นคนคิดค้น … ไอศกรีมโคนก็ทำให้เราอร่อยกับไอศกรีมได้ในอีกรูปแบบหนึ่ง
ขอบคุณข้อมูลจาก CNN และนสพ.ผู้จัดการ
ข้อควรรู้ของไอศกรีม
• ไอศกรีมที่ทำรับประทานเองจะมี ไขมันต่ำ กว่าและมีปริมาณอากาศในเนื้อไอศกรีมน้อยกว่าไอศกรีมแบบที่ขายทั่วไป
• ไอศกรีมที่มีส่วนผสมของไข่ไก่ มักจะต้องต้มต้ม (ตุ๋น) เพื่อให้ส่วนผสามเข้ากันดีและทำให้ส่วนผสมสุกเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
• ไอศกรีมที่มีส่วนผสมน้ำตาลและแอลกอฮอล์มากเท่าไรจะทำให้เป็นเกล็ดน้ำแข็งได้น้อยและเนื้อเหลวเท่านั้น
• ถ้าใส่เกลือมากเท่าไรก็จะยิ่งใช้เวลาปั่นน้อยลง เนื้อไอศกรีมจะเป็นเกล็ดน้ำแข็งหยาบ ไม่เนียนนุ่ม แต่ถ้าใส่เกลือน้อยจะใช้เวลาปั่นนาน เนื้อไอศกรีมจะเหลว
• ถ้าปั่นนานแล้วไอศกรีมยังเหลว ไม่แข็งตัว แสดงว่าความเย็นไม่พอให้เพิ่มเกลืออีก
• ไอศกรีมแบบทำเองควรรับประทานทันทีหรือเก็บไว้ไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ เพราะยิ่งเก็บไว้นานเท่าไรเนื้อไอศกรีมจะเนียนนุ่มน้อยลงและรสชาติจะเปลี่ยนไป เนื่องจากไม่ได้ใส่สารช่วยให้คงตัว