จอห์น วิญญู นักรัฐศาสตร์ พ่อ จอห์น วิญญู วิธีเลี้ยงลูก

วิธีการสอนลูก สไตล์นักรัฐศาสตร์ โดยคุณพ่อของ จอห์น วิญญู

Home / เรื่องทั่วไป / วิธีการสอนลูก สไตล์นักรัฐศาสตร์ โดยคุณพ่อของ จอห์น วิญญู

รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณพ่อของจอห์น วิญญู ดีเจ พิธีกร และนักแสดงคนดัง แต่นอกจากบทบาทด้านวงการบันเทิงแล้ว สังคมก็ยังให้ความสนใจกับบทบาทด้านการเมืองกับจอห์น วิญญูอีกด้วย – วิธีการสอนลูก สไตล์นักรัฐศาสตร์

วิธีการสอนลูก สไตล์นักรัฐศาสตร์

จอห์น วิญญู เป็นบุคคลหนึ่งที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน และครอบครัวของเขาก็ถูกปลูกฝังเรื่องการของประชาธิปไตยมาตั้งแต่สมัยยังเด็ก ด้วยความที่คุณพ่อเป็นอาจารย์รัฐศาสตร์ วันนี้เราก็เลยมีวิธีการเลี้ยงลูกของ รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ มาฝากกันว่าท่านส่งต่อ หรือสอนเรื่องการเมืองให้กับเด็กๆ อย่างไร เพราะประเด็นการเมืองเหมือนจะเป็นเรื่องอ่อนไหวในครอบครัวพอสมควร ถ้าหากคุยกันไม่เข้าใจก็อาจจะทำให้คนในบ้านทะเลาะกันเอง เพราะเสื้อต่างสีกันก็เป็นได้

รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

ให้คัดรัฐธรรมนูญ และฟังเลกเชอร์ตั้งแต่เด็ก

ด้วยอาชีพของคุณพ่อ คือการเป็นอาจารย์ก็ต้องมีการเตรียมสอน ทำให้ลูกๆ กลายเป็นนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่ถูกจับให้มานั่งฟังเลกเชอร์อยู่บ่อยๆ และประกอบกับตอนนั้นมีรัฐธรรมนูญปี 2540 ออกมา ลูกศิษย์ รวมถึงลูกๆ ก็เลยโดนจับให้คัดรัฐธรรมนูญไปเรื่อยๆ จนจบเล่ม เพราะการเป็นประชาธิปไตยก็ควรรู้ว่ารัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร ดังนั้นในวันหยุดลูกๆ ของอาจารย์ก็จะถูกจับคัดรัฐธรรมนูญไป

แต่ปกติก่อนที่จะให้เด็กๆ เริ่มคัดรัฐธรรมนูญ คุณพ่อก็ให้ลูกเขียนเอสเสอยู่แล้ว จะวันละครึ่งหน้า หนึ่งหน้า สามหน้าก็แล้วแต่ โดยจะเขียนเรื่องอะไรก็ได้ พอคุณพ่อเอามาอ่านก็จะให้ดาว จุดประสงค์ของการเขียนเอสเสก็คือ เพื่อให้เด็กๆ ได้รู้ว่าตัวเองกำลังจะบอกอะไร เพราะการได้พูด ได้แสดงออกว่าตัวเองคิดเห็นยังไงเป็นสิ่งสำคัญ

ตีกรอบให้ลูกมากน้อยแค่ไหน?

ทุกบ้านพ่อ แม่จะกำหนดขอบเขตให้ลูกเป็นธรรมดาอยู่แล้ว แต่การเลี้ยงลูกแบบไหนถึงจะดี ต้องตีกรอบให้เด็กมากน้อยแค่ไหน รศ.ดร.โกวิท ก็ได้ให้นิยามของการเลี้ยงลูกในแบบฉบับของตัวเองเอาไว้ว่า

ตอนที่ลูกยังเด็กก็ต้องสอน ต้องบอก กำหนดกรอบให้ เพราะยังเด็ก จึงยังไม่มีวิจารณญาณเต็มที่ พอไม่รู้ เด็กทุกคนจะอยากรู้ และพยายามไปให้ได้มากที่สุด แต่พอโตถึงช่วงมัธยมปลายแล้ว ก็ปล่อยให้คิด และตัดสินใจเอง พ่อก็ได้แค่ตักเตือนบ้างตามเวลา และโอกาสที่เหมาะสม แต่เขาจะรับฟังหรือไม่นั่นก็อีกเรื่อง ซึ่งถึงไม่เชื่อก็ปล่อยไป เพราะความคิดแต่ละคนไม่เหมือนกัน จะให้ลูกมาเห็นด้วยกับสิ่งที่พ่อ แม่บอก หรือคิดทุกเรื่องคงเป็นไปไม่ได้

ที่มา : themomentum

ขอบคุณภาพจาก FB @kovitwongsurawat

บทความแนะนำ