ท่องเที่ยว เที่ยวเชียงราย

เทคนิคเตรียมความพร้อมและเอาตัวรอด เที่ยวปลอดภัย เที่ยวได้สบายใจ Safe Trip

Home / เรื่องทั่วไป / เทคนิคเตรียมความพร้อมและเอาตัวรอด เที่ยวปลอดภัย เที่ยวได้สบายใจ Safe Trip

การเที่ยวบางที่การเที่ยวนั้นอาจจะไม่ดีเสมอไป อาจจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นโดยที่ไม่คาดคิดก็เป็นได้ บางที่หากเราเตรียมตัวไว้ก่อนว่าเป็นการเผชิญการท่องเที่ยวของเราจะได้เซฟตี้มายิ่งขึ้นน ก็คือ เทคนิคเตรียมความพร้อมและเอาตัวรอด สำหรับ Safe Trip การเที่ยวให้ปลอดภัย หากเกิดสถานการณ์ที่ไม่ปกติ

เทคนิคเตรียมความพร้อมและเอาตัวรอด

1. สอบถามเบื้องต้นกับทางโรงแรม

สำหรับการเที่ยวแบบ Safe Trip ข้อแรก คุณอาจสอบถามพนักงานที่เคาน์เตอร์ว่า โรงแรมแห่งนี้มีระบบป้องกันความปลอดภัย หรือเคยมีการฝึกซ้อมแผนอพยพฉุกเฉินหรือไม่ จากนั้นให้ลองสังเกตหาจุดที่เป็นสัญญาณเตือนภัยหรือสัญญาณเตือนอัคคีภัยว่ามีอยู่ตรงไหนบ้าง หรือหากโรงแรมที่คุณเข้าพักนั้นอยู่ริมทะเลในพื้นที่เสี่ยงที่อาจจะเกิดสึนามิ ก็ให้สอบถามถึงแผนอพยพของพวกเขาหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น รวมถึงจุดที่ปลอดภัยที่สุดในโรงแรม ซึ่งคำถามทั้งหมดนี้ไม่ใช่คำถามที่เสียมารยาทแต่อย่างใด และพนักงานจะไม่มองว่าคุณบ้าที่ถามคำถามประเภทนี้ ตรงกันข้าม พวกเขาจะให้คำตอบสำหรับทุกคำถามของคุณด้วยความเต็มใจ

2. ประเมินสภาพแวดล้อมภายในห้องพัก

เมื่อได้ห้องพักเรียบร้อยแล้ว ให้สำรวจภายในห้องพัก และเพื่อความสบายใจคุณอาจจะปรับเปลี่ยนห้องพักของคุณเพื่อให้มีความปลอดภัยมากขึ้น โดยการย้ายเตียงให้ห่างจากตู้เสื้อผ้ามากที่สุด จนแน่ใจว่าอยู่ในรัศมีที่ปลอดภัย จากนั้นให้มองหาถังดับเพลิงที่อยู่ใกล้ที่สุด และคุณต้องแน่ใจว่าประตูฉุกเฉินหรือประตูหนีไฟไม่ได้ถูกล็อกเอาไว้

3. เขียนแผนเรียกรวมพลสำหรับครอบครัว

ในขั้นตอนการเตรียมตัวออกเดินทางท่องเที่ยว นอกจากเรื่องของการเดินทาง แผนการเที่ยว เสื้อผ้า ยารักษาโรค ฯลฯ สิ่งหนึ่งที่คุณควรจะเตรียมเอาไว้เช่นกันก็คือ แผนเรียกรวมพล Safe Trip โดยนัดหมายสถานที่เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้มาเจอกันในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน โดยคุณต้องมั่นใจว่าเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยมากที่สุด เพราะในช่วงเกิดเหตุการณ์ใดๆ ก็แล้วแต่ ความวุ่นวายจะทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นเรื่องที่ยากมาก และอาจทำให้สมาชิกในครอบครัวพลัดหลงกันได้

4. พกพาไฟฉาย

ซึ่งไฟฉายที่คุณควรนำติดตัวไปด้วยควรเป็นไฟฉาย LED ระดับโปรฯ เพราะจะให้แสงสว่างได้นานกว่าไฟฉายธรรมดา ที่สำคัญข้อดีของการพกไฟฉายคือนอกจากให้แสงสว่างแล้ว ยังใช้ส่องเพื่อขอความช่วยเหลือได้อีกด้วย ทั้งนี้นักท่องเที่ยวไม่ควรจุดไม้ขีดในกรณีที่เกิดเหตุแล้วไฟดับ เนื่องจากอาจทำให้เกิดการระเบิดได้หากมีการรั่วไหลของก๊าซในบริเวณใกล้ๆ

5. คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ

พกพายาเม็ดโปแทสเซียมไอโอไดด์ (ไอโอดีนเม็ด) และเครื่องกรองน้ำแบบพกพาติดตัวไปด้วย เพราะไอโอดีนเม็ด จะช่วยป้องกันการดูดซึมของสารกัมมันตรังสี สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ส่วน เครื่องกรองน้ำแบบพกพานั้นมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก และมีคุณภาพสูงในการกรองน้ำดื่ม ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งอาจมีสารเคมีหรือสารกัมมันตรังสีปะปนมากับน้ำ ทำให้ไม่สามารถดื่มน้ำตามธรรมชาติได้

เทคนิคในการเที่ยว - ท่องเที่ยวได้ปลอดภัย เที่ยวได้สบายใจ

6. อย่าลืมนำหน้ากากป้องกันฝุ่นติดตัวไปด้วย

ไม่เพียงเฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวเท่านั้น แต่ในเหตุการณ์ไฟป่าที่อินโดนีเซียเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก โดยหน้ากากป้องกันฝุ่น N95 นั้นมีคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันอนุภาคอันตรายของฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนที่ปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศได้ถึง 10 เท่าของค่ามาตรฐานความปลอดภัยของสารนั้นๆ

7. ก้มต่ำ! หาที่กำบัง! ยึดไว้ให้แน่น!

เมื่อคุณรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนใดๆ ให้มองหาโต๊ะตัวที่อยู่ใกล้ที่สุดแล้วหมอบตัวลง หลบเข้าไปใต้โต๊ะ และยึดขาโต๊ะไว้ให้แน่นจนกว่าแรงสั่นสะเทือนจะจบสิ้นลง แต่หากไม่มีโต๊ะ ให้ขึ้นไปนอนบนเตียงแล้วซุกหน้าลงกับเตียง พลางใช้หมอนมาคลุมทับศีรษะและลำคอเอาไว้ เนื่องจากเป็นจุดเสี่ยงที่สุดที่จะได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้ห้ามนักท่องเที่ยวเข้าไปหลบภัยในอ่างอาบน้ำ หรือบริเวณที่อยู่ใกล้ๆ กับกระจก กระเบื้องอย่างเด็ดขาด เพราะมันอาจจะแตกหักและทำอันตรายคุณได้ง่ายๆ

8. รู้สัญญาณเตือนภัยสึนามิ

ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทำให้ก่อนเกิดสึนามิ นักท่องเที่ยวจะได้รับสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อให้มีเวลาหลบหนีได้ทันท่วงที โดยการทำงานของสัญญาณเตือนภัยนี้จะเกิดขึ้นหลังจากทุ่นที่ติดตั้งในทะเลได้รับรายงานถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของคลื่นในทะเลอย่างละเอียดและตลอดเวลา จากนั้นจึงส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมและถ่ายทอดสัญญาณมายังสถานีภาคพื้นดิน เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด จากนั้นจึงส่งสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียมไปยังหอเตือนภัยต่างๆ ตามแนวชายฝั่ง

ซึ่งการเตือนภัยจะมีอยู่ 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ แจ้งข่าว เฝ้าระวัง เตือนภัย และยกเลิก หรือหากไม่ได้ยินสัญญาณเตือนก็ให้สังเกตระดับน้ำทะเลที่จะถอยร่นลงไปอย่างผิดปกติ

9. หนีขึ้นสู่ที่สูง

หากย้อนเหตุการณ์ไปช่วงแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียปี 2004 และแผ่นดินนอกชายฝั่งแปซิฟิกโทโฮกุปี 2011 จะสังเกตเห็นว่าส่วนใหญ่ผู้ที่เสียชีวิตจะอยู่บนพื้นดินหรือในอาคารที่ต่ำกว่า 2 ชั้น ดังนั้นวิธีเอาตัวรอดก็คือการพาตัวเองขึ้นไปอยู่ในที่สูงให้มากที่สุด ไม่ว่าจะบนเขาหรือบนตึกบนอาคาร ซึ่งส่วนใหญ่โรงแรมในพื้นที่ชายฝั่งจะสร้างเป็นอาคารคอนกรีตสูงอยู่แล้ว ดังนั้นนักท่องเที่ยวสามารถหลบหนีคลื่นสึนามิโดยขึ้นไปบนชั้นสูงๆ ได้

“ภัยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ คือสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมหรือคาดเดาได้ ดังนั้นสิ่งเดียวที่จะช่วย Safe Trip และทำให้เรา “รอด” ได้ก็คือการป้องกันและเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ โดยเฉพาะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้อย่างกะทันหันและตลอดเวลา โดยไม่เลือกฤดูกาลอย่างแผ่นดินไหว และสึนามิ ซึ่งเราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าได้เลยว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่? ตอนไหน? และที่ไหน?”

อย่างไรก็ตาม บทความนี้เราไม่ได้ต้องการให้คุณรู้สึกกลัวธรรมชาติจนไม่กล้าเดินทางไปท่องเที่ยวที่ไหน แต่เราแค่อยากให้คุณเตรียมพร้อม เพื่อให้คุณสามารถ Safe Trip เที่ยวอย่างปลอดภัย ในทุกสถานการณ์ เท่านั้น!!

12267-attachment

ยิ่งถ้าเราไปเที่ยวหรือทัวร์เชียงราย ถือว่ามันสามารถที่จะสร้างเเหล่งท่องเที่ยวได้ดีมากเลยที่เดียว เพราะการท่องเที่ยวที่เชียงรายนั้นมันเป็นพื้นที่สูงชั้น มันเป็นพื้นที่หุบเขา ฉะนั้นการเตรียมตัวการท่องเที่ยวถือได้ว่ามันสามารถสร้างความปลอดภัยให้เราได้ในระดับหนึ่งได้ – เที่ยวเชียงราย อย่าลืมนึกถึงทัวร์เชียงราย ให้บริการสัมผัสบรรยากาศใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้สัมผัส / เที่ยวเชียงรายไปกับทัวร์เชียงรายได้ที่ goo.gl/PrxhS6

บทความแนะนำ