Enconcept การศึกษา นักเรียนไทย

ตอบทุกข้อสงสัย TGAT และ TPAT ข้อสอบแบบใหม่ ใน TCAS66

Home / ข่าวประชาสัมพันธ์ / ตอบทุกข้อสงสัย TGAT และ TPAT ข้อสอบแบบใหม่ ใน TCAS66

อย่างที่ทราบกันดีว่า การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยนั้น ก็เพื่อประโยชน์ของน้องๆ มัธยมปลายทุกคน ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน มีการเปลี่ยนแปลงระบบการคัดเลือก TCAS ที่ได้เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 มาเป็น tcas 66 ซึ่งเชื่อว่ามีน้องๆ หลายคนที่ยังสับสนว่าจริงๆ แล้วระบบ TCAS คืออะไรแน่แล้ว tcas 66 มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง จะต้องเตรียมตัวอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจ ตอบทุกข้อสงสัย TGAT และ TPAT ข้อสอบแบบใหม่ใน TCAS66 พร้อมๆ กัน

TGAT และ TPAT ข้อสอบแบบใหม่

TCAS คืออะไร

TCAS หรือ Thai University Center Admission System เป็นระบบที่ออกแบบขึ้นมาโดย ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. ได้กำหนดรูปแบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2561 โดยมีสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. เป็นผู้จัดสอบ ซึ่งระบบ TCAS จะเป็นการคัดเลือกด้วยการสอบวัดความรู้หลักๆ คือ GAT, PAT, ONET และวิชาสามัญอื่นๆ

ส่วนน้องๆ ที่จะทำการสอบเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยด้านการแพทย์ เช่น แพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ ก็จะมีการทดสอบความถนัดแพทย์โดย กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ กสพท. เข้ามาร่วมเป็นหน่วยงานที่ร่วมกันคัดเลือก และจะมีการใช้คะแนน GPAX ด้วย

ระบบ TCAS66 แบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 รอบด้วยกัน

1. Portfolio คือ ให้นำเสนอผลงานของนักเรียนเพื่อประกอบการคัดเลือก เพื่อแสดงให้เห็นถึงทักษะ ศักยภาพ หรือมีความสามารถพิเศษที่โดดเด่นอย่างไรบ้าง ในรอบ Portfolio นี้จะไม่มีการสอบข้อเขียน แต่อาจจะมีสัมภาษณ์หรือทดสอบเฉพาะทาง

วิชาที่ใช้ในการสอบ คือ TGAT, TPAT, GPAX

2. Quota สำหรับนักเรียนในโครงการพิเศษ เช่น ด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ ฯลฯ และกลุ่มที่มีหลักฐานหรือภูมิลำเนาอยู่รอบเขตการศึกษา หรือพื้นที่ตามเกณฑ์มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งรอบโควตานี้ทางมหาวิทยาลัยสามารถกำหนดจัดสอบขึ้นเองได้เลย

วิชาที่ใช้ในการสอบ คือ TGAT, TPAT, A-Level, GPAX

3. Admission โดยเป็นพิจารณาจากคะแนนสอบ 2 รูปแบบ ดังนี้

– Admission 1 หรือการรับตรงร่วมกัน ใช้คะแนนสอบเป็นเกณฑ์การคัดเลือก โดยมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้คัดเลือก

วิชาที่ใช้ในการสอบ คือ TGAT, TPAT, A-Level, GPAX

– Admission 2 หรือการรับกลางร่วมกัน ใช้คะแนนสะสมระหว่างเรียนในชั้นเรียนมาเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก

4. Direct Admission การรับตรงอิสระ จะเป็นการเลือกรับเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่มีที่เรียน หรือยังไม่มีมหาวิทยาลัยที่ถูกใจ โดยแต่ละมหาวิทยาลัย สามารถเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ และเปิดการคัดเลือกได้เอง

วิชาที่ใช้ในการสอบ คือ TGAT, TPAT, A-Level, GPAX

TCAS66 ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่ออะไร

  • เพื่อลดความซ้ำซ้อนของวิชาที่ใช้จัดสอบ
  • เป็นการเน้นเรื่องการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานมากกว่า แต่จะดูแลให้เนื้อหาอยู่ในหลักสูตร
  • เปลี่ยนรูปแบบการสอบจาก GAT, PAT และวิชาสามัญ เป็น TGAT, TPAT และ A-Level
  • กำหนดให้ทุกวิชามีคะแนนเต็ม 100 เท่ากัน

มารู้จักกับรูปแบบการสอบใน TCAS66

TGAT คือ

TGAT หรือ Thai General Aptitude Test เป็นรูปแบบการสอบวัดความรู้ทั่วไปที่ปรับเปลี่ยนมาจากระบบ GAT มีคะแนน 100 คะแนนเต็ม ประกอบด้วย ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ การใช้เหตุผลและการคิดอย่างมีตรรกะ สมรรถนะในการทำงานในอนาคต ในเรื่องของสมรรถนะ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อย่อย คือ การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน และการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม

TPAT คือ

TPAT หรือ Thai Professional Aptitude Test เป็นรูปแบบการสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพที่ปรับเปลี่ยนมาจากระบบ PAT เดิม มีคะแนน 100 คะแนนเต็ม จำนวนที่ใช้สอบจำนวน 5 กลุ่มด้วยกัน คือ ความถนัดทางด้านแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์

A-Level คือ

A-Level หรือ Applied Knowledge Level หรือวิชาสามัญ โดยทางกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีการวัดความรู้ แบบมุ่งเน้นให้มีการนำความรู้เชิงวิชาการนี้ไปปรับใช้ได้จริง และจะไม่ออกข้อสอบที่มากกว่าเนื้อหาที่บรรจุไว้ในหลักสูตร ซึ่งการสอบ A-Level จะเป็นการสอบด้วยกระดาษ มีทั้งหมด 10 วิชา คือ คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 และ 2 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นๆ

หลักเกณฑ์ในการสละสิทธิ์ TCAS 66

  1. หลังจากผ่านการคัดเลือกแล้ว ยืนยันไม่ใช้สิทธิ์ที่ได้รับ
  2. หลังผ่านการคัดเลือกแล้ว กดยืนยันรับสิทธิ์ศึกษาต่อ แต่เปลี่ยนใจกดสละสิทธิ์ในระบบ TCAS
  3. ในรอบ Portfolio ยืนยันไม่ใช้สิทธิ์ที่ได้รับ 2 ครั้ง คือ รอบที่ 1 และรอบที่ 2
  4. ในรอบ Quota ยืนยันไม่ใช้สิทธิ์ที่ได้รับ 1 ครั้ง
  5. ในรอบ Admission จะสละสิทธิ์ไม่ได้ แต่ให้เลือกไม่ใช้สิทธิ์แทน เพื่อให้โอกาสตัวสำรองได้มีโอกาสขึ้นมาแทน

คงคลายสงสัยกันไปแล้วบ้าง กับระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในการสอบชิงเข้าระดับมหาวิทยาลัย ที่มีการปรับปรุงรูปแบบใหม่ หรือ tcas 66 ที่เรานำมาฝากกัน ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ว่าจะเป็นการสอบรูปแบบไหน สิ่งสำคัญคือ การเตรียมตัวให้พร้อมในทุกสนามสอบ และสำหรับใครที่กำลังมองหาคอร์สเรียนดีๆ ที่มีครบถ้วนและครอบคลุมทุกเนื้อหา ที่จะช่วยให้พิชิตข้อสอบได้อย่างง่ายดาย ขอแนะนำ Enconcept สถาบันสอนภาษาอังกฤษ อันดับ 1 ยอดนิยมของประเทศไทย ที่มีทุกอย่างครบ ตอบโจทย์ทุกความต้องการ พร้อมจะพาทุกคนไปสู่เป้าหมายในทุกสนามการสอบแข่งขัน

บทความแนะนำ