Campus star
  • Login
  • Login with Facebook
  • HOME
  • CAMPUS
    • หน้าหลัก
    • ข่าวการศึกษา
    • ดาวเด่น แคมปัสสตาร์
    • วาไรตี้
    • กิจกรรม
    • ONET
    • GAT/PAT
    • มุมต่างๆ ในมหาวิทยาลัย
    • ชิลล์เอ้าท์
    • เรื่องเล่าในสถาบัน
    • สถาบันการศึกษา
    • บทความการทำงาน
  • LIFESTYLE
    • หน้าหลัก
    • เรื่องทั่วไป
    • แฟชั่น
    • DIY
    • บันเทิง
    • สาระความรู้
    • หนังสือน่าอ่าน
    • ดูดวง
    • Picpost
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • Event
  • LOVE
    • หน้าหลัก
    • ความรัก ความสัมพันธ์
    • เพื่อน
    • ทายนิสัย ทายใจ
  • HEALTH
    • หน้าหลัก
    • สุขภาพทั่วไป
    • เพศศึกษา
campus star
  • CAMPUS
    • ข่าวการศึกษา
    • ดาวเด่น แคมปัสสตาร์
    • วาไรตี้
    • กิจกรรม
    • ONET
    • GAT/PAT
    • มุมต่างๆ ในมหาวิทยาลัย
    • ชิลล์เอ้าท์
    • เรื่องเล่าในสถาบัน
    • สถาบันการศึกษา
    • บทความการทำงาน
  • LIFESTYLE
    • เรื่องทั่วไป
    • แฟชั่น
    • DIY
    • บันเทิง
    • สาระความรู้
    • หนังสือน่าอ่าน
    • ดูดวง
    • Picpost
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • Event
  • LOVE
    • ความรัก ความสัมพันธ์
    • เพื่อน
    • ทายนิสัย ทายใจ
  • HEALTH
    • สุขภาพทั่วไป
    • เพศศึกษา
Wheel Share Journey

Wheel Share Journey ส่งต่อ โอกาส และ ความเท่าเทียม ให้ผู้พิการ

Home / ข่าวประชาสัมพันธ์ / Wheel Share Journey ส่งต่อ โอกาส และ ความเท่าเทียม ให้ผู้พิการ
A-E-I-O-U A-E-I-O-U November 7, 2019 51
แชร์

บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดโครงการ “Wheel Share Journey” เพื่อส่งเสริมให้คนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญการให้โอกาสและสร้างความเท่าเทียมที่มีต่อผู้พิการในสังคมไทย จัดประกวด “ออกแบบรถเข็นเพื่อคนพิการ” ที่จะเป็นการนำเอาองค์ความรู้ ความสามารถของนักศึกษาทั่วประเทศที่สนใจให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาต้นแบบรถเข็นที่เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ท่องเที่ยวต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ผู้พิการในประเทศไทยต่อไป

โครงการ Wheel Share Journey

โดยได้เริ่มโครงการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 เป็นต้นมา มีนิสิตนักศึกษาทั่วประเทศส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจำนวน 287 ทีม จนคัดเหลือ 10 ทีมสุดท้าย มาร่วมแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ วันที่ 6 ต.ค. 62 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งจะนำรถเข็นต้นแบบเข้ารับการทดสอบในสนามจำลองสภาพพื้นที่ต่างๆ ทั้งนี้ทีมที่ชนะเลิศจะใช้เป็นต้นแบบไปผลิตจริง และส่งต่อไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่สนใจอยากได้รถเข็นไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวก็สามารถติดต่อมายังโครงการเพื่อขอรับรถเข็นได้อีกด้วย

Wheel Share Journey

ทั้งนี้ 10 ทีมสุดท้ายรอบชิงชนะเลิศ ต้องผลิตรถเข็นต้นแบบและนำมาใช้ทดสอบในสนามจำลองที่ออกแบบพื้นที่ให้มีลักษณะต่างๆ เช่นเดียวกับโอกาสที่จะสามารถพบเจอได้ในการเดินทางในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นลาดชัน ทางซิกแซก พื้นผิวขรุขระ พื้นทราย ขณะที่เกณฑ์ในการตัดสินจะให้น้ำหนักสำคัญจากความสามารถในการนำไปใช้งานได้จริงเป็นหลัก รวมไปถึงเรื่องของการออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ และความทนทานของอุปกรณ์ที่นำมาผลิตรถเข็น ขณะที่คณะกรรมการตัดสินมีนักกีฬาพาราลิมปิกไทย คือ คุณสายสุณีย์ จ๊ะนะ นักกีฬาวีลแชร์ฟันดาบคนพิการทีมชาติไทย คุณเธียร ทองลอย นักกีฬาวีลแชร์ยิงธนู ทีมชาติไทย และคุณชนันท์กานต์ เตชะมณีวัฒน์ นักกีฬาวีลแชร์เทนนิสคนพิการทีมชาติไทย มาร่วมเป็นกรรมการตัดสิน

Wheel Share Journey

สำหรับทีมชนะเลิศ คือ ทีม MEC_T จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท ทีมอันดับที่ 2 คือ Mega chance จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท และอันดับที่ 3 คือ ทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้รับเงินรางวัล 60,000 บาท และในส่วนของรถเข็นต้นแบบที่ผ่านการคัดเลือกจะถูกนำไปพัฒนาต่อเตรียมผลิตให้แก่สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในประเทศไทย

Wheel Share Journey

คุณจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กล่าวว่า “โครงการ Wheel Share Journey ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีนิสิตนักศึกษาส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการนี้จำนวนมาก ขณะที่เกณฑ์ในการตัดสินจะให้น้ำหนักสำคัญจากความสามารถในการนำไปใช้งานได้จริงเป็นหลัก รวมไปถึงเรื่องของการออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์ และความทนทานของอุปกรณ์ที่นำมาผลิตรถเข็น หลังจากได้ผู้ชนะจากโครงการแล้ว เราจะร่วมกับ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำรถเข็นต้นแบบของทีมที่ชนะไปผลิตเป็นของจริง โดยทางมูลนิธิจำนงค์ ภิรมย์ภักดี จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการทำการผลิตชุดแรก เพื่อส่งมอบให้สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงสถานที่ที่สนใจอยากได้รถเข็นไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวก็สามารถติดต่อมายังโครงการเพื่อขอรับรถเข็นได้ ซึ่งหลังจากกระบวนการผลิตแล้วเสร็จ ทางโครงการก็จะดำเนินการจัดส่งรถเข็นไปให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย”

Wheel Share Journey

“ทั้งนี้ การจัดประกวดออกแบบรถเข็นเพื่อคนพิการในครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ ความสามารถของนิสิต นักศึกษาไทย รวมทั้งการใช้ไอเดียและความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างประโยชน์ต่อสังคม โดยที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการผลิต รวมทั้งยังมีบทบาทในการเป็นผู้ช่วยขยายเครือข่าย ส่งต่อองค์ความรู้ไปยังสถาบันต่างๆ ที่ต้องการต้นแบบรถเข็นนี้เพื่อนำไปผลิตเอง รวมไปถึงยังสามารถต่อยอดไปสู่โครงการในการฝึกอาชีพเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมให้แก่กลุ่มผู้พิการต่างๆ ได้อีกทางหนึ่ง”

Wheel Share Journey

นายวรุตม์ บุศย์รัศมี (ตุลา) นายธีรพล คงดีพันธ์ (เรน) นายพรพนา เก้าแพ (แม็ค) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ทีม MEC_T จากสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า “แนวคิดและแรงบันดาลใจในการทำรถเข็นคันนี้ มาจากอาจารย์ที่ปรึกษาครับ อาจารย์เข้ามาแนะนำโครงการ ซึ่งพวกผมเป็นกลุ่มเพื่อนที่สนิทกันอยู่แล้วจึงสนใจอยากจะรวมทีมสร้างรถเข็นที่สามารถพาผู้พิการไปได้ทุกที่ เพราะว่ารถเข็นที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีขีดจำกัดในการเคลื่อนที่บนพื้นผิวต่างๆ ผมก็เลยได้ปรึกษากันในทีมหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้รถเข็นของเรานั้นสามารถไปได้ทุกพื้นที่ ซึ่งผม (แม๊ค) เป็นคนที่ปั่นจักรยานอยู่แล้วด้วย ผมเลยได้รู้จักเกี่ยวกับจักรยานชนิดหนึ่ง ที่สามารถลุยทรายได้และมีน้ำหนักเบามันคือจักรยาน Fatbike ผมเลยคิดเอาล้อของมันมาใส่ในรถเข็นของพวกเรา

Wheel Share Journey

“และอีกแนวคิดหนึ่งคือ คนพิการทุกคน อาจจะไม่มีกำลังแขนที่แข็งแรงเท่ากันทุกคน เพราะฉะนั้นในทางลาดชันมีความสำคัญมากผมเลยมีแนวคิดนำระบบกันกลับที่ใช้ในรถเข็นในสนามบินมาใช้ เพื่อให้ผู้พิการสามารถหยุดพักได้ระหว่างขึ้นทางชัน” อีกแนวคิดหนึ่งคือ พวกเราได้เข้าไปศึกษารถเข็นที่ใช้ในต่างประเทศ ผมได้เข้าไปเจอรถเข็นที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งรถคันที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่นสามารถลุยหิมะได้ ผมเลยเข้าไปดูว่าเขาทำยังไง ผมได้พบว่าที่ล้อหน้าของเขา มีการนำตัวสกี มาใส่เพื่อให้สามารถลุยหิมะได้ ผมเลยเอาแนวคิดนี้มาใช้ในการเข็นบนพื้นทราย”

Wheel Share Journey

“สำหรับหลักการใช้งานของรถเข็น คือจะมีลักษณะพิเศษคือล้อโต สามารถลุยไปได้ทุกพื้นที่และยังมีระบบความปลอดภัยคือตัวเฟืองกันกลับที่สามารถให้ผู้ป่วยหยุดพักได้ระหว่างขึ้นทางชัน แล้วตัวรถเข็นยังมีระบบ GPS แจ้งเตือนเมื่อรถเข็นเกิดการคว่ำ หรืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่พร้อมใช้งาน และยังมีปุ่มกดขอความช่วยเหลือในเวลาที่ผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน การแจ้งเตือนจะแจ้งเตือนไปทางไลน์ของผู้ดูแล และเจ้าหน้าที่ ส่วนที่อยากจะพัฒนาต่อไป คือ พัฒนาให้รถเข็นมีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรง มีความปลอดภัย และเพิ่มความคล่องตัวมากขึ้น”

Wheel Share Journey

บทความแนะนำ

  • สิงห์ คอร์เปอเรชั่น ชวนนักศึกษาออกแบบวีลแชร์ใน โครงการ Wheel Share Journey
Wheel Share Journey
Share
A-E-I-O-U
ABOUT THE AUTHOR

A-E-I-O-U

ชอบความบันเทิงไทย-เกาหลี, K-POP, สุขภาพ, จักรวาล Marvel และ Harry Potter

เรื่องอื่นในหมวด ข่าวประชาสัมพันธ์

    ปัญหาผิวรอบดวงตาต่างๆ เกิดจากอะไร

    ริ้วรอยรอบดวงตา ใต้ตาคล้ำ ถุงใต้ตา เกิดจากอะไร? และแก้ไขได้อย่างไรให้เห็นผล?

    October 3, 2023October 4, 2023
    ขยี้ตาแรงบ่อยๆ

    ระวังให้ดี! ขยี้ตาแรงบ่อยๆ ส่งผลร้ายต่อรอบดวงตา มากกว่าที่คิด

    October 3, 2023October 4, 2023

    ขั้นตอนบริการและซ่อมนาฬิกา ที่ศูนย์ Rolex เปลี่ยนนาฬิกาเรือนเก่า ให้กลับมางดงามดังเดิม

    October 3, 2023October 4, 2023
    นาฬิกา Rolex Datejust 31

    Rolex Datejust 31 นาฬิกาที่อยู่เหนือกาลเวลา ด้วยดีไซน์สุดคลาสสิก และวัสดุที่เปี่ยมคุณค่า

    October 3, 2023October 4, 2023
  • แสดงความเห็นบน Facebook

บทความสุดฮิต

100 ประโยคภาษาจีน – ถาม-ตอบ ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน

366,916
ชะตาประจำปีเกิด

ชะตาประจำปีเกิด นับวนตามภาพ เวียนซ้าย-ขวา / ความเชื่อส่วนบุคคล

335,125
15 คำอวยพรวันจบการศึกษา ภาษาอังกฤษ

15 คำอวยพรวันจบการศึกษา ภาษาอังกฤษ พร้อมคำแปล | Congratulations

1,936,783
แอบส่องหนุ่มๆ วง G-JR

แอบส่องหนุ่มๆ วง G-JR ตอนนี้แต่ละคน เป็นยังไงกันบ้างนะ – ใครทันบ้างยกมือ

72,271
  • CAMPUS
    • การศึกษา วาไรตี้
    • มุมสวยต่างๆ ชาวมอ
    • ตรวจสอบ Admission
  • LIFESTYLE
    • แฟชั่น เสื้อผ้า
    • ปิดเครื่อง / แบตหมด
    • แจก อิโมติคอน Emoticon อารมณ์ต่างๆ
  • LOVE
    • เพื่อน
    • ทายใจ ทายนิสัย
  • HEALTH
    • สุขภาพทั่วไป
    • เพศศึกษา
Copyright © 2023 campus-star.com All rights reserved.
หมายเลขทะเบียนพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์: 0127114707057
• เกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้บริการ • นโยบายความเป็นส่วนตัว • นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล • นโยบายคุกกี้ • ติดต่อโฆษณา • FAQs
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เพื่อการนำเสนอเนื้อหาที่ดี รวมถึงการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากคุณใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆนั้น แสดงว่าคุณยอมรับนโยบายคุกกี้และนโยบายส่วนบุคคลของเรา