ทุ่งกุลาร้องไห้ นายฮ้อยทมิฬ ร้อยเอ็ด

ทุ่งกุลาร้องไห้ คือ ทุ่งกุลาสดใส ในวันนี้ – เรื่องเล่าสืบกันมาของชนเผ่ากุลาในไทย

Home / สาระความรู้ / ทุ่งกุลาร้องไห้ คือ ทุ่งกุลาสดใส ในวันนี้ – เรื่องเล่าสืบกันมาของชนเผ่ากุลาในไทย

ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ศรีสะเกษ ยโสธร สุรินทร์ ทั้ง 5 จังหวัดนี้มีความเกี่ยวข้องกับ ทุ่งกุลาร้องไห้ อย่างไร ของอ่านความเป็นมาที่เรานำมาฝากนี้กันค่ะ .. มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ (มีอาชีพค้าขายระหว่างเมือง นำสินค้าประเภทสีย้อมผ้า เครื่องทองเหลืองต่าง ๆ) ปกติแล้วชนเผ่ากุลาเป็นชนเผ่าที่มีความอดทนสูงมาก สู้งาน สู้แดด ลม ฝน…

ทุ่งกุลาร้องไห้ คือ ทุ่งกุลาสดใส ในวันนี้

แต่เมื่อได้เดินทางผ่านทุ่งแห่งนี้ ที่มีพื้นที่กว้างขวางเหลือประมาณ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินก็เป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย จะขอความช่วยเหลือจากใครก็ไม่ได้ เพราะไม่มีใครให้ขอความช่วยเหลือ มีแต่แดด ต้นหญ้า และดินปนทราย ถึงเวลาค่ำคืน ทั้งหิว ทั้งเหนื่อยสายตัวแทบขาด ร่างกายขาดน้ำทำท่าจะตายเอา ทั้งหมดจึงได้แต่นอนร้องไห้

จนมีชาวพื้นเมืองผ่านมาพบเข้า จึงช่วยเหลือหาบหามกันไปพยาบาลในหมู่บ้าน ชาวกุลาผู้รอดตายจึงเล่าเหตุการณ์ก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือว่า “เอาแต่นอนไห้เพียงอย่างเดียว” ดังนั้นชาวบ้านจึงตั้งชื่อทุ่งนี้ว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ “ทุ่งกุลาร้องไห้

ที่ราบขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอ 5 จังหวัด ได้แก่ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม; อ.ชุมพลบุรีและอ.ท่าตูม จ.สุรินทร์; อ.ปทุมรัตต์ อ.เกษตรวิสัย อ.สุวรรณภูมิ อ.โพนทราย และ อ.หนองฮี จ.ร้อยเอ็ด; อ.ศิลาลาด อ.ราษีไศล และอ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ; อ.ค้อวังและอ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร 

โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด ในอดีต ทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้งมาก ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ใต้พื้นดินลงไปเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรได้

ทุ่งกุลาสดใส

แต่ในปัจจุบันเรียกดินแดนแถบนี้ว่า “ทุ่งกุลาสดใส” เพราะรัฐบาลไทยร่วมมือกับรัฐบาลออสเตรเลีย ส่งเจ้าหน้าที่ผู้มีความเชี่ยวชาญในการพลิกผืนดินที่ไร้ประโยชน์ ให้สามารถทำประโยชน์ได้ด้วยการทำถนน สร้างอ่างเก็บน้ำที่มีอย่างเหลือเฟือในฤดูฝน ขุดคลองซอยอย่างถี่ยิบ แล้วผันน้ำเข้สู่คลองซอย ผืนดินที่แห้งแล้งสีน้ำตลก็เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม เต็มไปด้วยพืชพรรณธัญญาหาร ทุ่งกุลาร้องไห้ จึงถูกเรียกใหม่เป็น ทุ่งกุลาสดใส .. ทุ่งกุลาร้องไห้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ

เพื่อรักเพื่อเรา [เพลงละครนายฮ้อยทมิฬ]

ไมค์ ภิรมย์พร

ภาพในอดีต จ.ร้อยเอ็ด

ภาพการค้าขายในอดีตที่เมืองร้อยเอ็ด

การตักน้ำที่นอกเมืองร้อยเอ็ด

ที่มา ภาพสาเกตุนครชุด 2

กุลา จากชนเผ่าพ่อค้าเร่ สู่ตำนานแห่งท้องทุ่ง

เขามาจากที่ไกล เดินทางรอนแรม
สู่พื้นที่เขตแล้ง ทางแห่งชาวกุลา
นายกองตองสู เดินทางขายสินค้า
ผ่านดินพงพนา สู่ท้องทุ่งกว้างใหญ่

พื้นที่กว้าง หนทางเงียบเหงา
จากบุรีรัมย์ยากเดา พื้นที่ต่อไป
ถึงมหาสารคาม ครวญคร่ำน้ำตาไหล
โอ้หนอคิดว่าจบได้ ความเหนื่อยล้าแรง

เดินทางหาบของ มองตะวันเม็ดเหงื่อริน
สองมือปาดเหงื่อถวิล โอ้คนถิ่นไกล
ถึงสุรินทร์ เกือบสิ้นใจ
คนค้าคนขาย ร่างกายต้องทน

โอ้เอ๋ย…จำจร รอนแรมไป
ฟ้าจรดทราย ดินจรดฟ้าทุกแห่งหน
ผ่านทุ่งมหาสารคาม อ้างว้างหมองหม่น
คนค้าขายสุดทน นั่งร้องไห้ในทุ่งกุลา

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด

บึงพลาญชัย , วนอุทยานผาน้ำย้อย , วัดบูรพาภิราม , วัดกลางมิ่งเมือง , วัดสระทอง , พิพิธภัณฑ์แห่งชาติร้อยเอ็ด , สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด , สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ , สวนสาธารณะ พุทธประประวัติ เวสสันดรชาดก , สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี , ปรางค์กู่ , กู่กาสิงห์ , กู่พระโกนา , ทุ่งกุลาร้องไห้ , บึงเกลือ , เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์

นิทาน ทุ่งกุลาร้องไห้ http://www.nithan.in.th

ตำนาน ทุ่งกุลาร้องไห้ http://www.tumnandd.com

อ่านเพิ่มเติม วิกิพีเดียesan108.com , roiet.go.th/visit101/tungkula.html , www.baanmaha.com , วัฒนธรรมทุ่งกุลากับนาทาม

รูปภาพในอดีต ดูเพิ่มเติมที่นี่ sites.google.com/site/pravatsart ภาพหน้าปกจาก ตำนานเล่าขานทุ่งกุลาร้องไห้