หลายๆ คนอาจจะยังไม่เคยรู้กันมาก่อนว่า ขนาดของประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้น เป็นขนาดที่เกิดจาก “เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์” ซึ่งมันไม่ใช่ขนาดที่แท้จริงของแต่ละประเทศตามที่เราถูกสอนมาหรอกนะ ว่าแต่มันคืออะไรนั้น มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปพร้อมๆ กันได้เลย
เรื่องน่ารู้ ของแผนที่และเส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์
เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เตเตอร์ (Mercator projection) คือ การแสดงแผนที่ลูกโลกบนผิวสัมผัสทรงกระบอก ซึ่งได้รับการนำเสนอในปี ค.ศ. 1569 โดย เกราร์ดุส แมร์กาตอร์ (Gerardus Mercator) นักภูมิศาสตร์และนักทำแผนที่ชาวเฟลมิช
เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ มีคุณสมบัติในการรักษาทิศทาง จึงสามารถแสดงเส้นทิศทางให้เป็นเส้นตรงลงบนแผนที่ เท่ากับเป็นการรักษาค่าของมุมที่ทำกับเส้นเมริเดียน อีกทั้งยังรักษารูปร่างของวัตถุบนแผนที่ให้มีลักษณะรูปร่างคงเดิม นอกจากนี้เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ ยังมีคุณสมบัติในการรักษาอัตราส่วนของระยะทางในทุกทิศทางจากจุดใดจุดหนึ่งให้มีค่าเท่ากันตลอดทั้งแผนที่ ซึ่งการรักษาคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการใช้งานสำหรับการเดินเรือในทะเล
การแสดงแผนที่แบบนี้จะมีการขยายขนาดของวัตถุเกิดขึ้น เมื่อละติจูดมีค่าสูงขึ้นนับจากจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้ ยกตัวอย่างเช่น กรีนแลนด์และแอนตาร์กติก เมื่อแสดงลงบนแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์จะมีขนาดใหญ่กว่าในความเป็นจริง เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับแผ่นพื้นทวีปที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร หรืออะแลสกาเมื่อปรากฏบนแผนทื่จะมีขนาดเท่าประเทศบราซิล ซึ่งในความเป็นจริง บราซิลมีขนาดใหญ่กว่าอะแลสกาถึง 5 เท่า (ถีงแม้จะถูกขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น แต่ลักษณะรูปร่างยังคงเดิม) เป็นต้น
ภาพแสดงขนาดของกรีนแลนด์และออสเตรเลียในความเป็นจริง แต่ในการแสดงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ กรีนแลนด์จะปรากฏขนาดที่ใหญ่กว่าเมื่อนำไปเทียบกับออสเตรเลีย…. ต่อไปเราลองไปดูประเทศอื่นๆ จากทั่วโลกกันบ้างดีกว่า ว่าจะมีลักษณะรูปร่างเป็นเอย่างไรบ้าง
ประเทศรัสเซียเจ้าของฉายาหมีใหญ่ เมื่อย้ายมาอยู่ตรงเส้นศูนย์สูตร รูปร่างก็จะไม่ใช่หมีใหญ่อีกต่อไป
ถ้าเกิดว่าโรมาเนียกลายเป็นเกาะที่อยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก จะเป็นอย่างไร?
จากภาพเราจะเห็นว่า ออสเตรเลียมีขนาดใหญ่กว่าที่เราคิดไว้ ใหญ่ถึงขนาดที่ว่าสามารถครอบคลุมทวีปยุโรปได้เกือบทั้งหมดเลยทีเดียว
ถ้าประเทศบลาซิลย้ายมาอยู่ในทวีปเอเชีย บอกได้คำเดียวเลยว่า มีขนาดใหญ่ไม่ใช่เล่นๆ เลยนะเนี่ย
ครอบคลุมเกือบทั้งหมดเลยทีเดียว สำหรับประเทศอินโดนีเซียเมื่อแผ่ขยายไปแทนที่ประเทศรัสเซีย
จากภาพเราจะเห็นว่า จริงๆ แล้ว กรีนแลนด์ไม่ได้มีขนาดใหญ่เลย หากเทียบกับสหรัฐฯ และบราซิล
ถ้าหากเราย้ายแคนาดาไปไว้ที่แอฟริกาใต้ จะเป็นเช่นไร?
หากเราลองย้ายรัฐแคลิฟอร์เนียมาไว้ที่สหราชอาณาจักร จะเห็นว่ามีขนาดเกือบเท่ากันเลย
นี่ภาพการเปรียบเทียบขนาดของประเทศจีน และประเทศรัสเชีย
เมื่อเราลองย้ายออสเตรเลียไปไว้ที่อเมริกาเหนือ จะเห็นได้ว่ามีขนาดใหญ่มากเลยทีเดียว
เมื่อลองเลื่อนแผนที่ประเทศสหรัฐฯ ให้มาอยู่ใกล้กับออสเตรเลีย จะเห็นว่าไม่ได้มีความแตกต่างกันมากเท่าไหร่เลย
ลองมองดูกันนะว่า ประเทศญี่ปุ่นมีความยาวที่เกือบพาดข้ามประเทศแคนาดาได้
จริงๆ แล้ว ทวีปแอนตาร์กติก้าไม่ได้มีขนาดใหญ่กว่าบราซิลสักเท่าไหร่เลย
เมื่อลองย้ายประเทศอินเดียไปอยู่ที่ประเทศรัสเซีย…
เมื่อนำประเทศแคนาดามาเทียบกับสหรัฐฯ จะเห็นได้เลยว่าทั้งสองประเทศมีขนาดเท่าๆ กัน
เมื่อเราเอาประเทศสหรัฐอเมริกาไปเทียบกับทวีปยุโรป
หากเราเปลี่ยนประเทศโปแลนด์เป็นเกาะในทะเลนอร์วีเจียน
เปรียบเทียบขนาดของประเทศสหรัฐฯ ใน 3 ตำแหน่ง
หากย้ายเม็กซิโกไปเปรียบเทียบกับกรีนแลนด์ จะเห็นว่าจริงๆ แล้วเม็กซิโกมีขนาดใหญ่กว่าที่เราคิดไว้มากเลยทีเดียว
หากประเทศลิทัวเนียเป็นเกาะอยู่ในทะเลแบเร็นตส์ และมหาสมุทรอาร์กติก จะเป็นอย่างไร…
เมื่อเราลองเปรียบเทียบสหราชอาณาจักรใน 3 ตำแหน่ง
เมื่อย้ายสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกไปทางเหนือตรงประเทศกรีนแลนด์
ประเทศรัสเซียไม่ได้มีขนาดใหญ่ไปกว่าประเทศออสเตรเลียมากเท่าไหร่เลย
ลองเปรียบเทียบไอซ์แลนด์กับรัฐนิวยอร์ก
เมื่อเราลองเปรียบเทียบไอซแลนด์กับกรีนแลนด์
รัฐอลาสก้าไม่ได้ใหญ่เลย หากเทียบกับ 48 รัฐมารวมกัน
เมื่อเราย้ายรัฐเท็กซัสไปอยู่ด้านบนของรัฐอะแลสกา ทำให้เราเห็นได้ว่าทั้งสองรัฐมีขนาดที่เกือบเท่ากันเลย
——————————————————————
ข้อมูลและภาพ :
www.boredpanda.com
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
geography.about.com