มหาสมุทรแอตแลนติก สถานที่ลึกลับ สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า ไขปริศนา

ไขปริศนา!! สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า สถานที่มรณะของผู้ที่ได้ไปเยือน

Home / สาระความรู้ / ไขปริศนา!! สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า สถานที่มรณะของผู้ที่ได้ไปเยือน

เรื่องน่าอ่านเกี่ยวกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา (The Bermuda Triangle) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สามเหลี่ยมปีศาจ (The Devil’s Triangle) อาณาเขตลึกลับและโด่งดังเรื่องมนุษย์ต่างดาว ที่ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า เหตุใดทุกสิ่งที่ผ่านไปบริเวณนั้นจึงได้หายสาบสูญไปอย่างน่าเหลือเชื่อ เสมือนไม่ได้มีตัวตนอยู่บนโลกนี้ โดยวันนี้เรามีคำตอบของพื้นที่ลึกลับแห่งนี้มาฝากกัน ว่าจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นกับที่นี้กันแน่…

เรื่องน่ารู้ สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

ไขปริศนา สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

ซึ่งสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา (The Bermuda Triangle) เป็นพื้นที่สมมติของมหาสมุทรแอตแลนติก ถ้าเราลองลากเส้นเป็นจุดสามจุดเชื่อมต่อกัน ตั้งแต่จุดแรกที่ทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก ไปถึงตอนใต้ของรัฐฟลอริดาและเปอร์โตริโก เราก็จะได้เห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา มีเนื้อที่ประมาณ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร ภายในบริเวณนี้เองที่มีการหายสาบสูญแบบผิดปกติเกิดขึ้นทั้งทางอากาศยานและเรือเดินสมุทรเป็นจำนวนมาก โดยที่นักวิทยาศาสตร์ต่างไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุของเหตุการณ์ประหลาดนี้ได้

ไขปริศนา สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

ล่าสุด!! นักวิทยาศาสตร์จาก University of Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็สามารถหาคำตอบที่ดูน่าเชื่อถือและอธิบายถึงเหตุการณ์ประหลาดดังกล่าวได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม แล้วพบว่ารูปร่างของก้อนเมฆที่อยู่ในบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปีศาจแห่งนี้ มีรูปร่างที่ประหลาดมาก โดยจะมีรูปร่างเป็นช่องวางรูป 6 เหลี่ยม ซึ่งนักอุตุนิยมวิทยาได้ตั้งทฤษฎีว่า กลุ่มเมฆเหล่านี้อาจจะทำหน้าที่เหมือนกับ “ระเบิดอากาศ” (air bomb)

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า มันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดระเบิดอากาศขั้นรุนแรง ซึ่งอาจจะมีความเร็วมากถึง 170 ไมล์ต่อชั่วโมง และก่อให้เกิดคลื่นขนาดมหึมาที่มีความสูงถึง 45 ฟุตกันเลยทีเดียว และเป็นที่แน่นอนว่าไม่มีเรือลำใดหรือเครื่องบินลำไหนสามารถอยู่รอดในสภาพอากาศเช่นนี้ได้

นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า โดยทั่วไปแล้วก้อนเมฆจะไม่มีทางก่อตัวเป็นรูปร่างที่มีขอบเป็นเส้นตรง ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญให้กับงานวิจัยต่อไปในอนาคตอีกด้วย

ที่มาและภาพประกอบ : https://newswire.net , http://www.wegointer.com , http://www.express.co.uk

บทความแนะนำ