ดอกไม้โบราณ นาคี ว่านดอกทอง

ว่านดอกทอง ว่านโบราณที่ใกล้สูญพันธุ์ | เกร็ดความรู้ ละครนาคี

Home / สาระความรู้ / ว่านดอกทอง ว่านโบราณที่ใกล้สูญพันธุ์ | เกร็ดความรู้ ละครนาคี

เมื่อคืนแฟนๆ ที่ได้ชมละครเรื่อง นาคี คงจะได้เห็นการพูดถึงเรื่อง “ว่านดอกทอง” หรือ”ว่านราคะ” ซึ่ง ลำเจียก (อุ้ม-ลักขณา วัธนวงส์ศิริ) โดนบริวารของเจ้าแม่นาคีปลอมตัวเป็นคนแก่มาขายดอกไม้ เพื่อต้องการให้ลำเจียกดมแล้วเกิดอาการกำหนัด (หรือเกิดความใคร่) จุดประสงค์ของนางบริวารคือต้องการให้ลำเจียกไปทำลายพรหมจรรย์ของท่านหมออินทร์ (ร่ายมาซะยาว อยากรู้มากกว่านี้ไปเปิดย้อนดูกันต่อนะจ๊ะ) กลับมาที่เรื่อง “ว่านดอกทอง” เป็นเกร็ดความรู้จากละครในวันนี้ที่เรานำมาฝากค่ะ น้องๆ หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ ว่ามันเป็นว่านโบราณที่มีอยู่จริง และตอนนี้ก็ใกล้สูญพันธ์แล้วด้วย..

ว่านดอกทอง

dokthong-6

ว่านดอกทอง ภาพ:: www.flickr.com

ชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ

นอกจากเรียกว่า ว่านดอกทอง แล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกมากมาย ยกตัวอย่าง ว่านมหาเสน่ห์,รากราคะ, ว่านรากราคะ, ว่านมหาเสน่ห์ดอกทอง, ว่านดอกทอง, ว่านดอกทองแท้, ว่านดอกทองตัวผู้, ว่านดอกทองตัวเมีย, ว่านดินสอฤาษี, ว่านดอกทองกระเจา เป็นต้น

หลงไหลโทนเสียงของเลื่อมประภัส เป็นดอกทองที่เสนาะหูเหลือเกิน #นาคี pic.twitter.com/UQ0EJ5mdJ8


ว่านดอกทอง มีชื่อเรียกวิทยาศาสตร์ Curcuma spp. จัดอยู่ในวงศ์ขิง
(ZINGIBERACEAE)

Elettariopsis

ภาพ:: ว่านดอกทองตัวเมีย

ลักษณะของ ว่านดอกทอง

ว่านดอกทอง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

โดยรวมแล้ว ทั้งว่านตัวผู้และตัวเมีย จัดเป็นไม้ล้มลุก ว่านมีลักษณะเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นรูปทรงกลม และแตกแขนงเป็นไหลขนาดเล็ก มีขนาดยาวประมาณ 5-10 นิ้วส่วนรากเป็นเส้นใหญ่ ไม่แตกเป็นรากฝอย มีความสูงของต้นประมาณ 1 ฟุต ออกดอกในช่วงฤดูร้อนต่อเนื่องไปจนถึงฤดูฝนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ

Elettariopsis-2

1.ว่านดอกทองตัวผู้ หรือ ว่านดอกทอง

ว่านดอกทองตัวผู้

จุดเด่นๆ เนื้อในหัวของว่านตัวผู้จะมีสีเหลือง เส้นกลางใบ และกาบใบจะมีสีแดงเรื่อ ดอกสีเหลือง สำหรับหัวว่านเมื่อนำมาหักหรือผ่าดูจะได้กลิ่นหอมเย็น และมีกลิ่นคาวๆ เจืออยู่ด้วย

ว่านดอกทองตัวผู้ เส้นกลางใบสีแดง

ภาพ:: saimherbal.blogspot

ว่านดอกทองตัวผู้สังเกตที่ใบจะมีสีแดงๆ ว่านตัวเมียจะไม่มี

2. ว่านดอกทองตัวเมีย หรือ ว่านดินสอฤาษี

ว่านดอกทองตัวเมีย

เนื้อในหัวมีสีขาว ลำต้น และใบจะมีลักษณะคล้ายกับขมิ้น มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม ลำต้น และใบเป็นสีเขียว ไม่มีสีแดงเจือปน เหมือน “ว่านดอกทองตัวผู้” กลิ่นของว่านดอกทองตัวเมียจะมีกลิ่นที่แรงกว่า กลีบปากดอกสีขาวมีแถบกลางเป็นสีเหลือง นอกจากนี้ยังมี “ดอกทองกระเจา” ซึ่งดอกจะมีลักษณะเป็นรูปกรวย มีกลิ่นคาวเหมือนกัน แต่จะไม่รุนแรงเท่าว่านดอกทองตัวเมีย

สรรพคุณ ว่านดอกทอง

  • ใช้ในทางเสน่ห์มหานิยม เสน่ห์เจ้าชู้ คนหนุ่มในสมัยโบราณนิยมเสาะแสวงดอกหามาเก็บสะสมไว้ใช้หุงกับน้ำมันจันทน์พร้อมทั้งเนื้อว่าน หรือนำมาใช้บดรวมกับสีผึ้งทาปาก ใช้น้ำมันทาตัว เมื่อถึงคราวจะไปพบหญิงสาว สตรีคนใดที่ต่อคารมด้วยเมื่อได้กลิ่นว่านในน้ำมันหรือสีผึ้ง ก็มักจะใจอ่อนคล้อยตามโดยง่าย และนับว่าเป็นว่านเสน่ห์มหานิยมที่มีฤทธิ์รุนแรงมาก
  • สำหรับสตรี หากนำหัวว่าน ใบ และต้นว่านดอกทอง มาใส่ไว้ในโอ่งน้ำหรือในบ่อน้ำ แล้วรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศรุนแรงมาก หรือเพียงแค่ปลูกไว้แล้วได้กลิ่นของดอกโชยมา ก็ชวนให้หลงใหลมัวเมาในกามโลกีย์ได้แล้ว จึงมีความเชื่อต้องเด็กดอกทิ้งเสีย
  • ใช้เป็นเมตตามหานิยม ด้วยเชื่อว่าหากร้านค้าขายใดมีว่านดอกทองตัวเมียปลูกไว้หน้าร้าน จะช่วยทำให้ค้าขายดี มีลูกค้าเข้าออกร้านไม่ขาดสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานบันเทิงต่าง ๆ ร้านจำหน่ายเหล้าเบียร์ หากมีไว้จะดีมาก
  • ด้วยเป็นว่านเมตตามหานิยม จึงมีการนำมาใช้ในทางค้าขาย การเจรจาตกลง ช่วยทำให้ประสบผลสำเร็จได้โดยง่าย โดยใช้หัวว่านนำมาโขลกให้ละเอียดผสมกับสีผึ้งนำมาใช้ทาปากก่อนจะออกไปพบปะเจรจา
  • มีความเชื่อว่าการปลูกว่านมหาเสน่ห์นี้ หากปลูกไว้ในบ้านจะเป็นสิริมงคลแก่บ้านเรือน เพื่อนบ้านรักใคร่ ว่านดอกทองแต่บางตำราก็ระบุว่าไม่ควรปลูกว่านชนิดนี้ไว้ในบ้าน ด้วยเชื่อว่ามันอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการผิดลูกผิดเมียของคนในครอบครัวได้ เพราะคนไทยสมัยก่อนนั้นจะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่

ว่านดอกทอง ใกล้สูญพันธุ์ พบได้ไม่กี่ที่ในไทย

ว่านดอกทอง จัดเป็นว่านโบราณหายาก และใกล้จะศูนย์พันธุ์ ในปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นของที่หายากมาก นั้นหายากยิ่ง ผู้รู้มักไม่เปิดเผย เพราะเกรงว่าจะมีผู้นำไปใช้ในทางไม่ดี โดยอาจสามารถพบว่านชนิดได้ทางภาคตะวันตก ภาคเหนือ อย่างเช่นใน จังหวัดกาญจนบุรี ลำปาง และตาก

dokthong-7

ภาพจากในละคร นาคี

ความเชื่อโบราณ เกี่ยวกับ ว่านดอกทอง

คนโบราณนิยมปลูกว่านดอกทอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ด้านเมตตามหานิยม, เสริมสร้างเสน่ห์ รวมถึงการนำมาใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค นอกจากนั้น ยังจัดเป็นไม้ดอกไม้ประดับสำหรับปลูกตามแปลงจัดสวนหรือปลูกในกระถางเพื่อชมใบ และดอก ด้วย

วิธีการปลูกว่านดอกทองตามแบบโบราณ ควรปลูกวันจันทร์ข้างขึ้น แล้วรดน้ำที่เสกด้วยคาถา นะโมพุทธายะ 3 จบ การปลูกจะใช้กระถางใบเล็กทรงเตี้ยในการปลูก ใส่ดินดำ หรือดินดินทรายผสมกับใบไม้ผุ และรดน้ำให้มาก แต่อย่าให้ดินแฉะ หากใส่ปุ๋ยคอกลงไปด้วยเล็กน้อยจะช่วยทำให้ว่านงอกงามเร็ว เมื่อใบตั้งตรงแข็งแรงแล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกในกระถางใหญ่ เพื่อให้หัวว่านมีขนาดใหญ่ขึ้น และควรจัดวางไว้ในที่ที่มีแสงแดดรำไรพอสมควร

ยังมีความเชื่ออีกว่า หากใครได้สูดกลิ่นดอกว่านทองนี้ จะกระตุ้นความต้องการทางเพศขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผล สำหรับผู้ที่ปลูกว่านชนิดนี้ จึงนิยมเก็บดอกก่อนที่จะบาน เพราะเชื่อว่าหากผู้ใดได้กลิ่น หรือได้สัมผัสจะเกิดกามราคะ ทำให้เกิดพลังทางเพศที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีเพศ จึงเป็นที่มาของชื่อว่า “ว่านดอกทอง” นั่นเองค่ะ

ขอบคุณที่มาจาก:: medthai.compuechkaset.com