Passport พาสปอร์ต ย้อนอดีต หนังสือเดินทาง อดีต

พาสปอร์ตสยาม หนังสือการเดินทางไทยในอดีต เคยเห็นกันหรือยัง?

Home / สาระความรู้ / พาสปอร์ตสยาม หนังสือการเดินทางไทยในอดีต เคยเห็นกันหรือยัง?

หนังสือเดินทางไทย หรือที่ในปัจจุบันเราเรียกกันว่า พาสปอร์ต นั้น มีหลักฐานว่าคนไทยเริ่มใช้กันตั้งแต่ในยุคของพระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในสมัยนั้นหนังสือเดินทาง เรียกกันว่า เอกสารเดินทางประเภทตราเดินทาง และภายในหนังสือมีการใช้ภาษาฝรั่งเศสในการเขียนรายละเอียดต่างๆ ด้วย วันนี้เรามีเรื่องราว วิวัฒนาการของหนังสือการเดินทางไทย พร้อมภาพหนังสือตั้งแต่ยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้มาให้ชมกันค่ะ

วิวัฒนาการ พาสปอร์ตสยาม หนังสือเดินทางไทย

สำหรับหนังสือเดินทาง หรือที่สมัยก่อนเรียกว่า เอกสารเดินทางประเภทตราเดินทาง นั้น ในสมัยก่อนจะมีลักษณะ ออกเป็นหนังสือราชการที่เขียนด้วยลายมือ มีการกำหนดตราประทับคือตราพระคชสีห์น้อย ตราพระราชสีห์น้อย หรือตราสุครีพ มีกำหนดอายุ 1 ปี ในระยะเริ่มแรกเอกสารเดินทางที่ทางราชการออกให้ จะใช้ในการข้ามเขต เมือง มณฑลภายในประเทศ ซึ่งยังไม่มีเอกสารที่ใช้สำหรับเดินทางออกไปต่างประเทศ

จุดเริ่มต้นจริงๆ ของหนังสือเดินทางประเทศไทยที่ใช้กันในปัจจุบันสำหรับการเดินทางออกนอกประเทศนั้น ได้เริ่มในปีพ.ศ. 2460 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รัฐบาลได้มีการออก “ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางไปนอกพระราชอาณาเขตให้มีหนังสือเดินทาง โดยมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการสำหรับผู้เดินทางออกนอกประเทศ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2460 ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาผู้เดินทางมักจะไม่มีหนังสือเดินทาง หรือตราเดินทาง (visa) ทำให้ถูกกักกันไม่ให้เข้าประเทศ ถูกจับกุมกักขัง หรือถูกส่งกลับประเทศอันเนื่องมาจากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มมีการตรวจตราหนังสือเดินทางของคนต่างชาติอย่างเข้มงวด โดยมีการลงในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 23 กันยายน

หลังจากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนให้ใช้หนังสือเดินทางไปต่างประเทศในลักษณะเป็นหนังสือเดินทางที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า โดยหน้าแรกเป็นหนังสือราชการที่มีข้อความขออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทาง ส่วนหน้าสองแสดงรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง และมีอายุการใช้งาน 1 ปี สรุปลำดับได้ดังต่อนี้ค่ะ

passport siam 2474 (4)
ภาพจาก: เพจเฟซบุ๊ก ย้อนอดีต…วันวาน

passport siam

ลำดับวิวัฒนาการ หนังสือเดินทางไทย 

-ในปีพ.ศ. 2460 รัฐบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีการออก “ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางไปนอกพระราชอาณาเขตร์ให้มีหนังสือเดินทาง” เมื่อวันที่ 17 กันยายน[2] เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการสำหรับผู้เดินทางออกนอกประเทศเพื่อลดปัญหาผู้เดินทางมักจะไม่มีหนังสือเดินทาง หรือตราเดินทาง (visa) ทำให้ถูกกักกันไม่ให้เข้าประเทศ ถูกจับกุมกักขังหรือถูกส่งกลับประเทศอันเนื่องมาจากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มมีการตรวจตราหนังสือเดินทางของคนต่างชาติอย่างเข้มงวด โดยมีการลงในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 23 กันยายน

-ในปีพ.ศ. 2463 ได้มีการเรียกร้องให้ใช้รูปแบบหนังสือเดินทางให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นผลพวงจากการประชุมขององค์การสันนิบาตชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทางที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้เข้าร่วมประชุมและลงนามรับรองข้อมติของที่ประชุมดังกล่าว

-ในปีพ.ศ. 2470 รัฐบาลไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับแรกของไทยในวันที่ 1 กรกฎาคม อันเนื่องมาจากข้อตกลงในมติในที่ประชุมขององค์การสันนิบาติชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง

-ในปีพ.ศ. 2463 ทำให้เริ่มมีการปรับปรุงรูปแบบของหนังสือเดินทางใหม่ให้เป็นรูปเล่ม

2482 passport siam
หนังสือเดินทางไทยในปี 2482

-ในปีพ.ศ. 2482 มีการผลิตหนังสือเดินทางเป็นรูปเล่มปกแข็งมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ภายในเล่มข้อมูลใช้ภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสควบคู่กัน มีการติดรูปถ่ายผู้ถือหนังสือเดินทางพร้อมลายมือชื่อ หนังสือเดินทางมีจำนวน 32 หน้าโดยในสมัยนั้นมีแผนกหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบดูแล แต่ไม่สามารถออกหนังสือเดินทางหรือต่ออายุนอกพระราชอาณาเขตสยาม (ประเทศไทยในปัจจุบัน) ได้ หนังสือเดินทางมีอายุเพียง 2 ปี แม้กระนั้นเมื่อหมดอายุสามารถต่ออายุได้ 1-2 ปีแต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี โดยหนังสือเดินทางใช้ได้เฉพาะการเดินทางไปยังประเทศที่ระบุไว้ในหนังสือเดินทางเท่านั้นแต่สามารถสลักเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ค่าธรรมเนียมฉบับละ 12 บาทสำหรับออกเล่มใหม่ ส่วนการต่ออายุปีละ 6 บาท หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยงแปลงเล็กน้อยในส่วนของสี ตราครุฑบนปกนอก และลักษณะการจัดวางข้อมูลภายใน

-ในปีพ.ศ. 2520 มีการเปลี่ยนแปลงรายการข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทางจากที่เคยใช้ภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเป็นข้อมูลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

-ในปีพ.ศ. 2536 มีการพัฒนาในการพิมพ์รูปผู้ถือหนังสือเดินทางลงในหนังสือเดินทางด้วยระบบดิจิตอลแทนการติดรูปลงในหนังสือเดินทางโดยใช้ระบบ Digital Passport System (DPS) ทำให้อ่านได้ด้วยเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง (Machine Readable Passport)หนังสือเดินทางไทยอิเล็กทรอนิกส์หน้าแรกรูปหัวเรือสุพรรณหงส์ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทำให้ยากแก่การปลอมแปลง

-ในปีพ.ศ. 2538 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) จึงมีการเปลี่ยนแปลงหนังสือเดินทางให้ข้อมูลอยู่ในหน้าเดียว

-ในปีพ.ศ. 2543 ระบบการทำหนังสือเดินทางเริ่มเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยเพื่อเรียกใช้ข้อมูลทะเบียนราษฎรผ่านทางคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนยื่นขอหนังสือเดินทาง นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาระบบการผลิตหนังสือเดินทางโดยนำเทคโนโลยีการถ่ายรูป การบันทึกข้อมูล และการพิมพ์ข้อมูลลงในเล่มโดยตรง ทั้งสองระบบนี้สามารถช่วยย่นเวลาการผลิตหนังสือเดินทางได้เป็นอย่างมากทำให้สามารถผลิตหนังสือเดินทางได้ภายในเวลา 3 วันทำการ

-ในปีพ.ศ. 2545 มีการปรับปรุงรูปแบบและเล่มหนังสือเดินทางให้ได้มาตรฐานมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงแบบเดียวกับการพิมพ์ธนบัตร ทำให้มีคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลงที่เพิ่มขึ้น คุณลักษณะนี้อาจจะไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบ และคุณลักษณะบางอย่างที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็มีการแฝงไว้อย่างแนบเนียน นอกจากนี้ในขั้นตอนการผลิตเล่มหนังสือเดินทางจะผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีและสารเคมีที่ไม่สามารถหาได้ทั่วไป ทำให้ยากต่อการปลอมแปลง และมีความปลอดภัยสูง

-ในปีพ.ศ. 2548 ถึง ปัจจุบัน เริ่มมีการนำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการบันทึกข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทาง มีการฝังไมโครชิปที่เป็นมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) มีการเพิ่มจำนวนหน้าเป็น 50 หน้า

ภาพพาสปอร์ตสยาม หนังสือการเดินทางไทยช่วงปี 2474 

passport siam 2474 (2)

 

หน้าปก พาสสปอร์ตสยาม หนังสือการเดินทางไทยในอดีต เมื่อ 80 ปีที่แล้ว

passport siam 2474 (5)

ข้อมูลด้านใน ก็มีรูปถ่ายผู้ถือหนังสือเดินทาง บอกรายละเอียด อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทางมีการใช้ภาษาฝรั่งเศสด้วย

passport siam 2474 (1)

เปิดมาด้านใน (คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่ได้)  หนังสือการเดินทางไทยในอดีต เมื่อ 80 ปีที่แล้ว

passport siam 2474 (6)

ตรวจลงตรา

passport siam 2474 (3)

passport siam 2474 (4)

หนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบัน

มีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ หนังสือเดินทางประเภทธรรมดา,ราชการ,ทางการทูต และเดินทางชั่วคราว อีกทั้งยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ หนังสือเดินทางพระ และหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์

ภาพ:http://www.thaiembassy.org/riyadh/contents/images/information_other-20140724-212218-0.jpg
ภาพ:http://www.thaiembassy.org/riyadh/contents/images/information_other-20140724-212218-0.jpg

หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีน้ำตาล)
ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี

หนังสือเดินทางราชการ ปกน้ำเงินเข้ม
ภาพจาก: http://2.bp.blogspot.com/-WoGD94MPrhU/UH143Fz_0fI/AAAAAAAABds/ct-S7cc5oOY/s1600/118_20110928144028..jpg

หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)
หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ

thai diplomatic passport red

หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด)
มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้

พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

thailand temporary passport
ภาพจาก: http://www.thaikonsulatfrankfurt.de

หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)
หนังสือเดินทางชั่วคราว อายุ 1 ปี จะออกให้ในกรณีที่คนไทยทำหนังสือเดินทางสูญหายหรือหมดอายุ และมีความจำเป็นเร่งด่วนจะต้องเดินทางไปต่างประเทศ โดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทาง E-Passport ได้ อย่างไรก็ดี หนังสือเดินทางชั่วคราวมีข้อจำกัดคือ ไม่มี machine readable bar code ซึ่งหากนำไปขอวีซ่า บางประเทศอาจไม่ยอมรับ

นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ

หนังสือเดินทางพระ
ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม

หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์
ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น

ขอบคุณภาพพาสปอร์ตปี 2474 จากเพจเฟซบุ๊ก  ย้อนอดีต…วันวาน