หลักการทำงาน อินเทอร์เน็ต

เรียนรู้ หลักการทำงานของอินเทอร์เน็ต ที่จะช่วยทำให้เราใช้งานได้สะดวกมากขึ้น

Home / สาระความรู้ / เรียนรู้ หลักการทำงานของอินเทอร์เน็ต ที่จะช่วยทำให้เราใช้งานได้สะดวกมากขึ้น

สำหรับการเชื่อมต่อการทำงานด้วยระบบอินเทอร์เน็ต สามารถช่วยทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิด หรือต่างขนาดกัน สามารถเชื่อมต่อภายในเครือข่ายสื่อสารกันได้ โดยจะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันและต้องเป็นแบบเดียวกัน หรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกันนั่นก็คือ โพรโทคอล (Protocol) ที่จะเข้ามาช่วยควบคุมรูปแบบของข้อมูลและการส่งผ่านของข้อมูลระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของอินเทอร์เน็ต – สาระน่ารู้

โพรโทคอล (Protocol) ที่ใช้ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรียกว่า ทรานมิสชันคอนโทรโปรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) หรือมีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) นั่นเอง

หลักการทำงานของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต คืออะไร?

อินเทอร์เน็ต สามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานปลายทางได้มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ถ้าหากบางเส้นทางได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายก็ยังสามารถสื่อสารกันได้ โดยเส้นทางที่เหลือในทางอื่น ๆ ซึ่งการส่งข้อมูลต่าง ๆ จะใช้หลักการของระบบเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet-Switching Network) ก็คือ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ หรือแพ็กเก็ต และส่งไปยังปลายทางโดยใช้เส้นทางที่ต่าง ๆ กันไป ขึ้นอยู่กับการกำหนดปลายทางของการรับข้อมูล

โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อยู่ในหลาย ๆ เครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ สามารถอ้างอิงถึงได้ เช่นเดียวกับการโทรศัพท์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของเครื่องต้นทาง และเครื่องปลายทาง

การส่งข้อมูลต้องมี IP Address

หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเรียกสั้น ๆ ว่า หมายเลขไอพี (IP Address) เป็นหมายเลขชุดหนึ่งที่มีขนาด 32 บิต โดยที่หมายเลขชุดนี้จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิต ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 อาทิ 205.42.117.104 ฯลฯ

ทั้งนี้หมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน เนื่องจากที่หมายเลขไอพีจดจำได้ยาก และถ้าหากมีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากในระบบเครือข่าย ก็อาจจะทำให้เราจำสับสนได้ ดังนั้นจึงได้เกิดเป็นตัวอักษรย่อของเลข IP Address ขึ้นมา เรียกว่า Domain Name Server หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ดีเอ็นเอส (DNS) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อและโดเมน (โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับงานหน่วยงานและประเทศต่าง ๆ มีดังนี้)

1. โดเมนระดับบนสุด จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่มีระบบเครือข่ายตั้งอยู่ (ทั้งนี้กรณีที่เป็นโดเมนระดับบนสุดที่บอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่นั้น จะต้องมีโดเมนระดับย่อยด้วย เพื่อระบุบประเภทขององค์กร)

2. โดเมนระดับย่อย จะเป็นโดเมนที่ใช้ประเทศ ซึ่งจะบอกถึงรายละเอียดของประเภทขององค์กร

หลักการทำงานของอินเทอร์เน็ต

โดเมนที่นิยมใช้กันทั่วโลก และถือว่าเป็นสากล อาทิ…

– .com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
– .edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
– .int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
– .org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร

โดเมนที่ลงท้ายด้วย .th มีดังต่อไปนี้

– .ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
– .co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
– .go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
– .net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
– .or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
– .in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่ว ๆ ไป

หลักการทำงานของอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต

สำหรับการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบใช้สาย (Wire Internet) และแบบไร้สาย (Wireless Internet) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกของผู้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ใช้บริการ พร้อมรหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้โดยการใช้โมเด็ม (Modem) ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

2. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน โดยที่หน่วยงานเหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) แต่ทั้งนี้การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN จะไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนกับผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)

1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) โดยที่ผู้ใช้จะต้องมีโมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT จึงจะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้

2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet) แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ

– WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต
– GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย
– โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps นอกจากนี้ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
– เทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth Technology) ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ ชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก (Note book) และเครื่องปาล์ม (Palm) ผ่านโทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS ทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

อ้างอิงข้อมูลจาก : https://sites.google.com/, www.gotoknow.org

บทความที่น่าสนใจ