ไฟแนนซ์

ตอบคำถาม คนมีรถติดไฟแนนซ์ ใช้ทำธุรกรรมอะไรได้บ้าง

Home / ข่าวประชาสัมพันธ์ / ตอบคำถาม คนมีรถติดไฟแนนซ์ ใช้ทำธุรกรรมอะไรได้บ้าง

รถยนต์ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง คนใช้รถยนต์จึงควรศึกษาเรื่องต่างๆ ก่อนจะทำธุรกรรมเกี่ยวกับรถเอาไว้ โดยเฉพาะธุรกรรมหรือกู้สินเชื่อรถยนต์ กับทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน ซึ่งข้อมูลต่างๆ นี้ก็อาจทำให้ใครหลายคนเผลอเข้าใจผิดและเสียโอกาสเอาได้ บทความนี้จะมาตอบคำถามเรื่องรถติดไฟแนนซ์ คนที่กำลังจะทำธุรกรรมจะได้เตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างครบถ้วน

มีรถติดไฟแนนซ์ ใช้ทำธุรกรรมอะไรได้บ้าง

รถติดไฟแนนซ์ คืออะไร

รถติดไฟแนนซ์ คือการซื้อรถผ่านบริษัทหรือสถาบันที่รับจัดไฟแนนซ์ กับบริษัทขายรถโดยตรง หรือผ่านธนาคารหรือบริษัทที่รับจัดไฟแนนซ์รถยนต์โดยเฉพาะ ทำให้เราสามารถนำรถออกมาใช้งานได้เลยและทำการผ่อนชำระเป็นงวดในระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ยตามแต่ตกลง โดยกรรมสิทธิ์ในการครอบครองรถยนต์จะยังไม่ใช่ของเรา จนกว่าจะผ่อนส่งค่างวดจนหมด ช่วงเวลาระหว่างนี้จึงเรียกกันว่า รถติดไฟแนนซ์ นั่นเอง

รถติดไฟแนนซ์ ทำธุรกรรมอะไรได้บ้าง

  • ยื่นรีไฟแนนซ์สามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมีการผ่อนรถไปแล้ว 50% ของยอดทั้งหมด ซึ่งการรีไฟแนนซ์เป็นการที่เรามองหาไฟแนนซ์ใหม่มาปิดยอดเก่า และทำการผ่อนในยอดใหม่ที่มีเงื่อนไขดีกว่าเดิม เช่นเรื่องดอกเบี้ยซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
  • นำรถไปเทิร์นการเทิร์นรถสามารถทำได้สำหรับรถที่ยังติดไฟแนนซ์ เพราะเป็นการเปลี่ยนรถเป็นเงินเพื่อที่จะได้ไปดาวน์รถคันใหม่ จุดที่ต้องระวังในระหว่างขั้นตอนการเทิร์นรถคือต้องไม่ลืมคำนวณยอดสำหรับปิดไฟแนนซ์ของรถคันเดิมให้เรียบร้อย เพื่อที่จะได้นำยอดคงเหลือไปดาวน์รถใหม่นั่นเอง
  • ขายรถ รถที่ติดไฟแนนซ์สามารถขายได้ โดยหลังจากขายแล้วเราต้องเอาเงินมาปิดยอดไฟแนนซ์ที่คงเหลืออยู่ให้เรียบร้อย จึงจะจบการทำธุรกรรมโดยสมบูรณ์ แต่หากจำนวนเงินที่ขายรถได้ไม่ถึงกับจำนวนยอดที่ต้องปิดไฟแนนซ์ อาจต้องเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นแบบขายดาวน์แบบเปลี่ยนผู้ถือสัญญาแทน เพื่อให้คนที่มาซื้อรถทำการผ่อนต่อและทำตามเงื่อนไขสัญญาเดิมต่อไป
  • จำนำรถ และอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตก็คือรถติดไฟแนนซ์สามารถนำไปเข้าจำนำได้ไหม คำตอบคือไม่ได้ เพราะเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังเป็นธนาคารหรือสถาบันที่เราไปกู้สินเชื่อมานั่นเอง กล่าวคือ รถยังไม่ใช่ของเราโดยสมบูรณ์จนกว่าจะมีการผ่อนชำระค่างวดครบและโอนกรรมสิทธิ์เป็นชื่อของเราเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นจึงจะนำรถไปดำเนินการเข้าจำนำได้ อย่างไรก็ตาม การจำนำรถยนต์ที่เห็นได้บ่อยจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
  • จำนำแบบมีเล่มคือการจำนำรถแบบที่ปลอดภัยและถูกต้องตามถูกหมาย เป็นรูปแบบที่เราสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อผ่อนค่างวดไฟแนนซ์จนครบ ได้กรรมสิทธิ์และเล่มทะเบียนมาครอบครองเรียบร้อยแล้ว โดยหลังจากนั้นค่อยไปดำเนินการขอสินเชื่อกับทางสถาบันการเงินหรือธนาคารตามที่ต้องการ
  • จำนำแบบไม่มีเล่มเป็นรูปแบบการจำนำรถที่นิยมทำกัน มีขั้นตอนที่ยุ่งยากน้อยกว่า เพราะเป็นแค่การนำรถไปจอดไว้กับผู้ปล่อยกู้ที่รับจำนำรถยนต์ติดไฟแนนซ์ในระหว่างผ่อนชำระค่างวด และรับรถคืนเมื่อผ่อนชำระเสร็จเรียบร้อย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้เงินอย่างเร่งด่วน แต่ข้อสังเกตคือหากยังเป็นรถที่ติดไฟแนนซ์ อาจถูกธนาคารหรือสถาบันซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทำการฟ้องได้ เพราะโดยสถานะแล้วเรายังเป็นเพียงผู้ใช้รถเท่านั้น ยังผ่อนไม่หมดและยังไม่ได้เป็นเจ้าของรถโดยสมบูรณ์นั่นเอง

จะเห็นได้ว่าความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำธุรกรรมสำหรับรถยนต์ที่ติดไฟแนนซ์อยู่นั้นมีความสำคัญมากทีเดียว อีกข้อที่ไม่ควรลืมคือการเก็บรักษาเอกสารสำคัญต่างๆ ไว้ให้ดี เพราะเป็นหลักฐานและข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำธุรกรรมต่างๆ ทั้งการรีไฟแนนซ์รถ เทิร์นรถ ขายรถ หรือการจำนำรถ หวังว่าบทความนี้จะช่วยปูพื้นฐานและตอบคำถามให้คนใช้รถยนต์ได้บ้าง จะได้สามารถเตรียมตัวและเลือกทำธุรกรรมได้อย่างมั่นใจ