บุหรี่

สายควัน รู้ทันโรคร้ายแค่ไหน ? เช็ก 5 โรคอันตราย ที่คนสูบบุหรี่ต้องระวัง

Home / ข่าวประชาสัมพันธ์ / สายควัน รู้ทันโรคร้ายแค่ไหน ? เช็ก 5 โรคอันตราย ที่คนสูบบุหรี่ต้องระวัง

หลายคนที่ทำงานหนัก มีการใช้ความคิดเยอะหรือต้องการสมาธิสูง เมื่อเกิดความเครียดและความวิตกกังวลขึ้นมา ก็อาจเลือกใช้ตัวช่วยอย่าง “บุหรี่” ซึ่งปัจจุบันก็มีทั้งบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้า แต่เมื่อใช้เป็นบ่อยก็เกิดอาการเสพติด ขาดไม่ได้ แถมควันที่สูดเป็นประจำยังทำให้สุขภาพร่างกายตนเองและคนรอบข้างแย่ลงโดยไม่รู้ตัว เพราะในบุหรี่ไม่ได้มีสารเสพติดอย่างสารนิโคตินเท่านั้น แต่ยังมีสารเคมีและสารพิษหลายร้อยชนิดที่เสี่ยงให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย! ในบทความนี้จึงอยากพาไปดู 5 โรคอันตรายที่เกิดจากการใช้บุหรี่ ที่ไม่เพียงแต่ส่งผลร้ายต่อตัวผู้สูบ แต่ยังรวมถึงคนรอบข้างและคนที่คุณรักอีกด้วย

5 โรคอันตราย ที่คนสูบบุหรี่ต้องระวัง

1. โรคเกี่ยวกับปอด

อวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดและได้รับพิษควันจากบุหรี่เต็มๆ ก็คือ ปอด เพราะปอดเป็นอวัยวะที่ใช้ในการหายใจ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย โดยในบุหรี่จะมีสารพิษหลักคือ ‘ทาร์’ เป็นเหมือนน้ำมันเหนียวๆ ที่เมื่อสูบเข้าไป จะไปกระจุกตัวจับอยู่อยู่ที่ปอด รวมตัวไปฝุ่นละอองที่สูดเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ไอถี่ๆ และก่อให้เกิดมะเร็งปอด นอกจากนี้ในบุหรี่ยังมีสาร ‘ไนโตรเจนไดออกไซด์’ ที่เป็นตัวการทำลายเยื่อบุหลอดหลอดลมส่วนปลายและถุงลมด้วย ซึ่งทำให้เกิดโรคถุงลมปอดโป่งพองนั่นเอง

ปอดเป็นอวัยวะสำคัญในร่างกาย ที่ส่งผลต่อการทำงานอวัยวะส่วนอื่นๆ และหากถูกทำลายแล้วไม่จะสามารถงอกหรือฟื้นฟูได้ง่ายเหมือนอวัยวะอื่นๆ ดังนั้นหากป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับปอด ไม่ว่าจะมะเร็งปอด หรือโรคถุงลมปอดโป่งพองแล้ว จะส่งผลให้ร่างกายของเราไม่แข็งแรง หายใจลำบาก และอาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

2. โรคหอบหืด

โรคหอบหืดไม่ได้เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยจากการสูบบุหรี่ หรือการได้รับควันบุหรี่ด้วย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นกับคนที่สูบมาเป็นระยะเวลายาวนานหรือคนมีอายุเยอะเท่านั้น กลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืดเช่นเดียวกัน โดย

การสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดหอบหืด เนื่องจากไอระเหยและสารเคมีในบุหรี่ไฟฟ้า เช่น  นิโคตินที่เป็นสารเสพติด โพรพอลีไกลคอล กลีเซอรีน สารก่อมะเร็ง น้ำยาดองศพ หรือ ฟอร์มาลีน โลหะหนัก ฯลฯ จะทำให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบในทางเดินหายใจ ทำให้หายใจได้ลำบาก ร่างกายอ่อนแอลง แม้จะไม่ได้ออกกำลังกายหนัก หรือใช้แรงแยะ ก็ยังเกิดอาการหอบเหนื่อยได้ง่ายนั่นเอง

กลุ่มวัยรุ่นหรือผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าซึ่งเข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีแค่นิโคตินและละอองไอน้ำ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเท่ากับบุหรี่ธรรมดา ขอบอกว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างรุนแรง เพราะไม่ว่าจะบุหรี่ประเภทไหน ก็แฝงด้วยอันตรายต่อร่างกายอยู่ดี

3. โรคหัวใจ

หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อส่งออกซิเจนและธาตุอาหารต่างๆ ไปยังทุกส่วนของร่างกาย สารนิโคตินในควันบุหรี่ที่หลายคนเลือกใช้เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายความเครียดนั้น เรียกได้ว่าเป็นอันตรายต่อหัวใจทีเดียว เพราะนิโคตินจะไปกระตุ้นให้ความดันในเลือดเพิ่มสูงและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเกิดการหดตัวซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจขาดเลือดนั่นเอง ใครที่ใช้บุหรี่หรืออยู่ใกล้ผู้ใช้บุหรี่แล้วจู่ๆ มีอาการแน่นหน้าอก เจ็บแปลบที่หัวใจ หัวใจเต้นเร็วผิวปกติ ตลอดจนหายใจไม่ค่อยออก ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะคุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคหัวใจที่ต้องได้รับการรักษาให้ถูกวิธี ซึ่งมีตั้งแต่วิธีรับประทานยา การสวนหัวใจ และบางรายอาจหนักถึงขั้นต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

4. โรคมะเร็งช่องปาก

บุหรี่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจแทบทุกส่วน ช่องปากก็เป็นหนึ่งในอวัยวะที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นอวัยวะด่านแรกที่ต้องเจอกับบุหรี่เต็มๆ ไม่ต่างจากปอดเลยก็ว่าได้

เพราะการสุบบุหรี่จะต้องคาบหรือดูดโดยใช้ปากซึ่งได้รับความร้อนสูง มาพร้อมกับสารเคมีที่เป็นอันตรายมากมายที่จะเข้าไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ช่องปาก ทำให้เซลล์ในช่องปากผิดปกติ จนเกิดเป็นมะเร็งลุกลามไปทั้งช่องปาก ส่งผลต่อการใช้ชีวิตโดยตรง ทั้งหายใจได้ไม่สะดวก ไม่สามารถพูดหรือรับประทานอาหารได้ปกติ และยังส่งต่อบุคลิกและภาพลักษณ์ด้วย เพราะเมื่อเป็นมะเร็งช่องปากแล้ว รูปปากจะมีลักษณะไม่เหมือนเดิม และเกิดเป็นแผลที่ดูน่ากลัว

 

5. โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมเป็นอีกหนึ่งโรคที่มีสาเหตุมาจากการเสพติดบุหรี่หรืออยู่ใกล้ผู้ใช้บุหรี่ โดยเป็นโรคที่หลายคนมักจะมองข้ามไป เพราะอาจคิดว่าบุหรี่ที่มีสารพิษแฝงมาในควันนี้ จะส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจและช่องปากเพียงเท่านั้น แต่รู้หรือไม่? ว่าควันบุหรี่ยังทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควร และทำให้หมอนระดูกหลังเกิดการแตกปลิ้นได้มากขึ้น

เพราะการสูบบุหรี่นั้นจะทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังของเราได้ไม่ดี ทำให้คุณสมบัติความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพการทำงานของกระดูกลดลง จนเกิดเป็นอาการปวดร้าวตามส่วนต่างๆ ทั้งหลัง หรือขาข้างใดข้างหนึ่งซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิต จะลุกก็โอย นั่งก็โอย หรือบางคนอาจปวดจนไม่สามารถนอนได้เลย ดังนั้นใครที่จู่ๆ ก็ปวดหลังและปวดขาอย่างรุนแรงแม้ไม่ได้ยกของหนักหรือประสบอุบัติเหตุมาก่อน ให้ลองเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพราะการสูบหรือได้รับควันบุหรี่อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวก็เป็นได้

โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมแตกต่างจากโรคอื่นๆ ที่เกิดจากบุหรี่ เพราะสามารถรักษาให้หายได้ หากรู้ตัวไว รักษาอย่างถูกวิธี และมีการปรับพฤติกรรมเลิกบุหรี่อย่างถาวร สำหรับใครที่สงสัยว่าโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมรักษาได้อย่างไรบ้าง เรามีเกร็ดความรู้เล็กๆ เกี่ยวกับวิธีการรักษามาฝากกัน

–  รักษาโดยการใช้ยา

เป็นการรักษาขั้นพื้นฐานโดยจ่ายยาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดความปวดของระบบประสาท เป็นต้น นอกจากยารับประทานแล้ว หมอนรองกระดูกเสื่อมรักษาได้ด้วยการฉีดยาระงับปวด เพื่อลดอาการอักเสบที่เส้นประสาท วิธีนี้แพทย์จะหาตำแหน่งที่หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทอยู่ จากนั้นจะฉีดยาเข้าไปในบริเวณใกล้กับเส้นประสาทที่โดนหมอนรองกระดูกกดทับ โดยใช้เครื่อง X-Ray เป็นตัวบอกตำแหน่งนั่นเอง

– รักษาโดยการไม่ใช้ยา

โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมที่รักษาโดยการไม่ใช้ยา จะเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย แพทย์จะวิเคราะห์จากการซักประวัติว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างและควรแก้ไขอย่างไร อย่างคนที่เสพติดบุหรี่ อาจจะต้องค่อยๆ ลดการเสพให้น้อยลง หรือการหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้ใช้บุหรี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการทำกายภาพบำบัด เช่น การนวด อัลตราซาวด์ การใช้เลเซอร์ รวมไปถึงการทำช็อกเวฟเพื่อคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวด หรือการทำท่ากายบริหารยืดเหยียด ก็ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อได้เช่นเดียวกัน

– รักษาโดยการผ่าตัด

หากผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมรักษาโดยสองวิธีข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัด ซึ่งจะมีการผ่าตัดหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดหมอนรองกระดูกแบบเปิดแผล การผ่าตัดโดยหมอนรองกระดูกโดยใช้กล้องกำลังขยายสูง หรือการผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้อง ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจัยโดยละเอียดว่าผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมควรรักษาด้วยการผ่าตัดแบบใด เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุดนั่นเอง

และนี่คือ 5 โรคอันตรายส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นได้จากการใช้บุหรี่ จะเห็นได้บุหรี่และควันที่เราใช้เพื่อบรรเทาความเครียด และความวิตกกังวลนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สุขภาพร่างก่ายของเราทรุดโทรมลง เสี่ยงทำให้เกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับปอด โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคมะเร็งช่องปาก หรือแม้กระทั่งโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ที่หลายคนอาจมองข้ามไป ทำให้เราใช้ชีวิตยากลำบากขึ้น

และอวัยวะบางส่วนเมื่อถูกควันบุหรี่ทำลายไปแล้ว อาจไม่สามารถรักษาให้กลับมาใช้งานได้ปกติดังเดิม ดังนั้นใครที่รู้ตัวว่ากำลังติดบุหรี่ อาจพยายามปรับพฤติกรรมทีละนิด ค่อยๆ ลดวันละหน่อย เลือกรับประทานของหวานแทนการสูบบุหรี่เพื่อลดความเครียด หรือติดต่อ 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่เพื่อปรึกษาแนวทางกับผู้มีความรู้ด้านนี้ก็ได้เช่นเดียวกัน

สำหรับใครที่กำลังมีความเสี่ยงหรือเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมว่าโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมรักษาได้อย่างไรอีกบ้าง มีผลข้างเขียงหลังการรักษาอย่างไร และควรรักษาที่ไหนดีจึงจะปลอดภัยที่สุด สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและข้อมูลดีๆ ได้ที่ KDMS โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข โรงพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการวินิจฉัยโรค การผ่าตัด การทำกายภาพบำบัด รักษาคนไข้โรคกระดูกข้อและกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ