น้ำเหลืองจากพระศพ (น้ำพระบุพโพ) – การเผาพระศพในพระโกศ

จากบทความเรื่อง “ถวายรูด” ที่มีบางส่วนเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาในบทความนี้ นั่นคือ เรื่อง น้ำเหลือง หรือพระบุพโพ โดยเป็นน้ำเหลืองจากพระบรมศพ หรือพระศพ เป็นเรื่องราวเฉพาะกับพระศพ ที่ประทับในพระโกศเท่านั้น โดยเรื่องของน้ำเหลืองจะเกิดขึ้น หลังจากที่เจ้าพนักงานภูษามาลาอัญเชิญพระศพลงประทับยังพระโกศ แล้วนำเสด็จพระโกศขึ้นตั้งบน พระแท่นเบญจดล หรือพระแท่นแว่นฟ้า ตามแต่ยศของพระศพนั้นๆ

สรุปย่อ ** การเผาพระบุพโพ คือ การเอาเลือด เอาน้ำเหลือง ของเสียต่างๆ มาเผา | อัญเชิญไปพระราชทานเพลิงที่เมรุผ้าขาว (เมรุขนาดเล็กทาสีขาวสร้างขึ้นเฉพาะงาน) ที่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาพระราชทานเพลิงที่เมรุหลวงฯ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นอันสิ้นสุดเรื่องของพระบุพโพ  ส่วนพระบรมศพในพระบรมโกศจะขึ้นริ้วขบวนไปถวายพระเพลิงที่สนามหลวง

น้ำเหลืองจากพระศพ (น้ำพระบุพโพ)

พระแท่นนี้มีลักษณะเป็นเครื่องไม้ปิดทอง ประดับกระจกสีลดหลั่นลงมา ด้านล่างสุดของพระแท่นนี้จะมีถ้ำพระบุพโพ ( ภาชนะเก็บน้ำเหลืองและของเสียจากพระศพ ) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นไหดินเผา มีท่อลักษณะเป็นไม้ไผ่เจาะปล่องให้เป็นรูยาวเหมือนท่อส่งพระบุพโพจากฐานพระโกศลงมา แล้วยารอยต่อระหว่างปากไหกับท่อ หรือปากท่อกับพระโกศด้วยขี้ผึ้ง (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นไหเซรามิก และท่อพลาสติกแล้ว) เมื่อพระบุพโพไหลลงมาจนเต็มไหเจ้าพนักงานก็จะเปลี่ยนไหใบใหม่แทน

ผังแสดงการวางถ้ำพระบุพโพ (น้ำเหลือง) ที่ใต้พระแทนฯ

ในส่วนของการจัดการพระบุพโพขั้นต่อไป นั่นคือ ก่อนถึงงานพระราชพิธีถวายพระเพลิง หรือพระราชทานเพลิง เจ้าพนักงานก็จะขึ้นไปยังพระแท่นฯ ทำการเปลื้องเครื่องพระโกศทองออก (ที่เห็นเป็นโกศลองนอกประดับอัญมณี ) ให้เหลือเพียงพระโกศลองใน (ที่เห็นเป็นโกศโลหะสีทองไม่ประดับอัญมณี)

ภาพพระลองใน ที่ใช้ทรงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7

จากนั้นก็อัญเชิญพระโกศลองในที่ทรงพระศพอยู่ลงมา แล้วอัญเชิญพระศพออกมาทำการเปลี่ยนผ้าห่อพระศพผืนใหม่ถวาย ส่วนพระบุพโพนั้นก็เชิญมาเคี่ยวในกระทะใบบัวใส่เครื่องไม้สมุนไพรหอม เคี่ยวให้แห้ง แล้วห่อด้วยผ้าขาวอีกครั้ง จากนั้นก็นำทั้งพระบุพโพที่ผ่านการเคี่ยว และผ้าห่อพระศพผืนเก่าเข้าไปในหีบไม้ ที่มีลักษณะเป็นหีบสี่เหลี่ยมจัตุรัสทาสีทอง หรือสีขาว

แล้วอัญเชิญไปพระราชทานเพลิงที่เมรุผ้าขาว (เมรุขนาดเล็กทาสีขาวสร้างขึ้นเฉพาะงาน) ที่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาพระราชทานเพลิงที่เมรุหลวงฯ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นอันสิ้นสุดเรื่องของพระบุพโพ

เวลาพระศพ หรือพระบรมศพ อยู่ในโกศ สมัยก่อนการแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้า ของเสียต่างๆในร่างกาย น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ของเสียเหล่านี้ จะค่อยๆ ไหลจากพระบรมศพมากองอยู่ที่ฐาน ในโกศจึงต้องมี รูให้ของเสียนั้นออกไป จะมีท่อระบายบุพโพจากโกศลงไปเก็บในโอ่งเซรามิกที่เรียกว่า “ถ้ำพระบุพโพ”

ภาพซ้าย : ภาพจากงานถวายพระเพลิงสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ใน ร.7 พระราชพิธีสุดท้ายที่ทำตามโบราณราชประเพณีครบทุกขั้นตอน เป็นช่วงถวายพระเพลิง “เผาจริง” ในพระบรม

ภาพขวา : ภาพพระเมรุมาศของพระพี่นาง ตรงซี่ๆ ตะแกรงที่เห็นด้านหน้า คือ ที่วางพระบรมโกศ เป็นการวางเป็นพิธีเฉยๆ แต่การถวายพระเพลิงจริงๆ มองตรงไปจะเห็นเตาไฟฟ้า ตอนในหลวงถวายพระเพลิง จริงๆ ท่านเปิดหีบพระศพ จุดไฟดอกไม้จันวางลงพระบรมศพ แล้วกดปุ่มเผาที่เตาไฟฟ้า

อดีตที่มีคนเล่า.. เกี่ยวกับการจัดการ พระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ นั้น มีการถวายการผ่าตัดพระบรมศพก่อน เพื่อนำพระอวัยวะภายในออกก่อน ที่จะมีการบรรจุเครื่องสุกำลงไปที่พระบรมศพ โดยใส่ขวดโหลออกมาเก็บไว้ และถวายพระเพลิงพร้อมกับพระบุพโพ

ความรู้เพิ่มเติม

พระโกศ คือที่ใส่พระบรมศพ และพระศพเจ้านาย ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ ตามคตินิยมของพราหมณ์ที่เชื่อว่า ต้องตั้งพระศพในท่ายืน, นั่ง, คุกเข่า หรือกอดเข่าประสานมือ เพื่อส่งพระศพและพระวิญญาณเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์

ปัจจุบันพระโกศ ใช้เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศพระบรมศพพระบรมวงศานุวงศ์ จากนั้นจะบรรจุพระบรมศพลงในหีบพระศพแทนการลงพระโกศ

เรียบเรียงโดย www.campus-star.com

สนใจเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ติดตามเพจ “คลังประวัติศาสตร์ไทย” ,  www.suanboard.net ภาพจาก Thailandchatter.com, นสพ.ข่าวสด

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง