ถวายรูด กรรมวิธีในการเลี้ยงพระศพ ในสมัยโบราณ ให้พระศพอยู่ได้นานขึ้น

สืบเนื่องจากในอดีต หากจะพระราชทานเพลิงพระศพพระราชวงศ์ชั้นสูงนั้น ในบางศพนั้นก็จะเก็บไว้นานพอสมควร บางรายเก็บไว้นาน 2-4 ปี เพราะจะต้องรอพระราชทานเพลิงด้วยเรื่องเกี่ยวกับฤดูกาล และก่อสร้างพระเมรุ เพื่อให้ทันพระราชทานเพลิงก่อนฝนใหม่จะมา ดังนั้นจึงต้องมีกรรมวิธีบางอย่างเพื่อที่จะเลี้ยงพระศพให้อยู่ได้นานขึ้น โดยปราศจากกลิ่นรบกวน  เพราะในอดีตไม่มียาฟอร์มาลีนกันศพเน่าเสีย หรือสารเคมีเพื่อให้ศพแห้งไปเองเหมือนดั่งในปัจจุบัน – บทความ.. ถวายรูด กรรมวิธีในการเลี้ยงศพ

ถวายรูด วิธีในการเลี้ยงศพ

กรรมวิธีในการเลี้ยงพระศพ

ดังนั้นจึงเกิดกรรมวิธีในการเลี้ยงพระศพ เช่น การกรอกสารปรอท หรือ น้ำผึ้งเข้าไปในร่างของศพซึ่งเป็นวิธีโบราณ แต่เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน การกรอกสารเคมีเพียงอย่างเดียวนั้นก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก ทำให้เศษอาหารที่ติดค้างอยู่ภายในศพนั้นเกิดปฏิกิริยา กับแบคทีเรียส่งผลให้มีน้ำเลือดน้ำหนองของเสียต่างๆ ไหลซึมออกมา ยิ่งหากวันใดมีกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินมาฟังสวดด้วยแล้ว เจ้าพนักงานที่อยู่งานเฝ้าจึงต้องเข้มงวดเรื่องกลิ่นเป็นพิเศษ โดยทำการสุมเครื่องหอมจากสมุนไพรอยู่ด้านหลังพระโกศ

การเลี้ยงพระศพในอดีตที่ยังไม่มีฟอร์มาลีน

โดยการถวายปรอท แลน้ำผึ้งเข้าไปในพระวรกายทางพระโอสฐ์ของพระศพ แล้วจึงจะถวายแผ่นพระพักต์ทองคำ ดังในฉากหนึ่งของภาพยนต์เรื่อง สุริโยทัย // ดูภาพต้นฉบับได้ที่ Facebook “คลังประวัติศาสตร์ไทย” อ่าน > การถวายหน้ากากทองคำ และ หักพระสาง (หวี)

การรูดเอาเนื้อหนังออก…

ดังนั้น ก่อนถึงงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพประมาณ 1 อาทิตย์ เจ้าพนักงานจะอัญเชิญพระศพออกมาจากพระโกศ เพื่อเปลื้องเอาผ้าห่อศพนั้นออก แล้วจากนั้นก็ทำการรูดเอาเนื้อหนังออกจนหมด บางส่วนที่ไม่สามารถรูดออกได้นั้นก็อาจจะต้องไปต้มในกระทะใบบัว ซึ่งน้ำต้มนี้มีส่วนผสมของเนื้อไม้ที่มีสรรพคุณให้กลิ่นหอม เมื่อน้ำต้มเดือดก็ใส่สมุนไพรหอมตามลงไปอีก รอจนชิ้นส่วนบางส่วนเปื่อยได้ที่ ก็จะอัญเชิญขึ้นมาทำการ “รูด” อีกครั้ง (หากเป็นพระศพของพระราชวงศ์ก็จะเรียกว่า “ถวายรูด”)

เมื่อเหลือเพียงแต่กระดูกขาวๆ…

เมื่อผ่านขั้นตอนทั้งหมดแล้ว ก็จะเหลือเพียงแต่กระดูกขาวๆ เจ้าพนักงานก็จะอัญเชิญพระศพใส่ผ้าขาวผืนใหม่ แล้วอัญเชิญลงสู่พระโกศดังเดิม เพื่อเตรียมพระราชทานเพลิงต่อไป สำหรับเนื้อหนังที่เหลืออยู่ในกระทะนั้นก็จะทิ้งไม่ได้ แต่จะมีพิธีกรรมเช่นเดียวกับการพระราชทานเพลิงพระบุพโพ (น้ำเหลืองหรือของเสีย)

จากภาพคือ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระบรมศพสุดท้ายในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ที่รับการถวายรูด , การพระราชทานเพลิงศพ ในกรณีที่ศพอยู่ในโกศ และตัวอย่างกระทะใบบัว

หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ เคยเล่าไว้ว่า ตอนท่านเป็นเด็กนั้นเคยแอบดูเจ้าพนักงานถวายรูดพระศพ ของ สมเด็จกรมพระยานริศฯ ซึ่งในขั้นตอนก่อนเชิญพระศพลงสู่พระโกศนั้นปรากฏว่า “เห็นแต่หัวกระโหลก และกระดูกห่ออยู่ในผ้าขาว”

ก่อนหน้านั้น มีการรักษาพระศพอย่างไร?

ก่อนหน้านั้นพระศพจะอยู่ในพระโกศอย่างเดียวไม่มีการเชิญลงมา แต่เจ้าพนักงานจะสุมเครื่องไม้สมุนไพรหอมอยู่ด้านหลังพระแท่นแว่นฟ้า เพื่อไม่ให้มีกลิ่นรบกวนเวลามีสวดบำเพ็ญพระราชกุศล ในส่วนของน้ำเลือดน้ำหนองของเสียนั้นจะไหลไปอยู่ที่ใต้พระโกศส่งต่อโดยท่อลงไปด้านลงซึ่งจะมีภาชนะรองอยู่

มีเรื่องเล่ากันว่า ในคราวงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เรื่องบุพโพนั้นเป็นเรื่องหนักใจของงานพระบรมศพมาก เพราะมักส่งกลิ่นรบกวน ต้องสุมเครื่องหอมดับกลิ่นกันอยู่เสมอ ว่ากันว่า กลัวกลิ่นถึงขนาดเจาะพื้นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเพื่อประดิษฐานถ้ำบุพโพไว้ลึกๆ แล้วยังท่อไม้ไผ่ทะลุปล้องลงไปถึงถ้ำบุพโพที่วางอยู่ในพื้นที่ถูกเจาะลงไปนั้น เพื่อจะได้ไม่ส่งกลิ่นรบกวน เจ้าพนักงานภูษามาลาที่เฝ้าพระบรมศพ พระศพ ต้องคอยดูว่าพระบุพโพเต็มในถ้ำบุพโพหรือไม่ เพื่อจะได้นำไปทำตามโบราณราชประเพณีต่อไป

ถังบุพโพนี่ถ้าจัดการไม่ดี มีแมลงวันไปไข่ หรือกลิ่นออก จะทำให้การไปไหว้พระบรมศพเป็นเรื่องสุดสยองกับกลิ่นเน่าที่กระจายคละคลุ้ง

เรื่องของน้ำพระบุพโพ (น้ำเหลืองจากพระศพ)

ด้านบนคือ ผังแสดงการวางถ้ำพระบุพโพที่ใต้พระแทนฯ

ด้านล่างซ้ายคือ พิธีถวายพระเพลิงพระบุพโพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ถวายพระเพลิงพระบุพโพในเตาเผาแบบสมัยใหม่ที่เมรุหลวงฯ วัดเทพศิรินทราวาส / ภาพด้านล่างขวา รูสำหรับท่อพระบุพโพที่ใต้ฐานพระโกศ สังเกตจากภาพจะเห็นแผ่นเหล็กตรงมือคนจับ เมื่อเปิดออกจะเป็นแผ่นตระแกรง

การผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะภายในออกก่อน

อดีตที่มีคนเล่า.. เกี่ยวกับการจัดการพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ นั้น มีการถวายการผ่าตัดพระบรมศพก่อนเพื่อนำพระอวัยวะภายในออกก่อนที่จะมีการบรรจุเครื่องสุกำลงไปที่พระบรมศพ โดยใส่ขวดโหลออกมาเก็บไว้ และถวายพระเพลิงพร้อมกับพระบุพโพ / อ่านเรื่อง “เรื่องของน้ำพระบุพโพ (น้ำเหลืองจากพระศพ)

ปัจจุบัน การถวายรูดนี้มิปรากฏเสียแล้ว

เนื่องจากนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น ทำให้สามารถเก็บรักษาพระศพได้ยาวนานเป็นปี โดยไร้ซึ่งกลิ่น และน้ำเหลือง การถวายรูดนี้มีครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2499 คือ งานพระบรมศพสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 งานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ทางสำนักพระราชวังได้งดการถวายรูดเสีย เพราะพระมังสาแห้งติดไปกับพระบรมอัฐิ (เนื้อหนังแห้งติดกับกระดูก) ซึ่งมีผลมาจากที่พระบรมศพได้รับการถวายฉีดยาฟอร์มาลินเข้าไปในพระบรมศพแล้ว

ที่มา Facebook คลังประวัติศาสตร์ไทย , บทสรุปของ “ศพในโกศ เรื่องที่ทุกคนอยากรู้” , คลังโบราณสถานไทย ,  www.suanboard.net , เกร็ดความรู้เกี่ยวกับงานพระศพเจ้าฟ้าเพชรรัตน์

สรุปย่อ การรูดศพ

ตอนครบร้อยวัน ถึงหน้าแล้งที่จะเผาศพ มัมมี่ที่เน่าเสียจนยุบเละ แต่ผิวนอกดำแข็ง ก็จะถูกเปิดโกศออกมา ดึงออกมาทีละส่วน โดยสัปเหร่อจะล้วงดึงหัว ดึงแขนขา ออกมาต้มในกระทะใบบัว แล้วรูดเอาเนื้อออกจากกระดูก ระหว่างต้มเนื้อเน่าเพื่อรูดกระดูก ก็จะใส่เครื่องหอมลงไปเยอะๆ เพื่อกลบกลิ่น … เนื้อเน่าที่รูดออกมาอยู่ในกระทะต้มน้ำ จะถูกต้มรวมกับของเน่าในถังบุพโพ ที่รวบรวมได้ตอนตั้งศพ กวนไปเรื่อยๆ ต่อจนงวด (คล้ายๆ ทุเรียนกวน) เอาใส่หีบ แล้วปลงแยกที่วัดเทพฯ ส่วนกระดูกที่รูดออกมาแล้ว เอากลับใส่โกศเล็ก เป็นพระบรมอัฐ เอาไปจัดการต่อที่สนามหลวง (เผาแต่กระดูกอย่างเดียว)

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง