ในระหว่าง ภาษาพูด และภาษาเขียนนั้น ปัญหาที่มีมากที่คือ ภาษาเขียน ว่าเขียนอย่างไรจึงจะถูกตามพจนานุกรม เพราะในการพูดนั้นแม้จะพูดผิดไปบ้างก็พอฟังเข้าใจ แต่ในด้านการเขียนก่อนที่จะจะมีปทานุกรมหรือพจนานุกรมออกมาเป็นทางราชการ คำบางคำอาจเขียนไม่เหมือนกันหรือเขียนไม่ตรงกัน เพื่อให้เกิดเอกภาพในการเขียนเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ลักลั่น และถูกต้องตามอักขระวิธีของภาษาไทย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑทิตยสถาน จึงได้กำหนดให้เขียนเพียงรูปแบบเดียว รวมคำที่มักเขียนไม่ถูกต้อง หรือคำที่ผิดความหมายไปจากที่ต้องการเขียน ดังนี้
คำที่มักเขียนผิด หมวดอักษร ก.ไก่
คำ | มักเขียนผิดเป็น | คำ | มักเขียนผิดเป็น |
กงสุล | กงศุล | กฎ | กฏ (ตอ-ปะ-ตัก) |
กบ (เต็ม, แน่น) | กลบ | กฎหมาย | กฏหมาย |
กบฏ | กบฎ, กบถ | กรรไกร | กันไกร |
กรรเชียง | กันเชียง | กรรโชก | กันโชก |
กรรไตร | กันไตร | กรรมบถ | กรรมบท |
กรรมพันธุ์ | กรรมพันธ์ | กรรมสิทธิ์ | กรรมสิทธิ |
กรวดน้ำ | ตรวจน้ำ | กร่อน | กล่อน |
กระจิริด | กระจิ๊ดริด, กะจิ๊ดริด | กระเชอ (ภาชนะสาน) | กระเฌอ, กะเฌอ |
กระตือรือร้น | กระตือรือล้น, กะตือรือร้น | กระเทือน | กะเทือน |
กระบวนการยุติธรรม | ขบวนการยุติธรรม | กระเบียดกระเสียร | กระเบียดกระเสียน, กะเบียดกะเสียน |
กระปรี้กระเปร่า | กะปรี้กะเปร่า | กระเพาะ | กะเพาะ |
กระสัน | กระสันต์ | กระแสน้ำ | กระแสร์น้ำ |
กระหนก (ลายไทย) | กนก (ทอง) | กระหืดกระหอบ | กะหืดกะหอบ |
กริยา (ไว, คำแสดงอาการ) | กิริยา (มารยาท) | ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า | ก๋วยเตี๋ยวลาดหน้า |
กเฬวราก | กเลวราก | ก๊อก | ก็อก |
กอปร | กอป, กรบร | ก้อร่อก้อติก | ก้อล่อก้อติก, ก้อล่อก้อติด |
กะทัดรัด | กระทัดรัด | กะทันหัน | กระทันหัน |
กะทิ | กระทิ | กะเทาะ | กระเทาะ |
กะปริบกะปรอย | กระปริบกระปรอย | กะโปโล | กระโปโล, กะโปโร |
กะพง | กระพง | กะเพรา | กระเพรา |
กะลา | กระลา | กะเล่อกะล่า | กระเล่อกระล่า |
กะหรี่ปั๊บ | กระหรี่ปั๊บ, กะหรี่พั๊บ | กะโหลก | กระโหลก |
กักขฬะ | กักขละ | กังวาน | กังวาล |
กังสดาล | กังสดาน | กัญชา | กันชา |
กันดาร (อัตคัด) | กันดาล (กลาง) | กัป | กับป์ |
กัลป์ | กัล | กากบาท | กากะบาท, กากบาด |
กามารมณ์ | กามารมย์ | การบูร | การะบูร, การะบูน, การบูน |
กาลเทศะ | กาละเทศะ | ก้าวร้าว | กร้าวร้าว |
กำเนิด | กำเหนิด | กิจจะลักษณะ | กิจลักษณะ |
กิตติกรรมประกาศ | กิติกรรมประกาศ | กิตติมศักดิ์ | กิติมศักดิ์ |
กิริยา (มารยาท) | กริยา (ไว, คำแสดงอาการ) | กุฐัง | กุดฐัง |
เกร็ดความรู้ | เกล็ดความรู้ | เกล็ดปลา | เกร็ดปลา |
เกศา | เกษา | เกษียณอายุ | เกษียนอายุ, เกษียรอายุ |
เกษียรสมุทร | เกษียณสมุทร, เกษียนสมุทร | เกสร | เกษร |
เกินดุล | เกินดุลย์ | โกฎิ (10 ล้าน) | โกฎ |
โกศ (ที่ใส่ศพ) | โกฐ (เครื่องยาสมุนไพร) |
—
ภาษาไทยนับว่าเป็น “เอกลักษณ์” ที่สำคัญที่สุดซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นไทยของเรา ภาษาไทยมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน โดยภาษาเขียนนั้นได้มีภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่มาก ทั้งภาษาบาลีสันสกฤต มอญ จีน อาหรับ เขมร และภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ บางคำเราก็ออกเสียงตามสำเนียงเดิมของเขา บางคำก็นำมาปรับใช้ให้เข้ากับลิ้นของเรา บางคำเราก็อ่านตามหลัก บางคำเราก็อ่านตามความนิยม หรือบางคำก็อ่านทั้งตามหลักและและตามความนิยม เช่น ภรรยา อ่านว่า พันยา (ตามหลัก) หรือ พัน-ระ-ยา (ตามความนิยม) ก็ได้ แต่โดยทั่วๆ ไปแล้ว เราควรจะยึกหลักไว้ก่อน เพื่อให้เกิดเอกภาพในการอ่าน.
บทความแนะนำ
- วันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม อนุรักษ์ภาษาไทย รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในหลวง ร.9
- คำว่า คะ, ค่ะ, นะคะ, แซว เขียนและใช้อย่างไรให้ถูกต้อง
- เขียนแบบนี้ก็ไม่ผิดนะ! กับ 20 คำไทย ที่เขียนได้มากกว่า 1 แบบ
- คำที่มักเขียนผิด หมวด ช ซ ฌ ญ – เรียนรู้ภาษาไทยให้เข้าใจกว่าเดิม
- พยัญชนะไทย เส้นหยักๆ ฎ ฏ ฐ ฑ ฌ ฬ ฐ ที่มักจำสับสนทุกที