กฎหมาย พ.ร.บ. พ.ร.บ.ไซเบอร์

พ.ร.บ.ไซเบอร์ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร | เมื่อประกาศใช้ จะส่งผลต่อใครบ้าง?

Home / สาระความรู้ / พ.ร.บ.ไซเบอร์ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร | เมื่อประกาศใช้ จะส่งผลต่อใครบ้าง?

เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ทุกคนต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก สำหรับ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. … หรือ ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ ที่ในวันนี้ (วันที่ 27 ก.พ. 62) ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ กำลังเข้าสู่กระบวนการพิจารณาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อผลักดันออกมาเป็นกฎหมายต่อไป

ทำความเข้าใจ พ.ร.บ.ไซเบอร์ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

ล่าสุด! วันที่ 28 ก.พ. 62 ที่ประชุม สนช. ลงมติเห็นชอบกฎหมายไซเบอร์ เปิดช่องรัฐคุมความมั่นคงไซเบอร์ ด้วยคะแนน 133 เสียง งดออกเสียง 16 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 ชี้เพื่อประโยชน์และป้องกันภัยคุกคามร้ายแรง

และในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ มีข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ มาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกันก่อนค่ะว่า พ.ร.บ. นี้มีความสำคัญอย่างไร ทำไมต้องนำมาใช้ และเมื่อมีการประกาศออกมาใช้แล้ว เราควรต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง? (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ : คลิกที่นี่)

พ.ร.บ.ไซเบอร์

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ คืออะไร?

สำหรับ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือโครงข่ายโทรคมนาคม อันก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน เช่น การเจาะระบบคอมพิวเตอร์ การสอดแนมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสปายแวร์ หรือ การทำให้ระบบเกิดความเสียหายจนล่มในที่สุด เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังรวมถึงเรื่องการโพสต์ แชร์ข้อความ แชร์ภาพบนเฟซบุ๊ก ไลน์ หรือการส่ง SMS ผ่านอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะถูกตีความว่า เป็นภัยคุมคามทางไซเบอร์ได้เช่นกัน หากข้อมูลดังกล่าวถูกสงสัยว่า ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความมั่งคงของประเทศ

เหตุผลการสร้าง ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์

เนื่องจากในปัจจุบันได้มีภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มจำนวนสูงขึ้นเรื่อย ๆ และทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ ส่งผลกระทบและสร้างความเสียงหายในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งนานาประเทศต่างให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก พร้อมหาวิธีในการแก้ไขปัญหากับภัยคุกคามดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อกำหนดแนวทางและมาตราการต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น และนำมาบังคับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทำไม ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ ถูกผลักดันเป็นกฎหมาย

ร่าง พ.ร.บ. ไซเบอร์ฯ เป็นกฎหมายที่ถูกบัญญัติขึ้นมา เพื่อป้องกันหรือเตรียมรับมือและจัดการภัยคุมคามทางไซเบอร์ทุกประเภท ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และยังรวมถึงด้านเศรษฐกิจ สาธารณสุข อีกด้วย

แต่การผลักดันร่าง พ.ร.บ นี้ให้เป็นกฎหมายในช่วงเวลาที่ขยับใกล้การเลือกตั้ง ปี 2562 เข้าไปเรื่อย ๆ อาจจะทำให้หลายฝ่ายมองว่ารัฐบาลมีเจตนา ต้องการออกกฎหมายฉบับนี้ เพื่อทำการควบคุมสื่อโซเชียลในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็อาจจะเป็นไปได้ (ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองความคิดของแต่ละบุคคลว่าจะมีความคิดเห็นอย่างไร แต่ทั้งนี้เราควรมองความเป็นเหตุเป็นผลส่วนใหญ่ เพื่อความเป็นกลางมากที่สุด)

พ.ร.บ.ไซเบอร์

รู้จัก ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ ผ่าน 8 ข้อน่ารู้

1. นิยามของภัยคุกคามทางไซเบอร์ตีความได้กว้างครอบคลุม “เนื้อหา” บนโลกออนไลน์ทั้งหมด
2. เจ้าหน้าที่รัฐสามารถขอข้อมูลจากใครก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการทำงานและการควบคุมความมั่งคงของประเทศ
3. กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ยึด-ค้น-เจาะ-ทำสำเนา คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์
4. เมื่อมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ร้ายแรง เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าไปส่องข้อมูลของบุคคลต่าง ๆ ได้แบบ Real-Time
5. ในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วนเจ้าหน้าที่สามารถใช้อำนาจได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล
6. การใช้อำนาจยึด ค้น เจาะ หรือขอข้อมูลใด ๆ ไม่สามารถอุทธรณ์ เพื่อยับยั้งได้
7. เมื่อมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ระดับวิกฤติ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาความมั่งคงแห่งชาติในการดำเนินการต่อไป
8. ผู้ใดฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจะมีโทษทั้งปรับและโทษจำคุก

ความน่ากลัวของ ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ เมื่อนำมาใช้

1. ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ หากผ่านและมีการประกาศใช้เมื่อใด ทุกคนต้องระวังกันไว้ให้ดีเลย เพราะท่านที่ใช้โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ มีโอกาสเสี่ยงติดคุกสูงมาก (มาตรา 57)

  • มาตรา 57 กำหนดว่า เลขาธิการสามารถออกคำสั่งให้บุคคลผู้เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ต้องดำเนินมาตรการเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหา และประเมินผลกระทบจากภัยคุกคามไซเบอร์ และในกรณีจำเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่อาจขอความช่วยเหลือในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์จากบุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าใช้หรือเคยใช้

2. เลขาธิการ กปช. มีอำนาจสสั่งผู้ที่เป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ หรือผู้ครอบครอง หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป นั่นก็คือพวกเราให้ทำทุกอย่างตามรายละเอียดดังนี้ (หากใครฝ่าฝืนจะถูกจำคุก 3 ปี)

  • นิยามของภัยคุกคามทางไซเบอร์ตีความได้กว้างครอบคลุม “เนื้อหา” บนโลกออนไลน์ทั้งหมด
  • เจ้าหน้าที่รัฐสามารถขอข้อมูลจากใครก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการทำงานและการควบคุมความมั่งคงของประเทศ
  • กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ยึด-ค้น-เจาะ-ทำสำเนา คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์
  • เมื่อมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ร้ายแรง เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าไปส่องข้อมูลของบุคคลต่าง ๆ ได้แบบ Real-time

พ.ร.บ.ไซเบอร์

3. เลขาธิการ กปช. มีอำนาจสั่งให้เราแก้ไข ไวรัส มัลแวร์ ที่อยู่ในเครื่องเรา อัปเดตซอฟต์แวร์ ยกเลิกการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต หรือยกเลิกการเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายในของเรา หรือให้ยุติประมวลการทำงาน หากใครฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 3 ปี

4. เลขาธิการ มีอำนาจสสั่งให้เราหยุดใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ หาใครฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 3 ปี

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เมื่อ ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ ถูกประกาศใช้เป็นกฎหมาย ซึ่งที่เราทุกคนควรระวังเป็นอย่างมากเลยก็คือ โซเชียลมีเดีย ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ฯลฯ ที่เราต้องคิดให้มากขึ้นหากต้องการแชร์ โพตส์ อะไรต่าง ๆ เพราะเป็นช่องทางที่ เลขาธิการ กปช. จะสามารถเข้ามาสอดส่องและตรวจสอบข้อมูลการติดต่อสื่อสารของเราได้ทั้งการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ และยังรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ทุกประเภท ที่สามารถเข้ามาตรวจสอบได้เลย โดยไม่ต้องการผ่านการกลั่นปรองจากศาลหรือกระบวนการยุติธรรม

หากเจ้าหน้าที่รัฐทำผิด จะได้รับโทษหรือไม่?

ทั้งนี้ ทุกคนอาจจะสงสัยว่าหากเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดจะมีบทลงโทษหรือไม่ ในเรื่องนี้ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐกระทำผิด หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือทำการทุจริต จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีหรือไม่ เนื่องจาก ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.) มีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่ใช่หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ทำให้ไม่อาจจะฟ้องในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทำการทุจริตได้ ตามประมวลกฎหมายอาญาในมาตรา 157

อ้างอิงข้อมูลจาก : news.mthai.comprachatai.com

บทความที่น่าสนใจ