ในสมัยเด็ก เคยได้ดูละครที่เกี่ยวกับป่าหิมพานต์ ได้พบกับสัตว์นานาชนิดที่ล้วนแปลกประหลาดต่างจากสัตว์ที่เคยเห็นทั่วๆ ไป จนมาวันนี้ได้มีโอกาสเห็นพระเมรุมาศในหลวง ร.9 ทำให้เกิดความสนใจเรื่องราวเหล่านี้อีกครั้ง
ป่าหิมพานต์ สัตว์หิมพานต์ ไตรภูมิ
ป่าหิมพานต์ หรือ หิมวันต์ เป็นป่าในวรรณคดีและความเชื่อในเรื่องไตรภูมิ ตามคติศาสนาพุทธและฮินดู มีความเชื่อว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเชิงเขาพระสุเมรุ ป่าหิมพานต์มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ เท่ากับ 10 ไมล์ หรือ 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด
มีสระใหญ่ 7 สระ
คือ สระอโนดาต , สระกัณณมุณฑะ , สระรถการะ , สระฉัททันตะ , สระกุณาละ , สระมัณฑากิณี , สระสีหัปปาตะ
บรรดาสระใหญ่ทั้ง 7 นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง 5 ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอดมีส่วนสูงและสัณฐาน 200 โยชน์ กว้างและยาวได้ 50 โยชน์
ในป่าหิมพานต์นี้เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด รู้จักในนามของสัตว์หิมพานต์ ซึ่งล้วนแปลกประหลาดต่างจากสัตว์ที่มนุษย์ทั่วไปรู้จัก เป็นสัตว์หลายอย่างผสมกันแล้วตั้งชื่อขึ้นใหม่ สัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของจิตรกรไทยโบราณ ที่ได้สรรค์สร้างภาพจากเอกสารเก่าต่างๆ
ภาพจาก pantip.com/topic/30178465
สัตว์หิมพานต์
คือสัตว์ในจินตนาการที่กวี หรือจิตรกร พรรณนาถึง อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ดังที่ปรากฏในวรรณคดีไตรภูมิพระร่วง และรามเกียรติ์ โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดมาประกอบกันในตัวเดียว จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์ทวิบาท (มีสองขา) สัตว์จตุบาท (มีสี่ขา) และจำพวกปลา
จำแนกตามชนิดสัตว์
นก
– อสูรปักษา , อสุรวายุพักตร์ , นกการเวก , ครุฑ , กินรี , เทพปักษี , นกทัณฑิมา
– หงส์ , หงส์จีน , คชปักษา , มยุระคนธรรพ์ , มยุระเวนไตย , สินธุปักษี , สีหสุบรรณ , สุบรรณเหรา
– มังกรสกุณี , นาคปักษี , นาคปักษิณ , นกหัสดี , นกอินทรี , นกสัมพาที , กินนร , สกุณเหรา
– นกเทศ , พยัคฆ์เวนไตย , นกสดายุ , เสือปีก , อรหัน
สิงห์
– บัณฑุราชสีห์, กาฬสีหะ , ไกรสรราชสีห์ , ติณสีหะ
– เกสรสิงหะ , เหมราช , คชสีห์ , ไกรสรจำแลง , ไกรสรคาวี , เทพนรสีห์ , ฑิชากรจตุบท ,โต
สิงห์ผสม
– ไกรสรนาคา, ไกรสรปักษา, โลโต, พยัคฆ์ไกรสร, สางแปรง , สิงหคาวี , สิงหคักคา , สิงหพานร
– สกุณไกรสร , สิงห์ , สิงโตจีน , สีหรามังกร , โตเทพสิงฆนัต , ทักทอ , นรสิงห์
ม้า
– ดุรงค์ไกรสร, ดุรงค์ปักษิณ ,เหมราอัสดร , ม้า , ม้าปีก , งายไส , สินธพกุญชร , สินธพนที
– ตเทพอัสดร, อัสดรเหรา , อัสดรวิหก
ปลา
– เหมวาริน , กุญชรวารี , มัจฉนาคา , มัจฉวาฬ . นางเงือก , ปลาควาย , ปลาเสือ , ศฤงคมัสยา
ช้าง
– เอราวัณ , กรินทร์ปักษา , วารีกุญชร , ช้างเผือก
กิเลน
– กิเลนจีน , กิเลนไทย , กิเลนปีก
กวาง
– มารีศ , พานรมฤค , อัปสรสีหะ
จระเข้ : กุมภีนิมิตร , เหรา
ลิง : กบิลปักษา, มัจฉาน
วัว-ควาย : มังกรวิหค , ทรพา ทรพี
แรด : แรด , ระหมาด
สุนัข, ปู , นาค
มนุษย์ : คนธรรพ์ , มักกะลีผล
/////
นารีผล หรือ มักกะลีผล
เป็นพรรณไม้ตามความเชื่อจากตำนานป่าหิมพานต์ เป็นพืชที่ออกลูกเป็นหญิงสาว เมื่อผลสุกแล้ว บรรดา ฤๅษี กินร วิทยาธร คนธรรพ์ จะนำไปเสพสังวาส
ในวรรณคดีระบุว่า มักกะลีผลเมื่อสุกแล้ว จะกลายเป็นหญิงสาวงามอายุราว 16 ปี แต่ที่ศีรษะจะยังมีขั้วติดอยู่ นิ้วมือทั้ง 5 ยาวเท่ากัน ผมยาวสีทอง ตากลมโต คอเป็นปล้อง ไม่มีโครงกระดูก แต่ส่งเสียงได้เหมือนมนุษย์จริง ๆ มักกะลีผลที่ยังอ่อนมีลักษณะเหมือนคนนั่งคู้เข่าอยู่ เมื่อโตขึ้นขาจะเหยียดออกก่อน เมื่อโตเต็มที่จึงเหยียดตัวเหมือนคนยืนตัวตรง บรรดาฤๅษี กินร วิทยาธร คนธรรพ์ ที่ยังมีตัณหาอยู่ จะมาออที่โคนต้น เพื่อรอสุกก็จะแย่งชิงกันเด็ดไปเป็นภรรยา ต้องยื้อแย่งกัน ทำร้ายกันถึงตาย ผู้ที่เหาะได้ก็เหาะขึ้นไปเก็บ ผู้ที่เหาะไม่ได้ก็ใช้ไม้สอยหรือปีนขึ้นไปเก็บ เมื่อมาแล้วก็จะนำไปที่อยู่ของตน ทะนุถนอมระแวดระวังอย่างดีมิให้ใครแย่งเอาไป แต่มักกะลีผลมีชีวิตอยู่ได้เพียง 7 วัน ก็จะเน่าเปื่อยไป
ซึ่งในวรรณคดีไทยที่มีการกล่าวถึง มักกะลีผล ได้แก่ พระเวสสันดรชาดก, มหาชาติคำหลวง และไตรภูมิพระร่วง / อ่านเพิ่มเติม : ตำนานการถือกำเนิด นารีผล , ภาพจาก ตาโต
รายละเอียดสัตว์ในป่าหิมพานต์ : ดูไฟล์ PDF
ไตรภูมิ หรือ ไตรโลก (หมายถึง สามโลก)
ซึ่งเป็นคติเกี่ยวกับโลกสัณฐานตามความเชื่อในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ไตรภูมิประกอบด้วย กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ สัตวโลกทั้งหลายก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในไตรภูมินี้ จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ / ที่มา ไตรภูมิ
ขอบคุณภาพจาก คุณอาร์ท , Himmapan Forest