คําราชาศัพท์ หมวดกริยา – คำแสดงอาการต่างๆ เช่น พูด เดิน ยืน

บทความให้ความรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ คำที่เป็นระเบียบการใช้ภาษาไทยให้สุภาพ ตามชั้นของบุคคลซึ่งแบ่งเป็นห้าชั้น ได้แก่ กษัตริย์ เจ้านาย หรือพระราชวงศ์ พระสงฆ์ของศาสนาพุทธ ข้าราชการ และสุภาพชนทั่วไป

คําราชาศัพท์ หมวดกริยา

โดย คำราชาศัพท์ แบ่งได้ 6 หมวด คือ 1. หมวดร่างกาย 2. หมวดเครือญาติ 3. หมวดเครื่องใช้ 4. หมวดกริยา5. หมวดสรรพนาม
6. หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์

หมวดกริยา

คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำกริยา เป็นคำแสดงอาการ

แบ่งเป็น 4 ชนิด

1. กริยาที่เป็นราชาศัพท์ในตัวเอง เช่น ตรัส(พูด) เสด็จ(ไป) กริ้ว(โกรธ) ประชวร (ป่วย) ประสูติ(เกิด) ทูล(บอก) เสวย(กิน) ถวาย(ให้) บรรทม(นอน) ประทับ(อยู่) โปรด(รัก,ชอบ) ทรงม้า(ขี่ม้า) ทรงดนตรี(เล่นดนตรี)

2. ใช้ “ทรง” นำหน้ากริยาธรรมดา เช่น ทรงฟัง ทรงยืน ทรงยินดี

3. “ห้ามใช้-ทรง” นำหน้ากริยาที่มีนามราชาศัพท์ เช่น มีพระราชดำริ (ห้ามใช้ทรงมีพระราชดำริ) มีพระบรมราชโองการ (ห้ามใช้ทรงมีพระบรมราชโองการ)

4. ใช้ “เสด็จ” นำหน้ากริยาบางคำ เช่น เสด็จกลับ เสด็จขึ้น เสด็จลง

กริยา คำว่า “ทรง”

คำว่าทรง ทรง ตามด้วย คำนาม มีความหมายถึง กษัตริย์เทพเจ้า
ตัวอย่าง ทรงธรรม ทรงชัย ทรงฉัตร หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม
ทรงโค หมายถึง พระอิศวร
ทรงครุฑ หมายถึง พระนารายณ์

คำว่าทรง คำนาม ตามด้วย ทรง บอกให้ทราบว่า สิ่งนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง เครื่องทรง รถพระที่นั่งทรง ม้าทรง

คำว่าทรงตามด้วยนามราชาศัพท์ ตัวอย่าง ทรงยินดี ทรงฟัง ทรงนิ่ง
คำว่าทรงหมายถึงทำ ตัวอย่าง ทรงบาตร หมายถึง ใส่บาตร
ทรงม้า หมายถึง ขี่ม้า
ทรงกรม หมายถึง มีฐานันดรเป็นเจ้าต่างกรม

คำว่าทรงเมื่อใช้กับกริยา “มี” และ “เป็น”
• ถ้าคำนามข้างหน้าเป็นราชาศัพท์ ไม่ต้องใช้ทรง
ตัวอย่าง เป็นพระราชโอรส มีพระบรมราชโองการ
• ถ้าคำนามข้างหลังเป็นคำสามัญ ต้องใช้ทรง
ตัวอย่าง ทรงเป็นประธาน ทรงมีทุกข์

ภาพประกอบ www.rawpixel.com

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง