ตำนาน สะพานนวลฉวี คดีดังในอดีต ปี พ.ศ. 2502 – หมออธิป

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2501 นวลฉวีได้เดินทางเที่ยวทางเหนือกับเพื่อนชื่อโมทนี และพบรักกับหมอคนนี้ชื่อ หมออธิป สุญาณเศรษฐกร และหมออธิป สุญาณเศรษฐกร นี้แหละคือคนที่เปลี่ยนชีวิตของนวลฉวีให้อยู่ในรูปของตำนาน!

ตำนาน สะพานนวลฉวี คดีดังในอดีต

ประวัติหมออธิป

หมออธิป สุญาณเศรษฐกร เกิดและโตในกรุงเทพฯ เป็นบุตรคนสุดท้องในลูก 5 คน ในครอบครัว (พ่อแม่เป็นข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ อดีตเคยเป็นคนในจังหวัดฉะเชิงเทรา)

หมออธิปเป็นหนุ่มที่หน้าตาค่อนข้างดี ใจเย็น และฉลาดเฉลียว เขาสามารถศึกษาชั้นเตรียมวิทยาศาสตร์ จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนจบเมื่อ พ.ศ. 2494 โดยช่วงเวลาว่างหมออธิปจะสมัครทำงานที่อู่รถใกล้บ้าน เพื่อเก็บเงินซื้อหนังสือเรียนและซื้อขนมกิน

ในปี พ.ศ. 2500 หมออธิปจบการศึกษาแพทย์ศาสตร์ จากศิริราชพยาบาล ได้รับหมายเกณฑ์เข้าประจำสำรองราชการ กรมกำลังพลทหารอากาศ ได้รับว่าที่เรืออากาศโท เข้ารับราชการเป็นนายแพทย์อยู่โรงพยาบาลรถไฟ

ในปี พ.ศ. 2501 หมออธิปย้ายไปเป็นแพทย์รถไฟ หัวหน้าเขต 4 จังหวัดลำปาง จนพบรักกับนวลฉวีในเวลาต่อมา…

พบรักกับนวลฉวี..

ด้วยความเปล่าเปลี่ยวของหนุ่มเมืองที่ต้องห่างไกลความเจริญ มาอยู่ท่ามกลางความสงบเงียบแห่งบ้านป่า เมื่อมีโอกาสได้ทำความใกล้ชิดกับหญิงสาวที่มีเสน่ห์ และรู้จักเอาใจอย่างนวลฉวี ทำให้หมออธิปมีความสุขและมีชีวิตชีวา ความรักใคร่ที่ค่อย ๆ ก่อเกิด ชั่วระยะเวลาไม่นานที่ได้อยู่ด้วยกันนี้ สองคนหนุ่มสาวก็ผูกจิตปฏิพัทธ์ และต่างรู้ว่าอีกฝ่ายก็มีใจให้เช่นกัน

หมออธิปได้ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ พาหญิงสาวทั้งสองเที่ยวด้วยกันประมาณ 3-4 วัน หลังจากนั้นนวลฉวีกับเพื่อนก็อำลาหมอเดินทางไปที่เชียงใหม่ต่อ ทิ้งความหลังอันหวานชื่นไว้ที่นครลำปาง ดินแดนแห่งการคร่ำครวญหวลหาของนวลฉวี เธอพบชายหนุ่มในดวงใจเข้าแล้ว

ติดต่อกันทางจดหมาย แต่ต่างอำพรางธาตุแท้ของตน

ต่อมามีจดหมายจากกรุงเทพฯ ของนวลฉวี ถูกส่งไปถึงมือหมออธิปที่นครลำปางเป็นระยะๆ จนกระทั้งผ่านไป 6 เดือน หมออธิปย้ายกลับโรงพยาบาลดังเดิม เขาทำการติดต่อนวลฉวี โดยใช้สื่อทางจดหมายแทนโทรศัพท์เป็นระยะ ความรักทั้งสองยิ่งแน่นแฟ้นจนกลายเป็นสามีภรรยาโดยพฤตินัย โดยใช้บังกะโล และโรงแรม เป็นเรือนหอชั่วคราว

ความรักของคนสองคนดำเนินไปอย่างหวานชื่น โดยต่างฝ่ายปิดบังอำพรางธาตุแท้ของตนเอง

เดือนกุมภาพันธ์-ธันวาคม 2501 นวลฉวีล้มป่วยในโรงพยาบาลยาสูบ 1 เดือน หมออธิปไปเยี่ยมนวลฉวีหลายครั้ง อาการของเธอบ่งบอกว่าตกเลือดมาก แต่เธอไม่บอกใครว่าเธอป่วยเป็นโรคอะไร แต่ดูจากอาการหมออธิปรู้ทันทีว่าเธอคงแท้งลูก

ผู้หญิงอีกคนในชีวิตหมอ..

ชีวิตของหมออธิปเริ่มยุ่งเหยิงขึ้น เนื่องจากการมีผู้หญิงเข้ามาในหัวใจของหมอ นางสาวสมบูรณ์ สืบสมาน นักศึกษาสาวแห่งมหาวิทยาลัยเทคนิคทุ่งมหาเมฆ ปีสุดท้าย เธอเป็นเพื่อนตั้งแต่เด็กของหมออธิป เธอสวยเหลือเกิน

สอบได้ทุนไปเรียนต่อที่เยอรมนี

ต่อมาหมออธิปสอบได้ทุนฮุมโบลก์ไปเรียนต่อที่ประเทศเยอรมนี เนื่องจากโรงพยาบาลรถไฟจะเป็นแผนกใหม่ พอกลับมาหมออธิปก็เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกตาที่นี่

ในเดือนมกราคม 2502 ทางการรถไฟส่งหมออธิปไปฝึกงาน โรคหู ตา จมูก ที่โรงพยาบาลศิริราช 6 เดือน ตอนเย็นก็ไปเรียนภาษาเยอรมันที่เลขาทูต ทำให้เวลาที่หมอได้เจอนวลฉวียิ่งหดหายไป

ฝึกงาน งานเยอะ เวลาเจอกันน้อยลง

ฝ่ายนวลฉวีเริ่มระแคงระคายความรักของหมออธิป ด้วยความหึงหวง เธอถึงกับใช้วิธีต่างๆ เพื่อจับหมออธิปให้อยู่หมัด ไม่ว่านั่งเฝ้าหมอในที่ทำงาน ตามทุกหนทุกแห่งเหมือนเงาตามตัว แทนที่หมออธิปจะรัก กลับเพิ่มความรำคาญแก่หมออธิปมากขึ้น “มีอย่างที่ไหนตามอย่างกับเป็นเมียเรานี้แหละ”

หมออธิปจดทะเบียนสมรสกับนวลฉวี

11 มีนาคม 2502 หมออธิปจดทะเบียนสมรสกับนวลฉวี เพชรรุ่ง ที่ อำเภอยานนาวา

หมออธิปกล่าวถึงวันนั้นว่า “ที่จริงผมไม่อยากจดทะเบียนกับเธอหรอก เพราะอะไรเหรอ มันก็พูดยาก หลายเรื่องบอกไม่ถูก คือเขาชอบตามผมทุกวันทุกคืน งานการเขาก็ไม่ทำ มานั่งเฝ้า ผมนี้รำคาญสุดๆ ผมไม่อยากจดหรอก แต่จดก็จด มันอยากให้จดก็จดไป จะได้ตัดปัญหาซะที”

และจดทะเบียนกับนางสมบูรณ์

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม 17 มีนาคม 2502 หมออธิปจดทะเบียนสมรสกับ นางสมบูรณ์ สืบสนาม ที่อำเภอพระเนตร

สมรสซ้อน!??

“….พอผมจดทะเบียนกับนวลฉวี สมบูรณ์เขารู้ ขอจดทะเบียนกับเขาอีก ผมก็ตัดปัญหานี้ไป อยากให้เรื่องมันเงียบหาย จะได้ไม่ไปบอกใครให้เป็นขี้หูคนอื่น”

แต่กระนั้นนวลฉวีและสมบูรณ์ก็มีเรื่องระหองระแหงกัน นับตั้งแต่จดทะเบียนกับหมออธิป ถึง 7 ครั้ง เคยทะเลาะกันในโรงพยาบาลที่หมออธิปทำงานอยู่ จนหมออธิปเคยขอผู้หลักผู้ใหญ่ ของผู้หญิงให้ออกคำสั่ง ห้ามไม่ให้ผู้หญิงสองคนนี้เข้าในโรงพยาบาลอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ นวลฉวีเคยไปฟ้องอาจารย์ที่วิทยาลัยเทคนิคทุ่งมหาเมฆหลายครั้ง

หมอไม่ใส่ใจนวลฉวี

แม้ว่านวลฉวีจะจดทะเบียนสมรส แต่เธอยังไม่ได้แต่งงานกับหมออธิปสักที แถมหมอก็ไม่เอาใจใส่ตนเหมือนครั้งก่อนๆ เธอต้องการแต่งงานกับเขา “ฉันต้องใช้วิธีต่างๆ ให้เขาอยู่ในใจฉันให้ได้”

และนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่นวลฉวีก้าวผิดจังๆ 

พฤษภาคม 2502 นวลฉวีบอกครอบครัวว่า เธอกับหมออธิปจะแต่งงานกัน ครอบครัวเลยเชิญให้หมออธิปมากินข้าวเย็นด้วยกัน เพื่อคุยเรื่องแต่งงาน แต่หมออธิปไม่รู้เรื่อง “ผมไม่ได้บอกเธอครับ เธอคิดไปเอง”

4 มิถุนายน 2502 พ่อของนวลฉวี มาพบนวลฉวีที่กรุงเทพฯ นวลฉวีบอกพ่อว่าเธอได้เสียกับหมอแล้วตอนทำงานที่โรงพยาบาลรถไฟ หมออธิปรู้ข่าวเลยบอกว่าจะเลี้ยงดูนวลฉวีให้ แต่เรื่องก็เงียบหายไป

5 มิถุนายน 2502 นวลฉวีพบหมออธิปอยู่กับผู้หญิงในโรงพยาบาลรถไฟ เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้น

11 หรือ 12 มิถุนายน 2502 นวลฉวีบอกกับพี่เขยว่าจะไปอยู่กับหมออธิปนี้ไงเตรียมขนของแล้วนะ ส่วนหมออธิปรู้เรื่องนี้หรือเปล่า ไม่รู้สิ เขาคงไม่รู้มั้ง?

13 มิถุนายน 2502 นวลฉวีถูกไล่จากครอบครัวหมออธิป (ตอนนั้นหมออธิปไม่อยู่บ้าน) มันน่าไล่จริง ๆ นี่มารอตั้งแต่เช้าจนถึงตี 1 ไม่ยอมกลับ พอหมออธิปกลับมาบ้านก็โดนครอบครัวด่า “เมียแกคนบ้าหรือเปล่าเนี้ย”

สมุดบันทึก หลักฐานชิ้นสำคัญ

เหตุการณ์ครั้งนี้นวลฉวีได้ระบายเรื่องทั้งหมดลงใน “สมุดบันทึก” ซึ่งภายหลักสมุดนี้กลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ(ได้ไง?) ที่ใช้สืบหาฆาตกรที่ก่อคดีฆ่าเธอยกแก๊ง ปัจจุบันหลักฐานนี้อยู่ในการดูแลของห้องพิพิธภัณฑ์นิติเวชวิทยา โรงพยาบาลศิริราช เคียงข้างกับร่างสงบนิ่งของฆาตกรใจโหดนาม “ซีอุย”

13 กรกฎาคม 2502 เวลา 11.30 น. นวลฉวีเข้ามาโรงพยาบาลดุ่มๆ หาคุณหมออธิป เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในสมุดบันทึกดังนี้…

“ดิฉันพบนายแพทย์อธิปสามีฉันที่โรงพยาบาลรถไฟ จากนั้นก็คุยเรื่องปัญหาชีวิตของเราทั้งสอง….”

หมออธิปเริ่มระงับอารมณ์ไม่อยู่ นี่ผมทำต้องทำงานนะ มากวนอยู่ได้ .. ว่าแล้วหมอก็กำหมัด ต่อยไปที่ใบหน้านวลฉวีจังๆ นวลฉวีกรีดร้อง “ช่วยด้วย หมอรังแกผู้หญิง” , “หมอจะฆ่าเมีย ช่วยด้วยหมอจะฆ่าเมีย” จนหมออธิปเข้ามาปลอบและพาไปยังห้องคนไข้ พร้อมสายตาคนเกือบทั้งโรงพยายามที่มองไปยังคนทั้งสอง

13 กรกฎาคม 2502 นวลฉวี แจ้งความตำรวจว่าถูกหมออธิป ทำร้ายร่างกายตน

14 กรกฎาคม 2502 หมออธิปตกลงเงื่อนไขนวลฉวีให้ปรองดองกัน เพราะเป็นสามีภรรยากันแล้ว เรื่องเลยจบลงที่การบันทึกประจำวัน

15 กรกฎาคม 2502 บาดแผลที่หมออธิปชกหน้านวลฉวีลุกลาม และเจ็บปวดมาก แต่นวลฉวีขอตำรวจไม่เอาผิดหมออธิปเพิ่ม เพราะกลัวเขาเสียอนาคต เธอบันทึกเรื่องราวนี้ในสมุดบันทึกอย่างละเอียด…เรื่องนี้ส่งผลให้นวลฉวีต้องเข้านอนโรงพยาบาล โดยนวลฉวีขอให้หมออธิปเป็นผู้รักษาเธอ แต่ถึงกระนั้นหมออธิปก็ไม่มาหาเธอมากนัก

เรื่องนี้หมออธิปเดือดดานสุดๆ ถึงกับระบายเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า “อยากจะบ้าตาย ถูกมาบังคับให้นอนเฝ้าด้วย โอ๊ย! ผมต้องทำงานนะ บางคืนก็เฝ้าทั้งที่ทำงานอยู่ ไปเฝ้านานก็ไม่ได้ เดี๋ยวสมบูรณ์เข้าไปอาละวาดอีกเรื่องมันจะวุ่น”

17 กรกฎาคม 2502 พ่อของนวลฉวีมาเพื่อเอาเรื่องกับหมออธิป ช่วงนี้หมออธิปดูแปลกๆ ไป ไม่สนใจเรื่องนี้มานัก เขาพูดสั้นๆ ว่า “แล้วแต่ศาล”

นวลฉวีบันทึกเหตุการณ์นี้ลงสมุดบันทึก ด้วยคำสาปแช่งถึงหมออธิป .. “เชิญแกไปหาเมียใหม่ตามสบายเถอะ ฉันรู้นะว่าปีศาจในตัวแกจะแสดงบทบาทอย่างไรในอนาคตอันใกล้นี้…….”

22 กรกฎาคม 2502 นวลฉวีทำหนังสือร้องเรียนให้สารวัตฝ่ายสืบสวน เล่าว่าหมออธิปไม่ทำตามทัณฑ์บนที่ทำไว้ให้ นอกจากนั้นยังทำทารุณกับเธออีก โดยดึงสะโพกไปกระแทกกับก๊อกน้ำและเลือดไหล ความเจ็บปวดยากจะบรรยาย จึงอยากขอให้พิจารณาดำเนินคดีใหม่อีกครั้ง

28 สิงหาคม 2502 หมออธิปไปที่โรงพัก เพื่อการทำการสอบสวน เขาสารภาพทุกอย่างตามที่กล่าวหา

31 สิงหาคม 2502 หมออธิปได้รับโทรศัพท์จากนวลฉวีให้ไปหานายธวัชเพื่อนของเธอ และเป็นที่ปรึกษาคดีทำร้ายร่างกายชองเอด้วยในครั้งนี้ หมออธิปไปตามที่นวลฉวีที่ทำการรถไฟสทานกษัตริย์ศึกเวลา 10.00 น. นายธวัชแนะนำให้หมอกับนวลฉวีคืนดีกัน  หมออธิปรับปาก จึงได้เขียนจดหมายใส่ซองปิดผลึกให้ พ.ต.อ. เจ้าของคดีนี้ ใจความว่า

“เราจะคืนดีกันแล้ว…..”

และก็ถึงวันนั้น..

1 กันยายน 2502 หมออธิปและนวลฉวีเข้าพบสารวัตรใหญ่พญาไท ขอให้ระงับคดีทำร้ายร่างกาย ก่อนที่จะนั่งรับประทานอาหารที่โรงหนังคิงส์ ก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับ

9 กันยายน 2502 นายธวัชไม่สบาย จึงขอลางานเพื่อไปเยี่ยมนวลฉวี นวลฉวีชวนนายธวัชไปวัดสามง่ามเพื่อเอายาไปถวายพระ และให้พระดูดวงให้ พระบอกนวลฉวีไว้ว่า “ต่อไปนี้ซะตาจะดีแล้ว!???”

เวลา 20.30 น. หมออธิปเข้าพบนวลฉวีและนายธวัช พูดจาเรื่องเรือนหอของเราสองคน

เวลา 23.00 น. นายธวัชกลับไปก่อน ต่อมา นางพยาบาลเรียกให้หมออธิปให้ดูคนไข้ ที่กำลังจะคลอด หมออธิปช่วยคนไข้อยู่นานจนถึงเที่ยงคนจึงนำนวลฉวีส่งโรงพยาบาลยาสูบเพราะนวลฉวีรบเร้า

จนกระทั่ง………… นวลฉวีโทรศัพท์ถึงนายธวัชบอกว่า เมื่อคืน ตอนที่หมออธิปส่งที่โรงพยาบาลยาสูบ เราทะเลาะกัน รายละเอียดจะคุยให้ฟังตอนเย็น ถ้าเลิกงานแล้วให้ไปพบที่โรงพยาบาลยาสูบ

เย็นวันนั้น นายธวัชมัวไปทำธุระที่อื่น ก่อนจะไปโรงพยาบาลยาสูบเป็นที่ต่อไป จวนเวลา 1 ทุ่ม แต่ไม่พบนวลฉวี ยามยาสูบเห็นเธอแต่งตัวออกไปข้างนอกนานแล้ว….. นวลฉวี จากไป และไม่กลับมาอีกเลย

พบศพนวลฉวี

เช้าวันที่ 12 กันยายน 2502 เวลา 8.45 น.

นายจำลอง จิรัตฐิตกุล ช่างกลปากเกร็ด นั่งเรือแท็กซี่จากบ้านที่คล้องอ้อมไปทำงาน ระหว่างที่นั่งเรือแท็กซี่นั้นเขาได้พบกับ ศพ!

ศพลอยแม่น้ำมา..

ศพนี้ลอยแม่น้ำมาอย่างเวทนาในแม่น้ำเจ้าพระยาห่างจากตัวนนทบุรีประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ระหว่างโรงงานกระดาษเก่ากับวัดเฉลิมพระเกียรติ นายท้ายเรือเข้าไปดูศพที่สวมเสื้อสีฟ้าอ่อน นุ่มกระโปรงดำเป็นลายปักศพอยู่ในลักษณะหงายมือพาดหน้าอก คาดเข็มขัดโตสีฟ้า ที่ข้อมือและแหวนทอง ลงยาจารึกนามสกุล “รามเดชะ” (สกุลเดิมของหมออธิป)

เมื่อเรือแล่นมาถึงจังหวัดนนทบุรี นายจำลองแจ้งความติดต่อตำรวจนนทบุรีทันที

ศพถูกส่งไปวัดนครอินทร์กิ่ง ต่อด้วยโรงพยาบาลตำรวจนนทบุรี เพื่อการชันสูตรศพ เป็นการด่วน

ผลการชันสูตร

ผลจากการชันสูตร สาเหตุการตายเนื่องจากบาดแผลถูกแทงจนเลือดตกในมากและสิ้นใจก่อนถูกโยนลงน้ำ บาดแผลที่ถูกแทงมีทั้งหมดสีข้างข้างขวาและที่หลังด้านซ้ายรวม 3 แผล แต่เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายของศพไม่พบรอยฉีดขาด

“ท่ามกลางความมืดของคืนวันหนึ่งในเดือนกันยายน 2502 ชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่งได้ลงมือสังหาร นวลฉวี นางพยาบาลสาวถึงแก่ชีวิตตามที่ได้รับว่าจ้าง …”

วันที่ 13 กันยายน 2502 เวลา 22.00 น. ศพที่พบลำน้ำเจ้าพระยาถูกประกาศอย่างเป็นทางการ ว่าเป็นผู้ตายชื่อ นวลฉวี (สืบจากชื่อที่สลักของแหวน) หมออธิปทราบข่าวการตายของนวลฉวี และเผชิญหน้ากับกองทัพนักข่าว หมอตอบสั้นๆ ว่า “เธอเป็นภรรยาผมก็จริง แต่เราไม่อยู่ด้วยกันครับ แยกกันอยู่ พรุ่งนี้ค่อยไปรับศพครับ เพราะมันดึกแล้ว”

คดีนี้เดาผู้ต้องสงสัยไม่ยาก เพราะนวลฉวีไม่มีศัตรูภายนอกที่ไหน ยกเว้นภายใน และมากที่สุด เห็นจะไม่เกินสามีที่อยากกำจัดภรรยาจอมยุ่งให้ไปพ้นๆ ทาง

สอบสวนหมออธิป

14 กันยายน 2502 ตำรวจเชิญตัวหมออธิปไปสอบสวน และพบรอยข่วนที่ข้อมือหมอ ตำรวจไม่รอช้าถ่ายบาดแผนนี้เก็บเป็นหลักฐานพร้อมกับแจ้งข้อหมา “หมอฆ่าเมีย” ทันที

ในกลางดึกของกลางเดือนกันยายน ภายหลังจากหมออธิปถูกจับ ขบวนรถตำรวจรับหมอและคุ้มกันอย่างแน่นหนา โดยหมออธิปนั่งมาเพื่อไปสถานที่แห่งหนึ่ง

“จอมพลสฤษดิ์อยากพบหมอครับ มีอะไรก็รับๆ เสียนะครับ ถ้าไม่รับหมอโดนยิงเป้าแน่ คิดดูให้ดีนะครับหมอ”

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

หมออธิปหน้าซีด เพราะจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะนั้นเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ และเป็นนายกรัฐมนตรี พ่วงด้วยอธิบดีกรมตำรวจ มีนิสัยชอบสั่งยิงเป็นคนเป็นว่าเล่นเหมือนผักเหมือนปลา ตอนตำรงตำแหน่งนายกก็สั่งยิงเป้า ถึง 6 คน

ภายในห้องทำงานบุรุษร่างใหญ่ผิวคล้ำ ท่าทางเด็ดขาดน่าเกรงขามนั่งรอท่าอยู่ก่อนแล้ว หมออธิปเย็นวาบถึงไขสันหลัง สักครู่ท่านหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่ร่ำทำเพลงพูดด้วยเสียงเด็ดขาด

“หมอฆ่าเมียตัวเองอย่างที่เป็นข่าวจริงไหม ถ้าจริงจงรับมาเสียอย่าปากแข็ง พูดตรงๆ แบบลูกผู้ชายดีกว่า จะได้ไม่เสียเวลา”

“ผมไม่ได้ทำครับ ผมขอปฏิเสธ” หมออธิปรวบรวมกำลังใจพูด

“มันเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานจริงๆ มันเหมือนกับตัวเองไปหาพยายมเพื่อตัดสินความผิดอย่างงั้นแหละ” หมออธิปย้อนความหลัง

การสืบสวนสอบสวนในคดี

ทางด้านตำรวจยศสูงต่างๆ ในสถานีตำรวจนนทบุรีได้ร่วมทำการสืบสวนสอบสวนในคดีนี้ และทราบว่าหมออธิปมีเพื่อนสนิท คือ นายชูยศและนางสุขสม พ่อของเขาเคยเป็นคนไข้ของหมออธิปมาก่อน และรักษาพ่อจนหาย ทำให้ชูยศซึ้งในน้ำใจของหมออธิป ถึงขนาดยอมตายแทนหมอเลยแหละ

17 กันยายน 2502 หนังสือพิมพ์แต่ละสำนักต่างลงข่าวว่า นายชูยศ มีส่วนเกี่ยวข้องคดีฆ่านวลฉวี

ผลจากการชันสูตรนวลฉวี มีการเพิ่มเติมคือ ตอนที่เธอถูกแทงนั้น เธอไม่ได้สวมผ้านอกและจากการตรวจสอบบนสะพาน พบรอยหยดเลือดเล็กบ้างใหญ่บ้าง แสดงถึงการเอาศพมาถึงที่จุดนั้น

หลักฐานการสืบสวนคดีฆ่านวลฉวีเพิ่มขึ้นอย่างไม่ขาดสาย ตำรวจพบกระดุมสีน้ำตาลแก่ตก 1 เม็ดบนพื้นถนนริมทางหลวง รอยเลือดจากราวสะพานเหล็กที่เป็นคราบสีน้ำตาล ฯลฯ

20 กันยายน 2502 ตำรวจบุกไปบานของนายชูยศในสวนบางบำหรุ ธนบุรี แต่ไม่มีคนอยู่ ประตูใส่กุญแจไว้ จากการตรวจสอบบ้านได้พบรอยเลือดที่พื้นบันได้หลังบ้าน ตำรวจจึงเก็บหลักฐานเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังพบเลือดที่พื้นห้องครัวเรือนบนเตียงและที่พื้นบันได ทั้งพบหลอดยาเอทิลคลอไรด์ พร้อมมีดปลายแหลมในห้องครัว

27 กันยายน 2502 นายชูยศพร้อมภรรยาเข้ามอบตัวกับตำรวจ มีการสอบสวนนิดๆ หน่อยๆ ก่อนปล่อยตัวกลับไป โดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา

14 ตุลาคม 2502 เจ้าหน้าที่คุมนายชูเกียรและภรรยาไปหาจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (อีกแล้ว) เพราะคดีฆ่านวลฉวีดังมากในยุคนั้น และตัวจอมพลก็สนใจ แต่กระนั้นนายชูยศไม่ได้เข้าพบจอมพล มีเพียงแต่ภรรยาชูยศเท่านั้นที่พบ

นายกรัฐมนตรีถามนางสุขมภรรยาของนายชูยศ “มีความสัมพันธ์กับหมออธิปอย่างไร”

นางสุขุมคิดว่านายกถามเรื่องเงินทองๆ เลยตอบว่า “มี”

และแล้วรุ่งเช้าหนังสือพิมพ์ก็พาดหัวข่าว “นางสุขสมยอมรับจอมพลว่าเสียตัวให้หมออธิป!!” (ข่าวกรองมากๆๆ)

28 ตุลาคม 2502 นายมงคล เรื่อเรืองรัตน์ สัปเหร่อและช่างไม้ที่มีบ้านติดๆ กับนายชูยศมาก่อนถูกตำรวจควบคุมตัวที่วัดน้อยนางหงส์ ฐานสงสัยว่าเป็นคนฆ่านวลฉวีฆ่ามือ

30 ตุลาคม 2502 คำให้การพยานมากน่าหลายตา ทั้งเพื่อนของนวลฉวี ยามยาสูบ ให้การเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจเชื่อว่าหมออธิปต้องเป็นฆ่านวลฉวีแน่นอน

และไม่นานนัก ตำรวจก็สามารถจับผู้ต้องสงสัยฆ่านวลฉวีได้ยกแก๊งประกอบด้วย นายชูยศและนางสุขสม ตัวกลางประสานแผนการ, นายมงคล เรื่อเรืองรัตน์ สัปเหล่อมือสังหาร เคยมีประวัติหนีคดีที่อื่นมาก่อน มีอาชีพเป็นสัปเหร่อและช่างไม้อาศัยอยู่บ้านแม่ยายติดๆ กับนายชูยศ , นายชูเกียรติ ผู้ช่วยฆ่า นอกจากนี้มีผู้ต้องสงสัยอีกคือ นายยง ยิ้มกมล และนายเยี่ยม แต่ตำรวจกันไว้เป็นพยาน \ ทั้งหมดให้การรับสารภาพในเวลาต่อมา….

น่าแปลกที่ผู้ต้องสงสัยทั้งหมดก่อนถูกจับไม่มีท่าทีคิดจะหนีสักนิด…..(พวกนั้นแก้ตัวว่าหลังทราบข่าว ทั้งแก๊งก็กลัวขี้หดตดหายไปแล้ว ส่วนผู้ว่าจ้างหมออธิปก็เงียบไม่มาช่วยวางแผนว่าเอาไงดีเลย)

แต่กระนั้นช่วงเวลาการสังหารโหดนวลฉวี ตำรวจไม่เห็นภาพมากนัก ฆาตกรไม่ใช้มีคนเดียว มันทำเป็นหมู่คณะ ภายใต้การนำของหมออธิป ตำรวจเชื่ออย่างนั้น แต่ก็ไม่เห็นภาพวินาทีสังหารชัดเจนมากนัก แต่จากประมวลคำของพยานและหลักฐานวัตถุการสังหารนวลฉวีมีการวางแผนเป็นขั้นๆ เป็นตอนๆ เรียบเรียงได้ดังนี้…..

การวางแผนฆ่านวลฉวี

เริ่มจาก หมออธิปคิดฆ่านวลฉวี ภรรยาของตนเอง

หมอคิดจะทำไงดี พอดีคิดได้ว่าตนมีเพื่อนสนิทแม้มันจะเลวสักหน่อยแต่ใช้ได้ หมออธิปเลยบึงรถไปที่บ้านของนายชูยศเพื่อนสนิทเพื่อต่อรองราคา…. “อั๊วจะฆ่าเมียอั๊วว่ะ เงินค่าจ้างมีเยอะ รวยซะอย่าง”

นายชูยศตกลงทันที เงินจำนวนมากสมน้ำสมเนื้อกับความเสี่ยง … ปีศาจในตัวหมอเริ่มแสดงบทบาทแล้ว!!

เดือนสิงหาคม เวลา 11.00 น. นายชูยศและนางสุขสม ไปที่สวนบ้าน นายยง ยิ้มกมล ถามว่าแถวนี้มีใครมือดีบ้างที่สามารถฆ่าผู้หญิงโดยไม่มีหลักฐานนะ นายยงบอกว่ามีสัปเหร่อคนหนึ่ง เห็นแกบอกว่าเคยฆ่าคนมาก่อน ว่าแล้วนายชูยศสนใจ จึงให้ภรรยาทำการว่าจ้าง นายยง ยิ้มกมล โดยจ้างนายยงเป็นเงิน 10,000 บาท ให้พานายคนนั้นมาหา โดยได้รับเงินค่าจ้าง 5,000 บาท ครึ่งหนึ่งไปก่อน

วันรุ่งขึ้น นายยงพาตัวนายมงคลมาหานายชูยศ นายชูยศบอกว่าให้ไปฆ่าผู้หญิงคนหนึ่ง และจะได้เงินว่าจ้างหมื่นกว่าบาท โดยให้เงินล่วงห้าห้าพันบาทก่อน … นายมงคล ตอบตกลงไม่มีลังเล

วันรุ่งขึ้น ทั้งหมดพบหมออธิปผู้ว่าจ้างตัวจริง นายชูยศแนะนำหมอให้ผู้รับจ้างทราบกันโดยทั่วกัน จากนั้นหมออธิปก็ให้เงินนายยง ล่วงหน้า 5000 บาท เป็นเงินมัดจำฆ่าคน จากนั้นหมออธิปก็วางแผนตกลงกันว่าจะพานวลฉวีภรรยาของหมอมาฆ่าโรงครัวบ้านหลังนี้ ส่วนเครื่องไม้เครื่องมือหมออธิปจะเตรียมไว้อีก ขอให้มาตามเวลากำหนด เข้าใจ๋!!

จากนั้นก็ถึงเวลาลงมือสังหาร วันที่ 10 กันยายน 2502

ตอนเช้าหมออธิปโทรศัพท์นัดนางนวลฉวีและรับนางนวลฉวีจากโรงพยาบาลยาสูบ โดยพาไปที่บ้านสร้างใหม่นายชูยศที่สวนบางบำหรุ

เวลาบ่ายโมงเศษ นายยง ไปที่บ้านนายชูยศ สมทบกับนายชูเกียรติ เพื่อดูสถานที่ทำการฆ่า เตรียมมีดปลายแหลม ผ้าพลาสติก และสายไฟคู่สีเหลือง 1 ขด และไม้ไผ่เพื่อหามศพ เตรียมเสร็จแล้วนายยงก็กลับบ้านนอนเอาแรง

5 โมงเย็น นายยง นายชูเกียรติ และ นายชูยศ พากันมาซุ่มที่ห้องน้ำรอดูหมออธิปพาผู้หญิงมาฆ่า

เวลา 18.00 น. เศษ หมออธิปนำนวลฉวีมาทางหน้าบ้านของนายชูยศ แล้วพาเข้าห้องครัว ปิดประตูลงกลอน หมออธิปรอจังหวะที่นวลฉวีเผลอโป๊ะยาสลบจนเธอนอนหลับ .. หมออธิปหัวเราะฮิ ฮิ ชะโงกหน้าต่างเรียกลูกสมุน ก่อนออกจากห้อง ปล่อยลูกสมุนมาจัดการ

จากนั้นก็ถึงเวลาสังหาร!!

นายยงข่มขืนนวลฉวี 1 ครั้ง นวลฉวีไม่รู้สึกตัวเพราะโดนยาสลบ , นายมงคลจับแขนซ้ายหญิงนั้นลงคว่ำตะแคงทางขวา จากนั้นนายมงคลได้หยิบมีดปลายแหลมทำการแทงนวลฉวีไป 3 ครั้ง นายมงคลแทงจนรู้ว่าเธอไม่น่ารอดแล้ว จึงบอกนายเยี่ยมน้องชายมาช่วย (ถูกกันไว้เป็นพยาน)

“เมื่อข้าข่มขืนเธอเสร็จแล้ว ข้าย้ายผู้หญิงลงครึ่งคว่ำตะแคงทางขวาของผู้หญิงคนนั้น จากนั้นข้าก็เอามีดสีขาวปลายแหลมที่พื้นกระดานปลายเตียงแล้วแทงผู้หญิงคนนั้นทางหลังไป 3 ที ไม่รู้ที่จุดตรงไหน ผู้หญิงคนนั้นร้อง ฮึๆ อือๆ สองสามครั้ง จากนั้นข้าก็ตามนายเยี่ยมมาช่วยหามศพ” .. นายมงคลบอกต่อศาล

จากนั้น ทั้งสองคนช่วยกันเอาเสื้อชั้นนอกที่หัวเตียงสวมให้ศพ แล้วยกศพวางบนผ้าพลาสติกซึ่งปูไว้แล้ว นายมงคลเอาสายไฟมัดที่ข้อเท้าศพ มัดบั้นเอว และมัดที่หัวไหล่ จากนั้นก็ใช้ไม้ไผ่สอดใต้สายไฟ ที่มัดไว้แล้วหามศพออกจากบันไดหลังบ้าน โดยมีเลือดหยดตามพื้นเป็นรายทาง นายยงและนายเยี่ยมหามศพ ส่วนนายมงคลทำความสะอาดจุดสังหาร…..

ย้ายศพ

ศพของนวลฉวีถูกขนย้ายผ่านสวนพจน์ที่อยู่ใกล้ๆ ที่เกิดเหตุ นายมงคลตามมา ทั้งสามข้ามคูถนนจรัลสนิทวงศ์ ลุยคูน้ำที่มีน้ำลึก 50 ซม. ไปหานายมงคลตรงหลักกิโลเมตรที่เดิม จากนั้นก็วางศพไว้ข้างถนน หมออธิปเปิดประตูรถ จ้างเงินค่าจ้างที่ค้างไว้ ให้ทั่วหน้าทุกคน จากนั้นก็ช่วยกันเอาศพขึ้นรถ บรรทุกโฟล์คสวาเก้น กข.ข.0253 มุ่งหน้าไปทางสะพานพระราม 6

สำหรับไม้ไผ่หามศพ นายเยี่ยมเป็นคนนำไปทิ้ง แต่ทิ้งที่ไหนไม่มีใครทราบ

แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่แก๊งทิ้งศพนวลฉวี มีรถคนหนึ่งผ่านมาเกิดสงสัยว่าทำไมรถถึงจอด รถเสียเหรอ เลยหยุดจอดถาม แค่ได้เสียงกระชากๆ ว่า “เปล่า” แทน

2 ทุ่ม ศพของนวลฉวีถูกทิ้งจากสะพานนนทบุรีลงแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านแถวๆ นั้นได้ยินเสียงตูม! กันไปทั่ว

แต่อุตสาห์วางแผนอย่างดิบดี ดันมาพลาดเพราะแหวนวงเดียว (อ่านด้านบน)

จ้างทนายความที่มีชื่อเสียงช่วย

ขุนสุญาณเศรษฐกร บิดาหมออธิป เห็นท่าคดีนี้หมออธิปจะแพ้ จึงจ้างนายชมพู อรรถจินดา ทนายความที่มีชื่อเสียงด้วยจำนวนสูงลิบลิ่ว หมออธิปเริ่มมั่นใจว่ามีทนายฝีมือดีตนต้องชนะคดีแน่นอน

การพิจารณาศาลเป็นไปด้วยความดุเดือดเลือดพล่านเพราะมันเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ไทยต้องจารึก ใครแพ้มีหวังล่มจม…. ส่วนประชาทั้งประเทศต่างจับจ่อคดีนี้แบบไม่กระพริบตา อยากรู้ว่าผลความยุติธรรมจะทำให้นักโทษทั้งหมดโดนประหารหรือไม่

“ถ้าผมจะฆ่าภรรยาผม ทำไมผมต้องจ้างคนอื่นให้เสียเวลาทำมาหากินด้วยละ สู้เอามือบีบคอภรรยาให้ตายคามือดีกว่ามั้ง” หมออธิปแก้ตัวต่อศาล

วันที่ 12 ธันวาคม 2503

ณ ศาลอาญา บังลังก์ที่สอง คือ วันพิพากษาหมออธิปและพรรคพวก…

ผู้พิพากษาทั้งสี่ประกอบด้วย นายเฉลิม กรพุกกะณะ นายพินิจ เพชรชาติ นายสว่าง เวทย์ และนายวุฒิกรรม วงษ์ศิริ ออกมานั่งบัลลังก์ตัดสินคดีประวัติศาสตร์อาชญากรรม ท่ามกลางประชาชนนับหมื่น ที่แห่มาฟังคำพิพากษาอย่างมืดฟ้ามัวดิน จนถึงขนาดต่อลำโพงโดยรอบสนามหญ้าบริเวณศาลทหารอาญา เก้าอี้หลายตัวในศาลหักเพราะทานแรงคลื่นมนุษย์ไม่ไหว

จนกระทั้ง นาทีระทึกขวัญมาถึง ทุกคนพากันสงบนิ่ง รอฟังผู้พิพากษาอ่านคำตัดสินช่วงสุดท้าย

“นายอธิปจำเลยที่ 1 มีความผิดตามที่กล่าวหา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 อนุมาตรา 4) 83 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และฐานก่อให้คนอื่นกระทำความผิดให้ต้องโทษประหารชีวิตนายอธิปจำเลยที่ 1

ส่วนนายมงคล จำเลยที่ 5 มีความผิดฆ่าคนโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 และ 83 ให้ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และริบมีดสั้นปลายแหลมที่ใช้กระทำผิดเสีย(ใครจะไปเอา)

ส่วนนายชูยศ และนางสุขสม จำเลยที่ 2 และ 3 และนายชุเกียรติ จำเลยที่ 4 ศาลไม่มีหลักฐานเอาผิดเลยให้ปล่อยตัวพ้นผิดไป”

สิ้นคำพิพากษา หมออธิปตกตะลึง เพราะตัวเองมั่นใจเต็มที่ เพราะมีทนายมือหนึ่งของไทยว่าความ “ทำไมคนอื่นรอด!”

แต่กระนั้น ภายหลังต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสร็จกลับจากประเทศนิวัตพระนคร ถือว่าเป็นวันมงคล หมออธิปได้รับอนิสงค์ได้รับการอภัยโทษ ประกอบกับพ่อแม่วิ่งเต้นทำให้หมออธิปถูกจำคุกเพียง 1 ปีเศษเท่านั้น .. เหลือเชื่อ……..???

ชีวิตหลังจากหมออธิปพ้นโทษ

แต่อย่างไรก็ตาม หลังหมออธิปพ้นโทษ ชีวิตที่เหลือก็เข้าๆ ออกโรงพยาบาลบ่อยๆ เพราะโรคติดตัวตอนอยู่ในคุก และจนถึงวาระสุดท้าย….หมออธิปนอนอยู่บนเตียงในโรงพยาบาล ท่ามกลางญาติสนิท หมออธิปเอยปากก่อนตายเรื่องนวลฉวี

“นวลฉวี พี่ขอโทษ พี่เป็นคนฆ่าเธอเองแหละ…………….” พูดจบหมออธิปก็สิ้นลมตายคาเตียงไปเลย

หลังจากนั้นมา ทุกคนต่างเรียกสะพานสะพานนนทบุรีสถานที่ทิ้งศพนวลฉวีนี้ว่า ” สะพานนวลฉวี “

และหลังจากนั้น(อีก) บ้านที่นวลฉวีถูกฆ่าในสวนบางบำหรุ ก็ถูกเล่าลือว่าเห็นผีผู้หญิงอยู่บ้านหลังนั้น ทุกคนต่างเรียกหลังนั้นว่า

“บ้านผีสิง”

บันทึกรักนวลฉวีหนี้ลิขิต เมื่อมีจิตริษยาน่าสงสาร
นวลฉวีคือรักหมอพยาบาล เปิดตำนานฆาตกรรมซ้ำรอยมา
อุทาหรณ์ความรักนวลฉวี คือการพลีร่างให้ชายได้หวนหา
แต่ความรักของชายมักโรยรา ยามเมื่อคราสุขสมอารมณ์ปอง

ผู้ใหญ่สอนวอนว่าน่าคิดนัก อันความรักนั้นเป็นหนึ่งไม่มีสอง
แต่สมควรดำเนินความตามครรลอง ท่วงทำนองประเพณีที่ดีงาม
ที่สำคัญยามรักร้างและลาจาก ต้องยอมรักความพลัดพรากอีกขวากหนาม

*** หากมีข้อมูลใดผิดพลาด ขออภัย ณ ที่นี้

ที่มาจาก Fwd Mail

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง