ในประเทศไทยนั้น เมื่อมีการผลัดแผ่นดินเกิดขึ้น หากพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศได้ทรงแต่งตั้งองค์รัชทายาทไว้เรียบร้อยแล้ว องค์รัชทายาทพระองค์นั้น ก็จะเสด็จขึ้นเป็นพ่ออยู่หัวพระองค์ใหม่ทันที ตามธรรมเนียมที่ว่า “แผ่นดินจะว่างเว้นพ่ออยู่หัวไม่ได้” เพราะราชการงานศึกที่เกี่ยวพันธ์มาจากรัชกาลก่อนนั้น ยังจะต้องดำเนินต่อไป และอีกเหตุผลก็คือ “เพื่อเป็นเสาหลักให้แก่พระราชวงศ์ และพสกนิกรในประเทศ”
ยศใหม่ของพระราชวงศ์ เมื่อเปลี่ยนรัชกาล
ดังนั้น เมื่อพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ขึ้นครองราชสมบัติ การนับเชื้อพระวงศ์ทางสายพระโลหิตก็จะย้ายจากสายของพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศมาที่สายของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ทันที นั่นก็คือ “การสถาปนาพระราชอิสริยยศใหม่ภายในพระราชวงศ์” โดยมีหลัก เกณฑ์ดังนี้
**ในประเทศไทย พระยศเจ้านาย คือ พระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
บทความ : ความรู้เกี่ยวกับ ฐานันดรศักดิ์ พระยศเจ้านายไทย พระบรมวงศานุวงศ์ ราชนิกุลต่างๆ
Link : pacificinspiration คลิปจาก seeme.me/ch/pacificinspiration
การสถาปนาพระราชอิสริยยศใหม่ ภายในพระราชวงศ์
พระราชบุพการีในพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่
1. พระราชบุพการีในพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ คือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พอเข้ามาในรัชกาลใหม่นั้นพระองค์มีฐานะเป็นพระชนนี หรือแม่ของพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นพระองค์จะได้รับการถวายพระราชอิสริยยศขึ้นเป็น “สมเด็จพระศรี(รอชื่ออย่างเป็นทางการ)บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง” ออกพระนามโดยย่อว่า “สมเด็จพระพันปี”*
*อนึ่งผู้ที่จะขึ้นไปถึงยศพระพันปีหลวงนี้จะต้องมีหลักเกณฑ์ที่ว่า เป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อน แลเป็นแม่ในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ดั่งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ที่เคยมีมาคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ผู้เป็นอัครมเหสีในรัชกาลที่ 5 เมื่อผลัดแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ถวายพระราชอิสริยยศใหม่ให้แม่ขึ้นเป็น “สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง”
พระราชโอรส และพระราชธิดา
2. พระราชโอรส และพระราชธิดา คือ เนื่องจากพระราชโอรส และพระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่นี้ ล้วนแต่ประสูตินอกเศวตฉัตรทั้งสิ้น (ประสูตินอกเศวตฉัตรหมายถึง ประสูติก่อนขึ้นครองราชย์) ดังนั้นในรัชกาลก่อน พระราชโอรส และพระราชธิดาเหล่านี้จะมียศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า กันทั้งสิ้น เมื่อเปลี่ยนรัชกาลก็จะได้รับการอวยยศขึ้นเป็น พระเจ้าลูกเธอ โดยทันที ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
2.1 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชาย-หญิง (เจ้าฟ้าชั้นเอก หรือ ทูลกระหม่อมชาย –หญิง) พระราชโอรส และพระราชธิดาชั้นนี้จะต้องประสูติจากพระอัครมเหสีเท่านั้น นั่นก็คือประสูติจาก พระบรมราชินีนาถ ,พระบรมราชินี, พระบรมราชเทวี, พระอรรคราชเทวี เป็นต้น
2.2 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าชาย-หญิง… (เจ้าฟ้าชั้นโท หรือ สมเด็จชาย -หญิง) พระราชโอรส และพระราชธิดาชั้นนี้จะต้องประสูติจากพระภรรยาเจ้า นั่นก็หมายความว่า “มีแม่เป็นเจ้าหญิงในพระราชวงศ์ ตั้งแต่ชั้น พระวรวงศ์ เธอพระองค์เจ้า หรือพระเจ้าวรวง์ เธอพระองค์เจ้าขึ้นไปแต่ไม่ถึงราชินี” เช่น พระวรราชเทวี ,พระวรราชชายา ,พระวรชายา เป็นต้น
2.3 พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าชาย-หญิง (พระองค์เจ้าชั้นเอก หรือ เสด็จพระองค์ชาย-หญิง) พระราชโอรส และพระราชธิดาในชั้นนี้จะประสูติจากเหล่าพระสนม เจ้าจอมมารดา หญิงสามัญชน หรือเป็นหม่อมมาแต่เดิม
พระเชษฐภคินี และพระขนิษฐา
3.พระเชษฐภคินี และพระขนิษฐา เจ้านายชั้นนี้จะได้รับการปรับเปลี่ยนเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตราชกัญญาฯ (หากมีการพระราชทานคืนฐานันดรศักดิ์) และ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ซึ่งตามธรรมเนียมแล้ว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และน้องนางเธอ จะได้รับพระราชทานกรมในภายหลัง “เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน”
เช่น น้องนางเธอในรัชกาลที่ 5 คือ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑลฯ กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ หรือพี่นางเธอในรัชกาลที่ 6 คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าหญิงพาหุรัดมณีมัยฯ กรมพระเทพนารีรัตน์ หรือพี่นางเธอในรัชกาลที่ 9 ก็ได้รับพระราชทานที่กรมหลวงเช่นเดียวกัน
หลานเธอที่มิใช่สายตรง
4.หลานเธอที่มิใช่สายตรง … ในรัชกาลใหม่นี้มีหลานเธอที่มิใช่สายตรงติดมา แต่ครั้งแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ถึง 2 พระองค์ นั่นก็คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาฯ และ พระเจ้าหลานเธออาทิตยาทรฯ ซึ่งคำว่า “พระเจ้าหลานเธอ” เป็นคำขยายของคำว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ เพื่อให้รู้ว่าพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์นี้ เป็นหลานเธอในพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ แล้ว
เมื่อเปลี่ยนมารัชกาลใหม่ หลานเธอเหล่านี้ก็จะกลายเป็น “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ , และ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ” ตามฐานันดรศักดิ์แรกประสูติของทั้งสองพระองค์ ดังกรณีที่เคยเกิดขึ้นคือ พระหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา หลานเธอในรัชกาลที่ 5 เมื่อเปลี่ยนเป็นรัชกาลที่ 6 ก็กลายเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (คำว่าพระหลานเธอ ไปขยายคำว่า พระวรวงศ์เธอนั่นเอง)
**ยศพิเศษ1**
ตามธรรมเนียมแล้ว จะไม่มีการลดพระราชอิสริยยศของเจ้านายในพระราชวงศ์ ถึงแม้จะเปลี่ยนรัชกาลแล้วก็ตาม คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระราชอิสริยยศนี้สูงส่งที่สุดของเจ้านายฝ่ายในแล้ว นั่นก็คือ ได้รับสัปตปฎลเศวตฉัตร หรือ ฉัตร 7 ชั้น เสมอเท่า สมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระบรมราชินีเลยทีเดียว แต่มีความพิเศษสูงไปอีกอย่างคือ ใช้คำ “พระราชบัญชา” ในการออกคำสั่ง
**ยศพิเศษ2**
คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในอดีตเจ้านายพระองค์นี้ ผ่านการเป็นพระวรชายามาก่อน แล้วถึงเป็นพระวรราชาทินัดดามาตุในภายหลัง (พระวรราชาทินัดดามาตุ หมายถึง เป็นแม่ของหลานกษัตริย์ผู้ประเสริฐ)
ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนมาเป็นสมัยพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ ทำให้พระองค์ย่อมไม่ได้อยู่ในฐานะแม่ ของหลานกษัตริย์พระองค์เก่า แต่เป็นพระชนนี หรือแม่ของพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ในรัชกาลปัจจุบัน ดังนั้นยศนี้จึงเป็นเรื่องยากที่อธิบายออกมาได้ โดยทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับ พระบรมราชวินิจฉัย เป็นการส่วนพระองค์
ประวัติการสถาปนาพระยศพระราชธิดา
ประวัติการสถาปนาพระยศพระราชธิดาที่สูงส่งในแต่รัชกาลมีดังนี้
รัชกาลที่ 1 พระราชธิดาที่ได้รับการสถาปนาสูงสุด คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าแจ่ม ได้ทรงกรมเป็น กรมหลวงศรีสุนทรเทพ และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าประไพวดี ได้ทรงกรมเป็น กรมหลวงเทพยวดี
รัชกาลที่ 2 พระราชธิดาที่ได้รับการสถาปนาสูงสุดคือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าลำภู ได้ทรงกรมเป็น กรมขุนกัลยาสุนทร (ผู้ถือกุญแจพระราชวัง รั้งอำนาจสิทธิ์ขาดฝ่ายใน )
รัชกาลที่ 3 พระราชธิดาที่ได้รับการสถาปนาสูงสุดคือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวิลาส ได้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ (ถือกุญแจท้องพระคลังข้างใน กำกับเบี้ยหวัดเงินเดือนต่างๆของฝ่ายใน)
รัชกาลที่ 5 พระราชธิดาที่ได้รับการสถาปนาสูงสุด 2 พระองค์ คือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ ได้ทรงกรมเป็น กรมขุนสุพรรณภาควดี พระองค์เป็นพระราชธิดารุ่นใหญ่ในรัชกาลที่ 5 ประสูตินอกเสวตฉัตร รัชกาลที่ 5 พระราชทานกรมเริ่มต้นที่กรมขุนเท่ากับลูกเธอชั้นเจ้าฟ้า ซึ่งปกติแล้วพระองค์เจ้าชั้นเอกจะเริ่มต้นกรมที่ กรมหมื่นเท่านั้น
และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงสุธาทิพรัตนฯ ได้ทรงกรมเป็นชื่อกรุงเลยทีเดียว คือ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ( พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกรมเริ่มต้นที่กรมหลวง ซึ่งปกติแล้วเจ้าฟ้าจะเริ่มต้นกรมที่ กรมขุนเท่านั้น กรมหลวงสำหรับเจ้านายผู้ใหญ่ )
จากภาพคือ สมเด็จเจ้าฟ้าทิพรัตนฯ พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 9 พระราชธิดาที่ได้รับการสถาปนาสูงสุดคือสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (พระอิสริยยศเทียบเท่า พระบรมราชชนนี และพระบรมราชินี โดยที่ฉัตร 7 ชั้น สูงสุดในฝ่ายใน )
ที่มา Facebook คลังประวัติศาสตร์ไทย
บทความแนะนำ
- ความรู้เกี่ยวกับชื่อของพระมหากษัตริย์ไทย | พระปรมาภิไธย ความต่างของ ปรมินทร-ปรเมนทร
- ลำดับชั้นพระภรรยา พระเจ้าแผ่นดิน | พระอัครมเหสี พระมเหสี พระราชเทวี พระอรรคชายา
- คำราชาศัพท์ หมวดเครือญาติ | พระบรมวงศานุวงศ์ พระยศเจ้านายไทย
- สมเด็จพระบรมราชินีนาถ 2 พระองค์ในประเทศไทย
- ราชสกุลในราชวงศ์จักรีไทย ที่สืบเชื้อสายมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1