ประวัติศาสตร์ไทยแบบเข้าใจง่าย เกี่ยวกับราชวงศ์จักรี พระมหากษัตริย์ไทย

หลายคนอาจจะบ่นเสียดาย ที่ไม่ได้ตั้งใจเรียนเรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทยมากมายนัก พอถึงวันที่อยากรู้เรื่องราวต่างๆ จึงต้องค้นหาข้อมูลยกใหญ่ โชคดีที่เราค้นหาได้ในอินเตอร์เน็ต แต่ก็ยังมีคำศัพท์อ่านยากๆ ที่เราอาจจะงงกับความหมายเป็นอุปสรรคเข้าไปอีก วันนี้เราจึงรวบรวมเรื่องอ่านง่ายๆ ในประวัติศาสตร์ไทยมาให้อ่านที่นี่ค่ะ

ประวัติศาสตร์เข้าใจง่าย ราชวงศ์จักรี

พระนาม พระมหากษัตริย์ไทย

รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1)

รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2)

รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3)

รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4)

รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)

รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6)

รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.7)

รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (ร.8)

รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ร.9)

ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ แห่งราชวงศ์จักรี

* ขออนุญาตอธิบายเป็นคำสามัญ

รัชกาลที่ 1 .. เป็นพ่อ รัชกาลที่ 2

รัชกาลที่ 2 .. เป็นพ่อ รัชกาลที่ 3 และ 4

รัชกาลที่ 3.. เป็นพี่ รัชกาลที่ 4

รัชกาลที่ 4.. เป็นพ่อ รัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5.. เป็นพ่อ รัชกาลที่ 6 และ 7

รัชกาลที่ 5.. เป็นปู่ รัชกาลที่ 8 และ 9

รัชกาลที่ 6.. เป็นพี่ รัชกาลที่ 7

รัชกาลที่ 6.. เป็นลุง รัชกาลที่ 8 และ 9

รัชกาลที่ 7.. เป็นอา รัชกาลที่ 8 และ 9
แต่พ่อ ของรัชกาลที่ 8 และ 9 ไม่ได้ ขึ้นครองราชย์ เนื่องจาก เสียชีวิต ไปก่อนหน้านั้น

รัชกาลที่ 8.. เลยขึ้น เถลิงถวัลยราชสมบัติ

รัชกาลที่ 8.. เป็น พี่รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9.. เถลิงถวัลยราชสมบัติ ต่อ จน 70 ปี แห่งการครองราชย์ พระชนมพรรษา 89 พรรษา

รัชกาลที่ 9.. เป็นพ่อ รัชกาลที่ 10

ขึ้นครองราชย์ : สิ้นสุดการครองราชย์

รัชกาลที่ 1 : 6 เมษายน พ.ศ. 2325 : 7 กันยายน พ.ศ. 2352

รัชกาลที่ 2 : 7 กันยายน พ.ศ. 2352 : 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367

รัชกาลที่ 3 : 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 : 2 เมษายน พ.ศ. 2394

รัชกาลที่ 4 : 6 เมษายน พ.ศ. 2394 : 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411

รัชกาลที่ 5 : 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453

รัชกาลที่ 6 : 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468

รัชกาลที่ 7 : 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478) (สละราชสมบัติ)

รัชกาลที่ 8 : 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478) : 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

รัชกาลที่ 9 : 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 : 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ระยะการครองราชย์ ในแต่ละรัชกาล

รัชกาลที่ 1 รวม 27 ปี

รัชกาลที่ 2 รวม15 ปี

รัชกาลที่ 3 รวม 27 ปี

รัชกาลที่ 4 รวม 17 ปี

รัชกาลที่ 5 รวม 42 ปี

รัชกาลที่ 6 รวม 15 ปี

รัชกาลที่ 7 รวม 9 ปี

รัชกาลที่ 8 รวม 12 ปี

รัชกาลที่ 9 รวม 70 ปี

พระปรมาภิไธยย่อ (อักษรย่อ)

พระปรมาภิไธยย่อ คือ การย่อพระปรมาภิไธยให้เหลือเพียง 3 ตัวอักษร โดยส่วนมาก มักใช้เป็น ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ และ ตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธี และงานเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสสำคัญต่าง ๆ

รัชกาลที่ 1 ใช้อักษรย่อว่า “จปร” ย่อมาจาก “มหาจักรีบรมนาถ ปรมราชาธิราช”

รัชกาลที่ 2 ใช้อักษรย่อว่า “อปร” ย่อมาจาก “มหาอิศรสุนทร ปรมราชาธิราช”

รัชกาลที่ 3 ใช้อักษรย่อว่า “จปร” ย่อมาจาก “มหาเจษฎาบดินทร ปรมราชาธิราช”

รัชกาลที่ 4 ใช้อักษรย่อว่า “มปร” ย่อมาจาก “มหามงกุฎ ปรมราชาธิราช”

รัชกาลที่ 5 ใช้อักษรย่อว่า “จปร” ย่อมาจาก “มหาจุฬาลงกรณ ปรมราชาธิราช”

รัชกาลที่ 6 ใช้อักษรย่อว่า “วปร” ย่อมาจาก “มหาวชิราวุธ ปรมราชาธิราช”

รัชกาลที่ 7 ใช้อักษรย่อว่า “ปปร” ย่อมาจาก “มหาประชาธิปก ปรมราชาธิราช”

รัชกาลที่ 8 ใช้อักษรย่อว่า “อปร” ย่อมาจาก “มหาอานันทมหิดล ปรมราชาธิราช”

รัชกาลที่ 9 ใช้อักษรย่อว่า “ภปร” ย่อมาจาก “มหาภูมิพลอดุลยเดช ปรมราชาธิราช”

เดือนตุลาคม

เดือนแห่งความจากลา แห่งบุคคลที่รักเคารพยิ่งของประชาชนชาวไทย

รัชกาลที่ 4 – สวรรคต 1 ต.ค.
รัชกาลที่ 9 – สวรรคต 13 ต.ค.
สมเด็จย่า – สวรรคต 21 ต.ค.
รัชกาลที่ 5 – สวรรคต 23 ต.ค.
สมเด็จพระสังฆราช – 24 ตค.

ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยาม ต่อจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนาง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า “ยุครัตนโกสินทร์”

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง