แนะ 5 เรื่องควรรู้ วิธีจัดการขยะในครัว แบบดีต่อเรา ดีต่อโลก

เพราะโลกใบนี้เป็นของเราทุกคน การร่วมสร้างพลังเล็ก ๆ ในการช่วยรักษ์โลกจึงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการลดภาระให้กับโลกใบนี้ได้ตั้งแต่ที่บ้าน เพียงแค่ใส่ใจการคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อม และแยกขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือนให้เป็นนิสัย ก็เท่ากับได้ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการจัดการขยะ อย่างเป็นระบบ บทความ 5 คำแนะนำ วิธีจัดการขยะในครัว

5 เรื่องควรรู้ วิธีจัดการขยะในครัว

เนื่องใน (World Environment Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เนสท์เล่ ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของโลก ที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อม จึงได้ร่วมกับ เปรม พฤกษ์ทยานนท์ เจ้าของเพจ “ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป” แบ่งปัน เทคนิคในการจัดการขยะครัวเรือนแบบง่าย ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะ และส่งเสริมให้ทุกครอบครัวหันมาเริ่มต้นรักษ์โลกอย่างยั่งยืน

1. ถังขยะในครัวควรมีกี่ใบ

ธรรมชาติของขยะในครัวแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ขยะอินทรีย์ คือ ขยะที่มาจากเศษอาหารจากการกิน การตัดแต่ง ประมาณ 60% ที่เหลืออีก 40% เป็นขยะที่มาจากบรรจุภัณฑ์ จึงแนะนำว่าในครัวควรมีถังขยะ 3 ใบ

2. ขยะเศษอาหาร

แยกถังขยะในครัวแล้ว หลักการง่าย ๆ ในการจัดการขยะ คือ อย่านำขยะจากเศษอาหารที่ทานเหลือ หรือขยะอินทรีย์ไปรวมกับขยะอื่น ๆ ควรแยกทิ้งโดยเฉพาะ ถ้าบ้านไหนมีบริเวณที่มีพื้นดิน สามารถนำขยะที่เป็นเศษอาหาร เศษผักผลไม้ เศษเนื้อสัตว์ เศษอาหารเหลวที่มีไขมันสูง ไปหมักปุ๋ย ซึ่งหากทำถูกวิธีจะไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น แต่ถ้าบ้านไหนที่ไม่มีพื้นดิน อาจจะแยกทิ้ง หรือ ใช้เครื่องหมักหรือถังหมักที่เป็นระบบปิดแทน ส่วนเศษอาหารเหลวน้ำใส ให้ทิ้งลงระบบระบายน้ำได้เลย

3. ขยะบรรจุภัณฑ์อาหาร

อย่างถุงใส่ผลไม้หรือผักส่วนที่เป็นฟิล์มเหนียวยืดได้ อาจจะลอกสติกเกอร์ราคาออก หรือถุงใส่ขนมปังหรือถุงน้ำตาล พวกนี้สามารถส่งต่อไปยังโครงการ “มือวิเศษ×วน” โดย PPP Plastics ในการช่วยกำจัดพลาสติกอย่างถูกวิธี ส่วนถุงหิ้วที่สะอาดก็สามารถพับเก็บไว้ใช้ซ้ำได้ถ้าต้องการ

เทคนิคในการจัดการขยะครัวเรือนแบบง่าย ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะ ที่ทุกคนสามารถตามไม่ยาก

4. ขยะบรรจุภัณฑ์อาหารทั่วไป

แนะนำให้ทำความสะอาดและแยกประเภทไว้ เช่น พลาสติกกล่องถาดเกรด PP ที่ใช้รองเนื้อสัตว์หรืออาหารต่าง ๆ ให้ล้างให้สะอาดแล้วนำไปตากให้แห้ง ส่วนขวดพลาสติก ขวดแก้ว ให้เทของภายในให้หมดแล้วแยกใส่ถุงไว้ ส่งขายต่อซาเล้งได้ โดยเฉพาะภาชนะพลาสติกที่ขายได้ง่าย คือ ขวดน้ำดื่มใส PET และพลาสติกที่มีสัญลักษณ์ PP หรือ PE-HD ส่วนกระป๋องเครื่องดื่มที่ทำมาจากอะลูมิเนียม ให้บีบหรือเหยียบให้แบนเพื่อประหยัดพื้นที่จัดเก็บ และสามารถส่งขายซาเล้งได้เลย

5. ไม่อยากให้ขยะเยอะทำอย่างไร

การรักษ์โลกมีหลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ การตระหนักและลดการสร้างขยะโดยไม่จำเป็น เริ่มตั้งแต่การวางแผนก่อนการซื้อ ถ้าจำเป็นต้องซื้อ ให้ถามตัวเองว่าสิ่งที่ซื้อเป็นการสร้างภาระต่อโลกหรือเปล่า สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือ นำไปรีไซเคิลได้หรือไม่ หรืออย่างเวลาไปจ่ายตลาด แนะนำให้

ที่มา เปรม พฤกษ์ทยานนท์ เจ้าของเพจ “ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป” www.nestle.co.th

แนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง