จากบทความ “ทำไมต้องใช้ใบมะตูมทัดหูในงานพิธีต่างๆ” ต่อมาถึงบทความนี้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติ ดอกไม้ อย่าง ดอกพิกุลเงินและพิกุลทอง กัน ที่เราได้เห็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.10 ท่านทรงโปรย ดอกพิกุลเงินพิกุลทอง พระราชทานแด่พราหมณ์-พระบรมวงศานุวงศ์ ในวันที่ 4 พ.ค. 2562
ดอกพิกุลเงิน-พิกุลทอง
ความเชื่อเกี่ยวกับดอกพิกุล
เชื่อกันว่า “ต้นพิกุล” เป็นต้นไม้ในสวนของพระอินทร์ ดอกพิกุลจึงเปรียบเสมือน “ดอกไม้จากสวรรค์”
การประกอบพระราชพิธีต่างๆ
ดังนั้นการประกอบพระราชพิธีต่างๆ ของราชสำนักไทย จึงนิยมใช้ดอกพิกุลเสมือนจริง ซึ่งผลิตมาจากเงินและทองคำ สำหรับให้องค์ประธาน (พระมหากษัตริย์) โปรยระหว่างการประกอบพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์
นอกจากนั้น ยังนำมาใช้เป็นของที่ระลึก สำหรับพระราชทานแก่ผู้มาร่วมงานพระราชพิธี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย
เปรียบเหมือนการโปรยดอกไม้จากสวรรค์
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระปฐมบรมราชโองการเรียบร้อยแล้ว พระมหาราชครูพราหมณ์จะเป็นผู้รับพระบรมราชโองการ เป็นภาษามคธ และภาษาไทย จากนั้นพราหมณ์เป่าพระมหาสังข์ เจ้าพนักงานกระทั่งมโหระทึก และประโคมดุริยดนตรีพร้อมกัน พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงโปรยดอกพิกุลเงินพิกุลทองพระราชทานแด่พราหมณ์
ซึ่งมีความเชื่อว่า ต้นพิกุลเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งในสวนของพระอินทร์ บริเวณพระบรมมหาราชวังก็เป็นดุจสรวงสวรรค์ .. ดังนั้น การที่พระมหากษัตริย์ซึ่งมีสถานภาพดุจดั่งองค์สมมุติเทพ ทรงโปรยดอกไม้ชนิดนี้ ( ดอกพิกุลเงิน-พิกุลทอง ) เป็นการเปรียบเหมือนการโปรยดอกไม้จากสวรรค์ลงมาให้มนุษย์ได้ชื่นชม
ถูกจัดเป็นทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน
ปัจจุบัน ดอกพิกุลเงินและพิกุลทอง จัดเป็นทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ภายใต้การดูแลของสำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โดยบางส่วนจัดแสดงที่ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ในพระบรมมหาราชวัง
ข้อมูลเพิ่มเติม www.m-culture.go.th.pdf
ทำไมต้องใช้ใบมะตูมทัดหู ในงานพิธีต่างๆ – ความหมายของใบมะตูมทัดหู
บทความแนะนำ
- พระมเหสีไทย ลำดับชั้นพระภรรยา พระเจ้าแผ่นดิน – พระอัครมเหสี พระราชเทวี พระสนมเอก
- ลำดับโปเจียม คือ ลำดับการเดินทางก่อนหลังกัน ตามฐานะในพระราชวงศ์
- สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ – แขกเลี้ยงวัวทำนาย เด็กผู้หญิงคนนี้มีบุญวาสนาเป็นราชินี
- พระราชประวัติการศึกษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ | รอยยิ้มของในหลวง ร.9
- สายสะพายแต่ละสี มีความหมายอย่างไร ? ความรู้ เครื่องราชอิสริยาภรณ์