นิทรรศการฉลองพระองค์ พระบรมราชินีนาถฯ ณ พิพิธภัณฑ์ผ้า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ

พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่ ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ริมกำแพงพระบรมมหาราชวัง ด้านทิศเหนือ ปรากฏหลักฐานการใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าว มาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการบูรณะปรับปรุง และก่อสร้างเพิ่มเติมหลายครั้ง … ใน พ.ศ. 2546 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้อาคารหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ

พิพิธภัณฑ์ผ้า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ

สิ่งที่น่าสนใจใน พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ / นิทรรศการ ฉลองพระองค์ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จัดถึง 30 มิ.ย. 61

งานสมบรมราชินีนาถ

นิทรรศการ งามสมบรมราชินีนาถ (Fit For a Queen: Her Majesty Queen Sirikit’s Creations by Balmain) จัดขึ้นเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 นิทรรศการจัดแสดงฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ออกแบบโดย นายปิแอร์ บัลแมง นักออกแบบชาวฝรั่งเศส ผู้ดูแลการตัดเย็บฉลองพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถมาเป็นเวลากว่า 22 ปี และมีส่วนสำคัญในการเผยแพร่ความงดงามของผ้าไหมให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

เสด็จพระราชดำเนินเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศ ดูรายละเอียดความงามชุดนี้เต็มๆ ที่ www.qsmtthailand.org

ฉลองพระองค์ชุดกลางวัน (ฉลองพระองค์, ฉลองพระองค์ตัวใน, พระสนับเพลาและรัดพระองค์)
ฉลองพระองค์ตอนเสด็จพระราชดำเนินเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับต่างประเทศ
ฉลองพระองค์ชุดกลางวัน ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ฉลองพระองค์, พระสนับเพลา, พระภูษาทรง, รัดพระองค์, พระสนับเพลาและพระภูษาทรง)

ฉลองพระองค์ชุดไทยจักรี ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ไทยพระราชนิยม)
ฉลองพระองค์ชุดไทยดุสิต ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ฉลองพระองค์ชุดไทยจักรพรรดิ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

เสด็จพระราชดำเนินเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศ ฉลองพระองค์ชุดราตรี พ.ศ. ๒๕๐๓
ฉลองพระองค์ชุดราตรีสั้น ราว พ.ศ. ๒๕๐๔
ฉลองพระองค์ชุดราตรี พ.ศ. ๒๕๐๓

เครื่องโขน

นิทรรศการ เครื่องโขน (Dressing Gods and Demons: Costume for Khon) จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 นิทรรศการเล่าเรื่องราวความเป็นมาของเครื่องโขนในอดีตที่ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงและฟื้นฟูศิลปกรรมชั้นสูงต่างๆ จนเกิดเป็นเครื่องโขนพระราชทาน ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงสนับสนุนให้ดาเนินการจัดแสดงขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเป็นงานประณีตศิลป์อันทรงคุณค่าของไทย / ณ ห้องจัดแสดงที่ 3 – 4 พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ห้องกิจกรรม “โขน”

ห้องที่มีความเชื่อมโยงกับนิทรรศการ “เครื่องโขน” ที่นอกจากผู้เข้าชมได้รับความบันเทิงและความสนุกสนานแล้ว ยังได้ทำกิจกรรมผ่านการปฏิบัติจริง ทำให้เข้าใจเนื้อหาของนิทรรศการได้มากขึ้น / ณ ห้องจัดแสดง 1-2 พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ข้อปฏิบัติภายในพิพิธภัณฑ์

ห้ามสูบบุหรี่, กรุณาฝากสัมภาระขนาดใหญ่ และร่ม ที่จุดรับฝาก , ถ่ายรูปได้เฉพาะบริเวณที่อนุญาตโดยไม่ใช้แฟลช , งดถ่ายวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว ยกเว้นได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ , ห้ามนำเครื่องดื่มและอาหารเข้ามารับประทาน ยกเว้นจากร้านค้าภายในพิพิธภัณฑ์ และสามารถรับประทานได้ เฉพาะในพื้นที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น , ร้านกาแฟของพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ใกล้ๆกับร้านค้าพิพิธภัณฑ์ , บริการคู่มือนำชมนิทรรศการ และรถเข็นสำหรับผู้พิการ , หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อแผนกประชาสัมพันธ์

เวลาเปิด-ปิด

เปิดให้บริการทุกวัน : 09.00-16.30
รอบสุดท้าย : 15.30
การเข้าชมเป็นหมู่คณะ : พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ยินดีต้อนรับคณะทัวร์และกลุ่มทัศนศึกษา โดยการนัดหมายล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-2259430 ต่อ 0 หรือ 245

ค่าเข้าชม

ผู้ใหญ่ 150 บาท
ผู้สูงอายุ (อายุ 65 ปีขึ้นไป) 80 บาท
นักเรียน / นักศึกษา (โปรดแสดงบัตรประจำตัว) 50 บาท
เด็กอายุ 12-18 ปี 50 บาท
เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ฟรี

ร้านพิพิธภัณฑ์

สินค้านิทรรศการ , ผ้า เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ , ของตกแต่งบ้าน, เครื่องเขียนและสื่อการเรียนรู้ , เครื่องเขียน , สะสมไว้ ใช้เล่าเรื่อง

เว็บไซต์ http://www.qsmtthailand.org
Facebook : Queen Sirikit Museum of Textiles

หอรัษฎากรพิพัฒน์  : อาคาร 2 ชั้น เป็นแถวยาวเมื่อ พุทธศักราช 2413 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างและพระราชทานนาม หอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อเป็นที่ทาการกรมพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่บริหารงานด้านการจัดเก็บระเบียบภาษีอากร ต่อมาอาคารนี้ได้กลายเป็นที่ทาการของหน่วยงานอย่างน้อย ๔ หน่วยงาน ได้แก่ สานักงานธนาคารชาติไทย กรมธนารักษ์ ราชบัณฑิตยสถาน กองพระราชพิธี จากนั้นจึงว่างเว้นจากการใช้งาน

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง