พระเมรุมาศ ในหลวง ร.9 สูงเทียบตึก 19 ชั้น! ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ หนึ่งเดียวในโลก

ภาพพระเมรุมาศ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชกาลที่ 9) ที่เราได้เห็นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2560นั้น มีความยิ่งใหญ่และสมเกียรติ ออกแบบตามหลักราชประเพณีโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

พระเมรุมาศ ร.9 ตามหลักประเพณีโบราณ

โดยโครงสร้างของพระเมรุมาศในครั้งนี้ วิศวกรได้ออกแบบให้ใช้โครงสร้างเหล็กรูปพรรณนำมาประกอบและยึดร้อยเข้ากันด้วยสลัก โครงหลังคาของพระเมรุมาศที่มีการซ้อนชั้นขึ้นไป ใช้โครงสร้างเหล็กถักแบบตุ๊กตา ซึ่งเป็นระบบการถ่ายน้ำหนัก ผ่านองค์ประกอบแนวตั้งและแนวนอน (ดั้งและคาน) สลับกันไปจากด้านบนกระจายลงสู่ด้านล่าง โดยเป็นสถาปัตยกรรมทรงบุษบกยอดปราสาท 9 ยอด มีความสูง 50.49 เมตร ออกแบบตามหลักราชประเพณีโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

ความสูงของพระเมรุมาศ ประมาณตึก 19 ชั้น

สถาปัตยกรรม ทรงบุษบกยอดปราสาท 9 ยอด

ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 กระทั่งแล้วเสร็จในวันที่ 19 ตุลาคม 2560 รวมระยะเวลากว่า 9 เดือน

วิจิตรตระการตา ประมวลภาพ พระเมรุมาศ ในหลวง ร.9

ลวดลายประกอบ ทั้งหมดจะสะท้อนถึงเรื่องระบบจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง ไม่ว่าจะเป็นชั้นครุฑ ชั้นเทพ หรือเทวดา รวมถึงสัตว์หิมพานต์

สถาปัตยกรรม ก่อสร้างอาคาร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มอาคารในมณฑลพิธี ณ ท้องสนามหลวง

ประกอบด้วย พระเมรุมาศ เป็นประธานในมณฑลพิธี ออกแบบโดยยึดถือคติตามโบราณราชประเพณีรูปแบบเฉพาะสำหรับพระมหากษัตริย์ เป็นพระเมรุมาศทรงบุษบก สูงถึง 50.49 เมตร มีชั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ผังพื้นที่ใช้งานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 60 เมตร มีบันไดทั้งสี่ด้าน ฐานยกพื้นสูงมี 7 ชั้น ชั้นบนที่มุมทั้งสี่ ประกอบด้วยสำซ่างทรงบุษบก ชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น สำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ฐานชั้นที่ 2 ประกอบด้วยซุ้มทรงบุษบกรูปแบบเดียวกัน รวมสิ่งก่อสร้างมีเครื่องยอดนับรวมได้ 9 ยอด

พระที่นั่งทรงธรรม เป็นอาคารชั้นเดียวยกฐานสูงขนาด 44.50 เมตร ยาว 155 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลางด้านทิศตะวันตกของพระเมรุมาศ สำหรับเป็นที่ประทับและบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธี และเป็นที่สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เฝ้า โดยเตรียมพื้นที่สำหรับผู้เข้าร่วมพระราชพิธีประมาณ 2,800 ที่นั่ง ซึ่งเป็นพระที่นั่งที่มีขนาดใหญ่กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เพื่อรองรับพระราชอาคันตุกะและอาคันตุกะที่จะเดินทางมาร่วมพระราชพิธีจำนวนมาก

นอกจากนั้นยังมี ศาลาลูกขุน เป็นที่เฝ้าของข้าราชการ ทับเกษตร ใช้เป็นที่สำหรับข้าราชการที่มาในพระราชพิธีพักและฟังสวดพระอภิธรรม และ ทิม สำหรับเจ้าพนักงาน พระสงฆ์ แพทย์หลวงพัก และใช้เป็นที่ตั้งเครื่องประโคมและทำเป็นห้องสุขา

2. กลุ่มอาคารนอกมณฑลพิธี

กลุ่มอาคารนอกมณฑลพิธี อันได้แก่ เกยลา บริเวณกำแพงแก้ว พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พลับพลาหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พลับพลาหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท และพลับพลายกหน้ามณฑลพิธีท้องสนามหลวง

ส่วนลวดลายประกอบ ทั้งที่เป็นชั้นฐาน หรือประติมากรรมที่ประกอบในพระเมรุมาศ ทั้งหมดจะสะท้อนถึงเรื่องระบบจักรวาล ที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง ไม่ว่าจะเป็นชั้นครุฑ ชั้นเทพ หรือเทวดา รวมถึงสัตว์หิมพานต์

โครงหลังคาของพระเมรุมาศ ที่มีการซ้อนชั้นขึ้นไป ใช้โครงสร้างเหล็กถักแบบตุ๊กตา ซึ่งเป็นระบบการถ่ายน้ำหนัก ผ่านองค์ประกอบแนวตั้งและแนวนอน (ดั้งและคาน) สลับกันไปจากด้านบนกระจายลงสู่ด้านล่าง

สีของอาคารพระเมรุมาศ

จะใช้สีทองเป็นหลักร้อยละ 70 มีสีเทาเป็นสีคู่เคียงตามสีในสถาปัตยกรรมที่ก่อสร้างในรัชกาลที่ 9 แต่ภาพรวมของอาคารทั้งหมดยังคงความเป็นสีทอง และมีสีที่ช่วยเสริมขับสีทองของพระเมรุมาศโดดเด่นขึ้น ด้วยลวดลายประดับผ้าทองย่นของชั้นฐานชาลาทั้ง 3 ชั้น และลายหน้าเสาพระเมรุมาศ ออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ สำหรับสีหลักที่ใช้ในการออกแบบลายศิลปกรรมผ้าทองย่นจะเน้นสีทองเป็นหลัก และใส่แววประกอบของลวดลายเป็นสีแดง สีน้ำเงิน สีเงิน สีชมพู และสีเขียว

สำหรับสีของพระเมรุมาศ แบ่งเป็น ส่วนเครื่องยอด ประกอบด้วยบุษบกประธาน บุษบกหอเปลื้อง และบุษบกซ่าง ใช้งานพ่นสีแทนการใช้ผ้าทองย่นฉาบแววทั้งหมด ซึ่งต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะหากใช้การประดับผ้าทองย่นจะเกิดความเสียหายจากแดดและฝนที่ตกลงมา

สำหรับกระเบื้องหลังคา เป็นสีเทามีขลิบสีทอง จากนั้นเป็นส่วนชั้นเชิงกลอน จะใช้ลวดลายผ้าทองย่นแววสีเงินเข้ามาประดับรวมถึงบุษบกหอเปลื้อง และบุษบกซ่าง แต่ต่างกันตรงที่บริเวณภายในซุ้มบันแถลงของบุษบกประธานจะประดับกระจกสีขาวรูปสามเหลี่ยม ตามรูปแบบการจัดวางซุ้มสถาปัตยกรรมรวยระกาขนาดเล็ก ส่งถึงตัวเรือนยอดเพื่อให้ตัวบุษบกประธานโดดเด่นสง่างาม จากนั้นเป็นลายประกอบหน้าเสาพระเมรุมาศ ประดับลวดลายผ้าทองย่นบนพื้นสีครีมงาช้าง

ริ้วขบวนต่างๆ

ความรู้เพิ่มเติม : ระดับของชั้นอาคาร

ชั้น ของอาคาร คือ ระดับของชั้นอาคารทั้งบนอาคารหรือชั้นใต้ดิน/ อาคารส่วนใหญ่จะมีการระบุจำนวนชั้นของอาคาร ทั้งอาคารเตี้ย อาคารระดับกลาง และอาคารสูง สำหรับตึกสูงระฟ้าอาจมีจำนวนชั้นสูงถึง 100 ชั้น สำหรับอาคารที่มีความสูงหลายชั้นจะมีมาตรการด้านความปลอดภัยเข้ามาเช่น อุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้ บันไดหนีไฟ ที่ถือมีความจำเป็นด้านกฎหมาย

ความสูงของแต่ละชั้นของอาคาร วัดได้จาก ส่วนพื้นของชั้นนั้นถึงเพดาน โดยปกติจะมีความสูงราว 10 ฟุตหรือประมาณ 3 เมตร แต่ก็ยืดหยุ่นกันไป ชั้นอาคารในตึกมักจะมีความสูงเท่า ๆ กัน ซึ่งโดยมากชั้นโถงอาคาร (ล็อบบี้) จะค่อนข้างกว้างขวางกว่า ส่วนชั้นสูงถัด ๆ ไปจะเล็กลงไป

เรียบเรียงโดย Campus-Star.com ที่มา วิกิพีเดีย ภาพ News.Mthai.com , สีในสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศรัชกาลที่ 9 www.siamrath.co.th

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง