ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เราได้อ่านบทความ การพาดหัวข่าวต่างๆ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตมากขึ้น เครื่องหมายที่ถูกใช้บ่อยๆ คือ เครื่องหมายคำถาม ? และเครื่องหมายตกใจ ! และเครื่องหมายอื่นๆ ซึ่งต้องยอมรับว่าแม้เราจะต้องปรับเปลี่ยนหลายๆ สิ่งที่เรียนมา ปรับใช้ให้เหมาะสม แต่เมื่อเครื่องหมายสองอันนี้อยู่ผิดที่ผิดทาง ก็น่าสนใจไม่น้อย
เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่างๆ ใช้อย่างไรได้บ้าง
ปรัศนี (Question mark)
? มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
1. ใช้เมื่อสิ้นสุดความหรือประโยคที่เป็นคำถาม หรือใช้แทนคำถาม ตัวอย่างการใช้..
- คุณจะไปเที่ยวเกาหลีใต้เมื่อไหร่?
- ทำไมคุณจึงเลิกแต่งหนังสือ ?
2. ใช้หลังข้อความเพื่อแสดงความสงสัยหรือไม่แน่ใจ มักเขียนอยู่ในวงเล็บ ตัวอย่างการใช้..
- กฤษฎาธาร [กฺริดสะดาทาน] น. พระที่นั่งที่ทำขึ้นสำหรับเกียรติยศ (?) เช่น พระมหาพิชัยราชรถกฤษฎาธาร. (เรื่องพระบรมศพ).
- ในหนังสือราชาธิราชว่า พระเจ้าฟ้ารั่วทิวงคตเมื่อปีฉลู จุลศักราช ๖๗๕ พ.ศ. 1856 มกะตาเป็นอนุชาได้ราชสมบัติ ให้เข้ามาทูลขอให้สมเด็จพระร่วงตั้งพระนามอย่างครั้งพระเจ้าฟ้ารั่ว ได้รับพระนามว่า พระเจ้ารามประเดิด (ประดิษฐ์?)
เครื่องหมายตกใจ หรือ อัศเจรีย์ !
เราเรียกเครื่องหมายนี้กันติดปากว่า เครื่องหมายตกใจ ชื่อเต็มๆ คือ อัศเจรีย์
อัศเจรีย์ เป็นเครื่องหมายวรรคตอน หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า exclamation point และ exclamation mark ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือ ประโยคที่เป็นคำอุทาน หรือใช้เขียนไว้หลังคำที่เลียนเสียงธรรมชาติ เพื่อให้ผู้อ่านทำเสียงได้เหมาะกับเหตุการณ์ในเรื่องนั้น ๆ เช่น อุ้ย! มีเงาอะไรผ่านหน้าไป , OMG!!
เครื่องหมาย วงเล็บ ( ) หรือ นขลิขิต
- ใช้กับข้อความที่อธิบายไว้เพื่อช่วยให้ชัดเจนขึ้น เช่น ตาของเธอสวยเหมือนตาเนื้อทราย (เนื้อทรายเป็นชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีนัยน์ตาสวยมาก)
- ใช้กับข้อมูลบางอย่างเพื่อเตือนความจำ เช่น กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕ – ปัจจุบัน)
- ใช้คร่อมนามเต็มที่เขียนไว้ใต้ลายเซ็น
- ใช้คร่อมตัวเลขหรือตัวอักษรที่เป็นหัวข้อบอกเชิงอรรถ
- ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ หรือเขียนสูตรเคมีเพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือสัญลักษณ์
ไข่ปลา หรือ จุดไข่ปลา (…)
- ใช้ละข้อความข้างท้ายที่ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องการกล่าวถึง เพื่อแสดงว่าตัดตอนข้อความนั้นมาเพียงบางส่วน โดยต้องใส่จุดอย่างน้อย 3 จุด
- ใช้เพื่อแสดงว่ามีข้อความ แต่ข้อความนั้นลบเลือนหรือขาดหายไป และยังไม่สามารถหาหลักฐานมาประกอบหรือยืนยันได้ เช่น ข้อความในศิลาจารึก เป็นต้น
- สำหรับในบทร้อยกรอง ถ้าจะละข้อความตั้งแต่ 1 บรรทัดขึ้นไป ให้ใช้จุดไข่ปลายาวตลอดบรรทัด แต่ถ้าจะเน้นฉันทลักษณ์ก็สามารถใส่จุดไข่ปลาตามรูปแบบฉันทลักษณ์ได้
สมัยนี้เราก็มักจะใช้คำว่า “บลา บลา บลา” กันไป
เครื่องหมายคอมม่า ,
จุลภาค หรือ ลูกน้ำ ( , ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเหมือนตัวอ่อนของยุง ( , ) มีการใช้ดังนี้
- ใช้แบ่งลำดับรายการ เช่น ส่วนผสมในการทำขนมปังมี แป้งสาลี, ไข่ไก่, เนย, ยีสต์, น้ำตาล ฯลฯ
- ใช้เป็นตัวคั่นทุกพันในเลขอารบิกหรือเลขไทย เช่น 1,234 และ ๓,๐๐๐,๐๐๐
- โดยทั่วไป จุลภาค เป็นเครื่องหมายในพจนานุกรมด้วย ใช้คั่นบทนิยามที่มีความหมายคล้ายๆ กัน หรือทำนองเดียวกัน
เครื่องหมาย ไม้ยมก ๆ
ไม้ยมก ให้พิมพ์แบบ เว้นหน้าเว้นหลัง หรือ เว้นวรรคหน้า 1 เว้นวรรคหลัง 1 เช่น “ในทุก ๆ ครั้ง ที่เธอมองสบตา”
รวมเครื่องหมายวรรคตอน
ชื่อเรียกที่ถูกต้อง และชื่อเรียกทั่วไป
- จุดไข่ปลา ( …, … ) ดอท สามตัว (ฮ่าๆๆ)
- จุลภาค ( , ) เรียกกันง่ายๆ ว่า คอมม่า
- ทวิภาค ( : ) เครื่องหมาย โคล่อน
- ทับ ( / ) เรียกว่า สแลช หรือ เครื่องหมายทับ
- ซอลิดัส ( ⁄ )
- นขลิขิต ( ), [ ], { }, < > วงเล็บ ปีกกา สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
- บุพสัญญา ( ” ) เครื่องหมายคำพูด
- ปรัศนี ( ? ) เครื่องหมายคำถาม
- มหัพภาค ( . ) จุดไข่ปลา
- ยัติภังค์ ( -, ‐ )
- ยัติภาค ( ‒, –, —, ― )
- สัญประกาศ ( _ ) เครื่องหมาย ขีดล่าง
- เสมอภาค ( = ) เครื่องหมายเท่ากับ
- อะพอสทรอฟี ( ‘, ʻ, ’ ) ให้ดูเครื่องหมายที่ด้านบนนะคะ
- อัญประกาศ ( “ ”, ‘ ’, ” ” ) เครื่องหมายคำพูด
- อัฒภาค ( ; ) เซมิโคล่อน
- อัศเจรีย์ ( ! ) เครื่องหมายคำถาม
- กิลเลอเมต ( « » )
หมายเหตุ มีใครเรียกแตกต่างไปจากนี้ บอกกันได้นะคะ บางอันก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเรียกยังไง เลยเว้นไว้ก่อนค่ะ ^^
การแบ่งคำ
มหรรถสัญญา
เว้นวรรค ( ) ( ) ( )
อินเทอร์พังก์ ( · )
การใช้เครื่องหมายต่างๆ https://th.wikibooks.org
ที่มา : หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ ฯ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 6 (แก้ไขเพิ่มเติม) หน้า 23 : www.royin.go.th/?page_id=10418